พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมสิ้นสุดเมื่อไม่ได้ใช้ประโยชน์เกิน 10 ปี และขอบเขตจำกัดเฉพาะที่ดินเดิม
ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่ตัดรอนอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเรียกว่าภารยทรัพย์ ในอันที่ต้องยอมรับกรรมบางอย่างด้วยการงดเว้นการใช้สิทธิในทรัพย์สินของตนเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นที่เรียกว่าสามยทรัพย์ จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เดิมที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 243749 ตกอยู่ภายใต้บังคับภาระจำยอม เรื่อง ทางเดิน ทางรถยนต์ ทางสาธารณูปโภคใด ๆ แก่ที่ดินของจําเลยโฉนดเลขที่ 1003 เมื่อโจทก์รวมที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 10516, 10517, 243749 และ 158942 เป็นแปลงเดียวกันเป็นโฉนดเลขที่ 10516 ภาระจำยอมที่ยังคงอยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 10516 ฉบับใหม่จึงมีอยู่เฉพาะในที่ดินส่วนที่เคยเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 243749 เดิมเท่านั้น การรวมโฉนดที่ดินหลายแปลงเป็นโฉนดเดียว มิได้มีผลทำให้ภาระจำยอมเดิมในโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งแปลงใดได้กระจายไปอยู่ในทุกส่วนของโฉนดที่ดินฉบับใหม่ด้วย ดังนั้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 10516 ที่มิใช่เป็นส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 243749 เดิม ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับภาระจำยอมดังกล่าว และมิใช่เป็นกรณีที่ภาระจำยอมแตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์ เจ้าของทรัพย์นั้นอาจเรียกให้ย้ายไปยังส่วนอื่นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ดังจําเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10665/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสาธารณูปโภค ผู้จัดสรรต้องจัดทำตามโฆษณา และภาระจำยอมเกี่ยวกับสาธารณูปโภค
จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในโครงการกับผู้ซื้อพร้อมกับแจกใบโฆษณาให้แก่ผู้ซื้อด้วย ใบโฆษณาจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาโดยจัดทำสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณา
ใบโฆษณาที่ระบุว่า คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร (สูงกว่าระดับทางหลวงสายเอเซีย 1.50 เมตร) กว้าง 16 เมตร ปลูกก่อไผ่เป็นรั้วล้อมรอบตามแนวคันดินกั้นน้ำ ประกอบกับหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ระบุว่า หากทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร กว้าง 16 เมตร จะไม่มีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ซื้อแปลงอื่น ๆ เนื่องจากเขตคันดินที่เจ้าของโครงการจัดแบ่งที่ดินไว้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ถึง 30 เมตร ดังนั้น จึงอยู่ในวิสัยและความรับผิดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินโครงการให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณาไว้ในใบโฆษณา ส่วนถนนสายใหญ่และถนนซอยในโครงการนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากเจ้าพนักงานที่ดินตอบในหนังสือฉบับเดียวกันว่า หากจะขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยกว้างประมาณ 40 เมตร และ 20 เมตร ตามลำดับ จะทำให้รุกล้ำที่ดินของผู้ซื้อรายอื่น ๆ การจะบังคับให้จำเลยขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณาย่อมกระทบต่อขนาดที่ดินของผู้ซื้อที่ดินในโครงการซึ่งผู้ซื้อที่ดินแต่ละรายได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัดและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว กรณีเช่นนี้ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่ต้องขยายถนนให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ทำการค้าที่ดินตามหนังสืออนุญาต โดยจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนนและทะเลน้ำจืดในโครงการ ตามแผนผังการแบ่งแยกที่ดิน มีลักษณะเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ จำเลยผู้จัดสรรที่ดินย่อมตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินก็ตามเพราะเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อที่ดินที่เป็นคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกเป็นภาระจำยอมแก่ผู้ซื้อที่ดินในโครงการ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ เนื่องจากจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิทำกำแพงล้อมรอบทะเลน้ำจืดเพราะเป็นการผิดสัญญา และยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม มาตรา 1390
ใบโฆษณาที่ระบุว่า คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร (สูงกว่าระดับทางหลวงสายเอเซีย 1.50 เมตร) กว้าง 16 เมตร ปลูกก่อไผ่เป็นรั้วล้อมรอบตามแนวคันดินกั้นน้ำ ประกอบกับหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัด ที่ระบุว่า หากทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการสูง 3.50 เมตร กว้าง 16 เมตร จะไม่มีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ซื้อแปลงอื่น ๆ เนื่องจากเขตคันดินที่เจ้าของโครงการจัดแบ่งที่ดินไว้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ถึง 30 เมตร ดังนั้น จึงอยู่ในวิสัยและความรับผิดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินโครงการให้ได้ขนาดตามที่ได้โฆษณาไว้ในใบโฆษณา ส่วนถนนสายใหญ่และถนนซอยในโครงการนั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากเจ้าพนักงานที่ดินตอบในหนังสือฉบับเดียวกันว่า หากจะขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยกว้างประมาณ 40 เมตร และ 20 เมตร ตามลำดับ จะทำให้รุกล้ำที่ดินของผู้ซื้อรายอื่น ๆ การจะบังคับให้จำเลยขยายถนนสายใหญ่และถนนซอยให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณาย่อมกระทบต่อขนาดที่ดินของผู้ซื้อที่ดินในโครงการซึ่งผู้ซื้อที่ดินแต่ละรายได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัดและทำประโยชน์ในที่ดินเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว กรณีเช่นนี้ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่ต้องขยายถนนให้มีขนาดกว้างตามใบโฆษณา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ทำการค้าที่ดินตามหนังสืออนุญาต โดยจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการทำคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนนและทะเลน้ำจืดในโครงการ ตามแผนผังการแบ่งแยกที่ดิน มีลักษณะเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้คันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ จำเลยผู้จัดสรรที่ดินย่อมตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินก็ตามเพราะเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อที่ดินที่เป็นคันดินกั้นน้ำล้อมรอบที่ดินในโครงการ ถนน และทะเลน้ำจืดในโครงการตกเป็นภาระจำยอมแก่ผู้ซื้อที่ดินในโครงการ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ เนื่องจากจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิทำกำแพงล้อมรอบทะเลน้ำจืดเพราะเป็นการผิดสัญญา และยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตาม มาตรา 1390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8168/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม-การย้ายทาง-ขอบเขต-การพิพากษาเกินคำขอ-ศาลอุทธรณ์แก้ไขได้-ปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 บริเวณที่เป็นทางคอนกรีตเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี 2516 ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 มาโดยตลอดจำเลยทั้งสี่กับพวกมาซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 หลังจากโจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางในที่ดินนี้จนกระทั่งจำเลยทั้งสี่รับโอนที่ดินโฉนดดังกล่าว ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินโจทก์โดยอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสี่กับพวกทุบทำลายทางคอนกรีตที่โจทก์ใช้เป็นทางพัฒนาที่ดินและแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว ทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินกว้าง 8 เมตร อันเป็นทางพิพาท โจทก์กับบริวารจึงย้ายมาใช้ทางพิพาท การที่จำเลยทั้งสี่กับพวกซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทุบทำลายทางคอนกรีตอันเป็นทางภาระจำยอมเดิมของโจทก์แล้วไปทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 จึงเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์ให้ย้ายภาระจำยอมไปยังส่วนอื่น เพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น จำเลยทั้งสี่ประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับภาระะจำยอมเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ที่โจทก์มาใช้ทางพิพาทจึงไม่จำต้องนับอายุความกันใหม่
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ในเรื่องทางรถยนต์ด้วยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายภาระจำยอมเดิมมาเป็นทางพิพาทที่มีสภาพเป็นถนน สำหรับรถยนต์แล่นเข้าออก และโจทก์ก็เบิกความยืนยันว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำเลยเดิมมาเป็นทางใหม่ โจทก์และบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาท ฟังได้ว่า ทางดังกล่าวตกอยู่ภาระจำยอมทางรถยนต์ด้วย
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำยอมไปยังทางที่พิพาท อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ จนทำให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทางภาระจำยอมแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ซึ่งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งทางที่พิพาทคงเป็นเพียงทางภาระจำยอม มีผู้ได้ภาระจำยอมในทางที่พิพาทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความไม่สงบในสังคม ปัญหาดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาในปัญหาดังกล่าวมา จึงเป็นการพิพากษาในสิ่งใดๆ นอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ในเรื่องทางรถยนต์ด้วยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายภาระจำยอมเดิมมาเป็นทางพิพาทที่มีสภาพเป็นถนน สำหรับรถยนต์แล่นเข้าออก และโจทก์ก็เบิกความยืนยันว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำเลยเดิมมาเป็นทางใหม่ โจทก์และบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาท ฟังได้ว่า ทางดังกล่าวตกอยู่ภาระจำยอมทางรถยนต์ด้วย
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำยอมไปยังทางที่พิพาท อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ จนทำให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทางภาระจำยอมแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ซึ่งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งทางที่พิพาทคงเป็นเพียงทางภาระจำยอม มีผู้ได้ภาระจำยอมในทางที่พิพาทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความไม่สงบในสังคม ปัญหาดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาในปัญหาดังกล่าวมา จึงเป็นการพิพากษาในสิ่งใดๆ นอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภาระจำยอม: ประนีประนอมประโยชน์เจ้าของที่ดิน & ความสะดวกในการใช้ทาง
