คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (17)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13535/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุม ตรวจค้น และแจ้งสิทธิผู้ต้องหา: กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง และอำนาจเจ้าพนักงานตำรวจ
ในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยนั้น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ มาตรา 4 และมาตรา 39 ซึ่งได้บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 7/1 และมาตรา 134/4 ที่บัญญัติให้มีการแจ้งสิทธิดังกล่าวแก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหายังได้ออกใช้บังคับ ประกอบกับ ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 7/1 และ มาตรา 134/4 มาใช้บังคับแก่คดีที่มีการจับกุมและสอบสวนเสร็จสิ้นไปก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมและพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงสิทธิต่างๆ โดยละเอียดดังกล่าวจึงชอบแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่ามีการสอบสวนแล้ว ทั้งจำเลยก็มิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่นๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นการไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้วนอกจากนี้การตรวจค้นและการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกัน แม้การตรวจค้นจับกุมและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
ร้อยตำรวจเอก ป. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (16) (17) และมาตรา 17 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก ป. จึงมีอำนาจจับกุม ควบคุมตัวจำเลย ตลอดจนการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอำนาจหน้าที่ได้ หาใช่จะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจหรือไม่ขึ้นอยู่กับการลงบันทึกประจำวันว่าออกปฏิบัติหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นของเจ้าพนักงาน เมื่อมีเหตุเชื่อได้ว่ามีของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่
สารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(17)จึงมีอำนาจตรวจคนโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา 92 วรรคสุดท้าย เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุ ของที่อยุ่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุและโดยไม่ทำลายกุญแจก็ไม่อาจทำได้ ทั้งการตรวจค้นของจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรตำรวจได้กระทำต่อหน้าพยานสองคน การตรวจค้นของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92,94 และ 102 จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,358,362,364,365(2) เมื่อจำเลยมีอำนาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีพฤติการณ์ที่จะออกหมายค้นและทำการค้นได้ ดังนั้นหมายค้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ไม่ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจค้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยเหลือผู้กระทำผิดตัดไม้ในเขตป่าสงวน มีความผิดตามมาตรา 200
จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ จึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสืบสวนสอบสวนความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนได้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ตำรวจเป็นผู้ทำการสอบสวนฝ่ายเดียวนั้นเป็นแต่ระเบียบภายในกระทรวง หาได้ลบล้างอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติด้วยตนเองได้ทั้งผู้ต้องหาและไม้กับรถยนต์มาเป็นของกลาง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้สิบตำรวจเอกพ. ทำบันทึกว่าได้แต่ไม้ของกลางอย่างเดียว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะช่วยผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษและในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น จำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้สั่งการและรู้เห็นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 จำเลยที่ 2 เป็นป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมไปจับกุมผู้ต้องหากับจำเลยที่ 1 ด้วย ชั้นแรกจำเลยที่ 2 ได้ให้สิบตำรวจเอก พ. เขียนบันทึกการจับกุมว่าได้ผู้ต้องหา 7 คน แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้ทำบันทึกการจับกุมขึ้นใหม่ว่าจับผู้ต้องหาไม่ได้เลย และให้ผู้ร่วมจับกุมรวมทั้งจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ การที่จำเลยที่ 2 ยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุมฉบับหลังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แล้วว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนต่างทราบแล้วว่า ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนที่ถูกจับมาต้องหาว่ากระทำผิดฐานลักลอบตัดไม้ในป่า แต่แทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 กลับตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเหล่านี้ว่ากระทำผิดฐานขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวและให้จำเลยที่ 4 ทำการเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยผู้ต้องหาและรถของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และที่จำเลยที่ 3ที่ 4 อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นเมื่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วจึงจะอ้างมาเป็นเหตุยกเว้นโทษหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 เป็นสารวัตรใหญ่ซึ่งทราบดีว่าในการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้รายนี้ นอกจากไม้แล้วยังได้ตัวผู้ต้องหาและได้รถยนต์บรรทุกไม้มาเป็นของกลางด้วย