พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6601/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจพนักงานสอบสวนในการรวบรวมหลักฐานคดีอาญา และการตรวจค้นโดยชอบ
แม้การรวบรวมหลักฐานจะเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แต่พนักงานสอบสวนจะรวบรวมหลักฐานใดบ้าง อย่างไร เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะพิจารณาและใช้ดุลพินิจดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น จนสามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้เท่านั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 เมื่อการรวบรวมหลักฐานของพนักงานสอบสวนได้ความชัดว่าตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางในห้องนอนของจำเลยแล้ว พนักงานสอบสวนอาจมีความเห็นว่ากรณีไม่จำต้องดำเนินการจัดทำบันทึกภาพถ่ายของกลางที่ตรวจพบ ตลอดจนไม่ทำแผนที่แสดงจุดตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางก็ได้ หาทำให้การสอบสวนไม่ชอบไม่ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกการจับกุมโดยมีรายละเอียดแห่งการค้นและสิ่งของที่ค้นได้ กับมีการจัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึด ถือว่าเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 103 แล้ว จึงเป็นการตรวจค้นโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13537/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งอายัดทรัพย์สินกรณีฟอกเงิน: อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ ปปง.
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวนคดีอาญา เมื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดแล้วว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันเถื่อน จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจกล่าวโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (8) 17, 18, 125 และ 127 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121,130 และ 131 ซึ่งลักษณะความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินที่กล่าวหา บัญชีเงินฝากของโจทก์ย่อมเป็นหลักฐานอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างหนึ่งที่อาจพิสูจน์ให้เห็นความผิดตามที่กล่าวหาได้ จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจยึดหรืออายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ไว้ตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม และ 132 อันเป็นการดำเนินการทางอาญาในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินตามอำนาจหน้าที่ของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร โดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมมีอำนาจหน้าที่โดยตรง เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร โดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมมีอำนาจหน้าที่โดยตรง เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13536/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สิน-ฟอกเงิน: อำนาจพนักงานสอบสวน-เหตุอันควรเชื่อได้-ไม่มีความผิด
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวนคดีอาญา เมื่อสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดแล้วว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าน้ำมันเถื่อน จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจกล่าวโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (8), 17, 18, 125 และ 127 และเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบจำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121, 130 และ 131 ซึ่งลักษณะความผิดที่กล่าวหาดังกล่าวบัญชีเงินฝากของโจทก์ย่อมเป็นหลักฐานอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างหนึ่งที่อาจพิสูจน์ให้เห็นความผิดตามที่กล่าวหาได้ จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจยึดหรืออายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ไว้ตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม และ 132 อันเป็นการดำเนินการทางอาญาในความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรและฐานฟอกเงินตามอำนาจหน้าที่ของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนผู้รับผิดชอบ
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรโดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรม เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174
การดำเนินคดีส่วนแพ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการธุรกรรม โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเป็นประธานกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายในขณะนั้นไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่มาตรการยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินไปจนถึงการให้อำนาจตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนและส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรโดยค้าน้ำมันเถื่อนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (7) อันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับการ กองตำรวจน้ำมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนย่อมมีอำนาจสืบสวนและรายงานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการและเป็นประธานกรรมการธุรกรรม เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมเห็นว่ามีพยานหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าธุรกรรมใดของโจทก์เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยที่ 1 โดยมติที่ประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมย่อมมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินของโจทก์ไว้เป็นการชั่วคราวได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 36
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ทำการสืบสวน กล่าวโทษและรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมของโจทก์มีพยานหลักฐานอ้างจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแสดงลำดับการดำเนินการมาสนับสนุนได้ชัดเจนถึงเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริงและโจทก์มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งทางไต่สวนของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่อาจชี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้หรือควรรู้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นความเท็จหรือโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือเป็นการแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้นหรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือโดยทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 157, 172, 173 และ 174
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารธนาคารและการพิสูจน์ลายมือชื่อ: พนักงานสอบสวนมีอำนาจรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132พนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมหลักฐานในคดีความ เมื่อผู้เสียหายอ้างว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเป็นเอกสารปลอมจึงมีปัญหาว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือไม่ การที่พนักงานสอบสวนจัดให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อในกระดาษหลายแผ่นและจัดหาลายมือชื่อและลายมือเขียนของผู้เสียหายที่เคยลงลายมือชื่อหรือเขียนไว้ในที่อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรแล้วรวมส่งไปให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบ แม้จะไม่ได้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ผู้เสียหายให้ไว้แก่ธนาคารขณะเปิดบัญชีรวมไปด้วยก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว ในเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วสำหรับพิสูจน์ความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวบรวมหลักฐานลายมือชื่อในคดีอาญา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจกว้างขวางในการแสวงหาหลักฐาน แม้ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อเดิม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 พนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมหลักฐานในคดีความ เมื่อผู้เสียหายอ้างว่า ลายมือชื่อในใบถอนเงินตามเอกสารพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของตน แต่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายซึ่งลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลย จึงมีปัญหาว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือไม่ การที่พนักงานสอบสวนจัดให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อต่อหน้าตนในกระดาษหลายแผ่นและขวนขวายจัดหาลายมือชื่อและลายมือเขียนของ ผู้เสียหายที่เคยลงลายมือชื่อหรือเขียนไว้ในที่อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรแล้วรวมส่งไปให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้จะไม่ได้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ผู้เสียหายให้ไว้แก่ธนาคารขณะเปิดบัญชีรวมไปด้วย ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบแล้วในเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วสำหรับพิสูจน์ความผิดของจำเลย ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดของกลางในคดีป่าไม้: เจ้าหน้าที่ป่าไม้ vs พนักงานสอบสวน
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่า ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. ก็ย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้น แต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 131 มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 132 (2) และ (3) เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆ ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 85 วรรคสาม ที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ)ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป และถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวน ดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้ว ก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิด ข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ(เดิม) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกัน และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล จึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 131 มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 132 (2) และ (3) เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆ ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 85 วรรคสาม ที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ)ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป และถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวน ดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้ว ก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิด ข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ(เดิม) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกัน และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล จึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจพนักงานสอบสวน-การฟ้องคดีอาญา-การถอนคำร้องทุกข์-ไม่เป็นละเมิด
การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเชื่อคำให้การของผู้เสียหายและไม่สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก เป็นดุลพินิจของจำเลย เมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลแล้ว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ก็มิได้หมายความว่าคดีที่โจทก์ถูกฟ้องไม่มีมูลความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ที่ได้มาจากการซื้อขายโดยสุจริต: การกระทำตามอำนาจหน้าที่และสิทธิในทรัพย์สิน
จำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริงรวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงพิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษการที่จำเลยที่3สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของช.ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่3และกรมตำรวจจำเลยที่4ต้นสังกัดจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริตก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1332เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริงเว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้วโจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต: อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน & สิทธิผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่ง
จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน ในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริง พิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ การที่จำเลยที่ 3 สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของ ช. ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 และกรมตำรวจจำเลยที่ 4 ต้นสังกัด จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริต ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้ว โจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้
โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริต ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้ว โจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักรถโดยมิชอบของพนักงานสอบสวน แม้ผู้ขับขี่มีความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนสัญญาณจราจร
ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏข้างหน้านั้น แม้ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นความผิด กระทงหนักที่สุดจะมีโทษจำคุกด้วย แต่ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะกักรถของโจทก์ไว้ได้ หากจำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนกักรถของโจทก์ไว้และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายก็ถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยอาจมีความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ฟ้อง คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะประทับฟ้อง ไว้พิจารณาต่อไป