คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 125

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13537/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งอายัดทรัพย์สินกรณีฟอกเงิน: อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ ปปง.
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวนคดีอาญา เมื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดแล้วว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันเถื่อน จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจกล่าวโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (8) 17, 18, 125 และ 127 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121,130 และ 131 ซึ่งลักษณะความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินที่กล่าวหา บัญชีเงินฝากของโจทก์ย่อมเป็นหลักฐานอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างหนึ่งที่อาจพิสูจน์ให้เห็นความผิดตามที่กล่าวหาได้ จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจยึดหรืออายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ไว้ตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม และ 132 อันเป็นการดำเนินการทางอาญาในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินตามอำนาจหน้าที่ของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร โดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมมีอำนาจหน้าที่โดยตรง เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13536/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สิน-ฟอกเงิน: อำนาจพนักงานสอบสวน-เหตุอันควรเชื่อได้-ไม่มีความผิด
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวนคดีอาญา เมื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดแล้วว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันเถื่อน จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจกล่าวโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (8), 17, 18, 125 และ 127 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบจำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121, 130 และ 131 ซึ่งลักษณะความผิดที่กล่าวหาดังกล่าวบัญชีเงินฝากของโจทก์ย่อมเป็นหลักฐานอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างหนึ่งที่อาจพิสูจน์ให้เห็นความผิดตามที่กล่าวหาได้ จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจยึดหรืออายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ไว้ตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม และ 132 อันเป็นการดำเนินการทางอาญาในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินตามอำนาจหน้าที่ของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรโดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรม เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์โดยตรง
คดีอาญาซึ่งมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์ พนักงานสอบสวน ก็ มีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคหนึ่ง เมื่อทำการสืบสวน หรือสอบสวนไปทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนได้แล้ว พนักงานสอบสวนไม่จัดให้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 123,124,125 ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นเสียไป พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066-1068/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ไม่ทันในชั้นศาล และการร้องทุกข์ของผู้เช่าเรือที่ได้รับความเสียหาย
ข้อ ก.ม.ที่คู่ความยกขึ้นอ้างอิงนั้นจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่ศาลชั้นต้น มิฉะนั้นศาลหารับเป็นฎีกาในข้อนั้นไม่
ผู้เช่าเรือยนต์มาทำการหาผลประโยชน์ เมื่อเรือนั้นถูกชนก็ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานได้ตามมาตรา 123,124 และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 120,121 และผู้เช่าในฐานะผู้เสียหายก็ยังมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 28(2) อีกด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าของเรือยนต์ได้ร่วมกับผู้ถือท้ายควบคุมเรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานกล่าวหาว่าผู้ถือท้ายเรืออีกลำหนึ่งชนเอาจนต่างฝ่ายได้ร่วมกันทำบันทึกการเสียหายกับเจ้าพนักงานเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเจ้าของเรือนั้นได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญามาตรา 80 แล้ว จึงหาขาดอายุความไม่ ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ไม่ถูกต้องเพราะไม่ลงลายมือชื่อนั้นไม่มีประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาจึงตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: ผู้ว่าฯ คนใหม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหายเดิม
ผู้ว่าราชการจังหวัดถูกฉ้อโกงหลงเชื่อสั่งจ่ายเงินซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ไป เมื่อย้ายผู้ว่าราชการคนเก่าไปแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่โดยตำแหน่งย่อมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ให้เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีนั้นถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยไม่ระบุการร้องทุกข์ และการเพิ่มเติมฟ้องภายหลัง ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและเจตนาของจำเลย
โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดของจำเลยคดีมีมูลไว้ชั้นหนึ่งแล้วนั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบแล้ว
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปากเมื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้นตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาข่มขืน การเพิ่มเติมฟ้อง และการที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก่อนการร้องทุกข์
โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานเอาคดีขึ้นว่ากล่าว แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนความผิดของจำเลยคดีมีมูลไว้ชั้นหนึ่งแล้วนั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ชอบแล้ว
การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 5 ปาก เพื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ในฟ้องให้ชัดแจ้งขึ้นเท่านั้น ตามรูปเรื่องแห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ในข้อที่มิได้กล่าวไว้นั้นศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้.