แต่จำเลยที่ 5กลับบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้กระทำผิดและให้มีการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่มิใช่ข้อหาเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และเป็นผู้สรุปความเห็นให้งดการสอบสวนเสนอต่อผู้กำกับการตำรวจว่าจับไม้ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิด ได้แต่ไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ช่วยเจ้าของรถยนต์เจ้าของไม้ และช่วยผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตรวจค้นจับกุมของตำรวจชั้นสารวัตรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายความถึงเจ้าพนักงานในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีตำแหน่งสารวัตรตำรวจรวมอยู่ด้วยร้อยตำรวจเอก ม. ซึ่งเป็นสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งเป็นตำรวจชั้นสารวัตรย่อมเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และมีอำนาจตรวจค้นจับกุมได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย และมาตรา 92 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตรวจค้นจับกุมของตำรวจชั้นสารวัตร: การปฏิบัติงานชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายความถึงเจ้าพนักงานในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีตำแหน่งสารวัตรตำรวจรวมอยู่ด้วยร้อยตำรวจเอก ม. ซึ่งเป็นสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งเป็นตำรวจชั้นสารวัตรย่อมเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และมีอำนาจตรวจค้นจับกุมได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย และมาตรา 92 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมผู้ต้องหาในคดีอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีหมายจับ: การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
โจทก์แจ้งความว่า ย. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ขอให้ดำเนินคดีแก่ ย.แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับหมวดไม่มีอำนาจจับกุมโจทก์โดยไม่มีหมายจับ แต่อำนาจจับกุมตามมาตรา 78 นี้ ก็เป็นอำนาจโดยทั่ว ๆ ไปและมีมาตรา 136 บัญญัติเรื่องอำนาจพนักงานสอบสวนในการจับกุมและควบคุมไว้โดยเฉพาะเมื่อจำเลยเป็นพนักงานสอบสวนคดีที่หาว่า ย. กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และสอบสวนแล้วได้ความว่าโจทก์ก็เป็นผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย เพราะเป็นเรื่องวิวาทกัน ซึ่งความผิดนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่มีผู้ใดร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เจ้าพนักงานก็ย่อมจับกุมและควบคุมตัวผู้กระทำความผิดไว้สอบสวนได้ จำเลยจึงมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ซึ่งมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าจำเลยในระหว่างการสอบสวนได้ เพียงเพราะเหตุที่จำเลยจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ไว้โดยไม่มีหมายจับนั้น จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการป้องกันตัว: อำนาจการค้นค้นและขอบเขตการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ
ร้อยตำรวจตรี มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรอำเภอแห่งท้องที่นั้น แต่มิได้รักษาการณ์แทนผู้บังคับกองจึงไม่มีฐานะเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไม่มีอำนาจออกหมายค้นได้ จึงไม่อาจค้นหรือสั่งให้จำเลยค้นได้โดยลำพังตนเอง การที่จำเลยขึ้นและเข้าไปจับกุมผู้กระทำผิดบนบ้านเรือนที่ในห้องนอนของผู้กระทำผิด แม้จะมีหมายจับแต่ไม่มีหมายค้นนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81,92 เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายอันจะทำให้เกิดสิทธิป้องกันตัวได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการป้องกันตัว: อำนาจการค้นและขอบเขตการใช้กำลังของเจ้าพนักงาน
ร้อยตำรวจตรี มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรอำเภอแห่งท้องที่นั้น แต่มิได้รักษาการณ์แทนผู้บังคับกอง จึงไม่มีฐานะเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไม่มีอำนาจออกหมายค้นได้ จึงไม่อาจค้น หรือสั่งให้จำเลยค้นได้โดยลำพังตนเอง การที่จำเลยขึ้นและเข้าไปจับกุมผู้กระทำผิดบนบ้านเรือนที่ในห้องนอนของผู้กระทำผิด แม้จะมีหมายจับแต่ไม่มีหมายค้นนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8192 เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะทำให้เกิดสิทธิป้องกันตัวได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการป้องกันตัว: อำนาจการค้นและการใช้กำลังเกินขอบเขต
ร้อยตำรวจตรี มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมวดสถานีตำรวจภูธรอำเภอแห่งท้องที่นั้น แต่มิได้รักษาการณ์แทนผู้บังคับกอง.จึงไม่มีฐานะเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่. ไม่มีอำนาจออกหมายค้นได้. จึงไม่อาจค้น. หรือสั่งให้จำเลยค้นได้โดยลำพังตนเอง. การที่จำเลยขึ้นและเข้าไปจับกุมผู้กระทำผิดบนบ้านเรือนที่ในห้องนอนของผู้กระทำผิด. แม้จะมีหมายจับแต่ไม่มีหมายค้นนั้น. เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81,92. เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย. อันจะทำให้เกิดสิทธิป้องกันตัวได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับคำร้องทุกข์: เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจำกัดเฉพาะพนักงานสอบสวนและฝ่ายปกครอง
เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 2(17) นั้น ได้แก่พนักงานสอบสวนกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 123,124 เท่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่พนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา 2(16)และ 2(17)
of 2