ป.พ.พ. มาตรา 1392 มิได้ระบุระยะเวลาที่อาจเรียกให้ย้ายภาระจำยอมไว้ว่าจะต้องกระทำภายในระยะเวลาใด และต้องกระทำก่อนคดีถึงที่สุดหรือไม่ เพียงแต่ะระบุให้เจ้าของภารยทรัพย์ที่ขอย้ายต้องแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและรับจะเสียค่าใช้จ่ายหากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทั้งจะต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง ก็เพียงพอที่จะเรียกให้ย้ายทางภาระจำยอมได้แล้ว ประกอบกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวก็เพื่อต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์โดยไม่ถือเคร่งครัดตามสิทธิเกินไปด้วย ดังนั้นตราบใดที่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น การขอย้ายทางภาระจำยอมก็ย่อมสามารถกระทำได้แม้จะมีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นที่สุดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7688/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอมเกิดจากการใช้ทางต่อเนื่องเมื่อที่ดินไม่มีทางออก แม้เจ้าของที่ดินจะจำกัดเส้นทางเดิม
บุพการีของโจทก์ โจทก์ และบุคคลในครอบครัวและบุคคลข้างเคียงได้เดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะมาเกินกว่า 10 ปี แม้เดิมโจทก์เดินทางด้านทิศเหนือผ่านบ้านของจำเลย แต่ต่อมาจำเลยไม่ให้โจทก์เดินผ่านทางด้านดังกล่าว โจทก์จึงหันมาเดินทางพิพาท ก็มิทำให้ภาระจำยอมของโจทก์หมดไป การที่จำเลยไม่ให้โจทก์เดินทางด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเดินดั้งเดิม ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์เรียกให้โจทก์ย้ายไปใช้ทางภาระจำยอมส่วนอื่นของที่ดินของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและการย้ายทางจำยอม: การใช้ทางต่อเนื่องและประโยชน์ของเจ้าของที่ดิน
ตามหนังสือสัญญาซื้อขาย สัญญาข้อ 3 ระบุว่า น. ผู้ขายยอมให้ทางต่อเมื่อที่ดินส่วนอื่นได้ขายให้คนอื่น น. ได้ยินยอมจะให้ทางเดินกว้าง 2 เมตร ความยาวจนถึงถนนใหญ่ไม่ว่ากรณีใด ๆ เห็นได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเกิดจากการที่โจทก์ซื้อที่ดินจาก น. ซึ่งแบ่งขายที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินให้แก่โจทก์ เพื่อประสงค์ให้โจทก์มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของ น. อันมีลักษณะเป็นการได้ประโยชน์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์อาศัยสิทธิของ น. แต่เพียงฝ่ายเดียว ข้อตกลงที่ให้โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการได้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อโจทก์ยังไม่จดทะเบียนการได้มา จึงไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก อย่างไรก็ตาม แม้การได้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมของโจทก์จะไม่บริบูรณ์ดังกล่าวหากปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี โจทก์ก็มีสิทธิได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์อันตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หาจำต้องเสนอค่าทดแทนแก่โจทก์จึงจะมีสิทธิขอย้ายทางภาระจำยอมไม่ ซึ่งการเสียค่าใช้จ่ายในการย้ายทางภาระจำยอมนั้นเป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด แต่ข้อสำคัญจำเลยจะต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยและต้องไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง เมื่อพิจารณาทางพิพาทอันเป็นทางภาระจำยอมแล้วจะเห็นได้ว่าที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกของทางพิพาทประโยชน์ใช้สอยจะน้อยลงเนื่องจากถูกทางพิพาทแบ่งพื้นที่ของที่ดินของจำเลยเป็นสองส่วน โดยที่ดินทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ดินส่วนน้อย แต่หากทางภาระจำยอมย้ายไปอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย พื้นที่ส่วนที่เหลือของที่ดินจำเลยจะเป็นผืนเดียวกัน จำเลยย่อมใช้สอยประโยชน์ได้มากกว่า และการย้ายทางภาระจำยอมดังกล่าวก็ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดลงแต่ประการใด จึงสมควรย้ายทางภาระจำยอมโดยจำเลยต้องเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในการย้าย
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์อันตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หาจำต้องเสนอค่าทดแทนแก่โจทก์จึงจะมีสิทธิขอย้ายทางภาระจำยอมไม่ ซึ่งการเสียค่าใช้จ่ายในการย้ายทางภาระจำยอมนั้นเป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด แต่ข้อสำคัญจำเลยจะต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยและต้องไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง เมื่อพิจารณาทางพิพาทอันเป็นทางภาระจำยอมแล้วจะเห็นได้ว่าที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกของทางพิพาทประโยชน์ใช้สอยจะน้อยลงเนื่องจากถูกทางพิพาทแบ่งพื้นที่ของที่ดินของจำเลยเป็นสองส่วน โดยที่ดินทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ดินส่วนน้อย แต่หากทางภาระจำยอมย้ายไปอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย พื้นที่ส่วนที่เหลือของที่ดินจำเลยจะเป็นผืนเดียวกัน จำเลยย่อมใช้สอยประโยชน์ได้มากกว่า และการย้ายทางภาระจำยอมดังกล่าวก็ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดลงแต่ประการใด จึงสมควรย้ายทางภาระจำยอมโดยจำเลยต้องเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในการย้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ & การย้ายทางจำยอม: ศาลอนุญาตย้ายทางภาระจำยอมหากไม่กระทบการใช้สิทธิของผู้รับภาระ & จำเลยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
โจทก์ซื้อที่ดินจาก น. ซึ่งแบ่งขายที่ดินให้แก่โจทก์ โดย น. ตกลงกับโจทก์ให้โจทก์มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของ น. เป็นการได้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมอันเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อโจทก์ยังไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แม้การได้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมของโจทก์จะไม่บริบูรณ์ หากโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี โจทก์ก็มีสิทธิได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382
การย้ายทางภาระจำยอมเป็นสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภาระทรัพย์โดยจำเลยเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 แต่จำเลยจะต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยและต้องไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามทรัพย์ลดน้อยลง
การย้ายทางภาระจำยอมเป็นสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภาระทรัพย์โดยจำเลยเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 แต่จำเลยจะต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยและต้องไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามทรัพย์ลดน้อยลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605-606/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้เริ่มจากสิทธิสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ และการย้ายแนวทางภารจำยอม
บิดาจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยรับรองว่าจะจัดให้มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะได้ ซึ่งเป็นข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิเมื่อโจทก์ไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แต่ใช้ได้ในระหว่างคู่สัญญา ในฐานะบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินที่จำเลยรับมรดกจากบิดาเกิน 10 ปี แม้เดิมโจทก์จะเข้าใจว่าเดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเดินผ่าน ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกของโจทก์ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม
ทางพิพาทหากอยู่ตรงกลางที่ดินของจำเลย จะทำให้เสียที่ดินซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลย และใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือไม่ได้เท่าที่ควร การย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวที่ดินของจำเลย ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลง จำเลยจึงสามารถทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392
ทางพิพาทหากอยู่ตรงกลางที่ดินของจำเลย จะทำให้เสียที่ดินซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลย และใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือไม่ได้เท่าที่ควร การย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวที่ดินของจำเลย ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลง จำเลยจึงสามารถทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมสิ้นสุดลงได้เมื่อเจ้าของที่ดินโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบังคับคดี
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตผู้ร้องก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภารจำยอมตาม แนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วจึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์ แล้วนั้น ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่ เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือ มาตรา 1394 ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ทั้งไม่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดิน แม้ผู้ซื้อที่ดินใหม่โดยสุจริตก็ไม่อาจต่อสู้ให้ภาระจำยอมสิ้นสุดลงได้ หากภาระจำยอมยังมิได้ถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
คดีแดงที่ 2091-2092/2542
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางเดินพิพาทกว้างประมาณ 80 เซนติเมตรยาวตลอดแนวทางเดินในที่ดินของจำเลยที่ 1 ยาวประมาณ 91 เมตร และในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ยาวประมาณ 63 เมตร และ 72.50 เมตร ตามลำดับเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งเจ็ดจดทะเบียนภาระจำยอมแก่โจทก์ทั้งเจ็ด เพื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งเจ็ด ให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ได้กระทำลงบนทางพิพาทให้จำเลยทั้งเจ็ดทำสะพานไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งเจ็ด และให้ยกฟ้องจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องรายที่1 และที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 นั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 ก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภาระจำยอมตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์แล้วนั้น ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภาระจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งผู้ร้องไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้เพราะ
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางเดินพิพาทกว้างประมาณ 80 เซนติเมตรยาวตลอดแนวทางเดินในที่ดินของจำเลยที่ 1 ยาวประมาณ 91 เมตร และในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ยาวประมาณ 63 เมตร และ 72.50 เมตร ตามลำดับเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งเจ็ดจดทะเบียนภาระจำยอมแก่โจทก์ทั้งเจ็ด เพื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งเจ็ด ให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ได้กระทำลงบนทางพิพาทให้จำเลยทั้งเจ็ดทำสะพานไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งเจ็ด และให้ยกฟ้องจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องรายที่1 และที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 นั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 ก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภาระจำยอมตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์แล้วนั้น ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภาระจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งผู้ร้องไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้เพราะ