คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 132

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักรถโดยมิชอบของพนักงานสอบสวน แม้ผู้ขับขี่มีความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ก็ไม่เป็นเหตุให้การกักรถชอบด้วยกฎหมาย
ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏข้างหน้านั้น แม้ความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) โดยไม่ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นความผิด กระทงหนักที่สุดจะมีโทษจำคุกด้วย แต่ก็มิได้ให้อำนาจ พนักงานสอบสวนที่จะกักรถของโจทก์ไว้ได้ หากจำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนกักรถของโจทก์ไว้และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหาย โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามกฎหมายก็ถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยอาจมีความผิดตาม บทกฎหมายที่โจทก์ฟ้อง คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะประทับฟ้อง ไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดเรือของกลางโดยพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
พนักงานสอบสวนยึดเรือของกลางไว้เกี่ยวกับคดีอาญาเพื่อดำเนินการสอบสวย โดยสมควรภายในกรอบอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 ย่อมไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนสั่งให้เขียนชื่อเพื่อเปรียบเทียบลายมือ: ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานสอบสวนมีคำสั่งบังคับให้ผู้ต้องหาเขียนชื่อลงในกระดาษเปล่าเพื่อส่งไปพิศูจน์กับลายมือที่ผู้นั้นต้องหาในเรื่องก่อน ทั้งนี้ ว่าเพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ฯลฯ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 131,132 ดั่งนี้ ไม่เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมาย เพราะ ป.วิ.อาญามาตรา 132 มิได้ระบุไว้เลยว่าให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งเช่นนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนสั่งให้เขียนชื่อเพื่อเปรียบเทียบลายมือ: ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่มีฐานอาศัย
พนักงานสอบสวนมีคำสั่งบังคับให้ผู้ต้องหาเขียนชื่อลงในกระดาษเปล่า เพื่อส่งไปพิสูจน์กับลายมือที่ผู้นั้นต้องหาในเรื่องก่อน ทั้งนี้ ว่าเพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ฯลฯ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131,132 ดั่งนี้ ไม่เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 มิได้ระบุไว้เลยว่าให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพ หากฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลต้องยกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยตัดไม้หวงห้ามประเภท ก. แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าตัดไม้ในที่หวงห้ามซึ่งทางการได้ประกาศตาม ก.ม.แล้วเช่นนี้เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
(ประชุมใหญ่คครั้งที่ 4/2499)
ฟ้องไม่สมบูรณ์นั้นแม้จำเลยจะรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนช้างคืนจากอำเภอ ต้องพิสูจน์เจตนาการหน่วงเหนี่ยว
มีผู้จับช้างได้ โดยพบในถนนไม่มีผู้ควบคุม ผู้ใหญ่บ้านนำส่งอำเภอ ทางอำเภอจึงสอบสวนหาเจ้าของ มีผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของ แต่ปรากฏตำหนิช้างของกลางกับตำหนิในตั๋วพิมพ์รูปพรรณของผู้นั้นไม่ตรงกัน ทางอำเภอจึงสั่งให้ผู้นั้นนำพยานมาสอบสวนต่อไป ระหว่างสอบสวนอยู่ยังไม่เสร็จ ผู้นั้นฟ้องนายอำเภอเรียกช้างคืนโดยอ้างว่านายอำเภอแกล้งหน่วงเหนี่ยวไม่ยอมคืนช้างให้ดังนี้ เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่านายอำเภอมีเจตนาแกล้งยึดหน่วงไม่คืนช้างให้แล้ว ผู้นั้นก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องและเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดช้างของกลางและการฟ้องเรียกคืน กรณีไม่มีเจตนาหน่วงเหนี่ยว
มีผู้จับช้างได้ โดยพบในถนนไม่มีผู้ควบคุม ผู้ใหญ่บ้านนำส่งอำเภอ ทางอำเภอจึงสอบสวนหาเจ้าของ มีผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของ แต่ปรากฎตำหนิช้างของกลางกับตำหนิในตั๋วพิมพ์รูปพรรณของผู้นั้นไม่ตรงกัน ทางอำเภอจึงสั่งให้ผู้นั้นนำพยานมาสอบสวนต่อไป ระหว่างสอบสวนอยู่ยังไม่เสร็จ ผู้นั้นฟ้องนายอำเภอเรียกช้างคืนโดยอ้างว่านายอำเภอแกล้งหน่วงเหนี่ยวไม่ยอมคืนช้างให้ดังนี้ เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่านายอำเภอมีเจตนาแกล้งยึดหน่วงไม่คืนช้างให้แล้ว ผู้นั้นก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องและเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: การรวบรวมหลักฐาน vs. การขัดขืนคำสั่ง
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ที่สั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยในฐานะเป็นผู้ต้องหา ไม่มีข้อความว่าเพื่อตรวจสอบว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการสั่งเพื่อรวบรวมหลักฐาน ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 131,132 คงฟังได้เพียงเป็นเรื่อง ตามมาตรา 11 ฉะนั้นจึงยังไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรามาตรา 334 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนคำสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือ: ไม่ถือเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ฟ้องว่า จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ที่สั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยในฐานะเป็นผู้ต้องหา ไม่มีข้อความว่าเพื่อตรวจสอบว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการสั่งเพื่อรวบรวมหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131,132 คงฟังได้เพียงเป็นเรื่อง ตามมาตรา11 ฉะนั้นจึงยังไม่เป็นผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐาน & ขอบเขตการใช้ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ระบุไว้นั้นได้ เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานในเมื่อเห็นว่าจะทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น แต่ไม่ได้บังคับว่าการกระทำเหล่านี้พนักงานสอบสวนจะต้องจัดทำด้วยตนเอง ฉะนั้นพนักงานสอบสวนอาจให้ผู้ในบังคับบัญชาไปกระทำแทนในสิ่งเล็กน้อยก็ได้
ผู้ชำนาญการพิเศษของตำรวจส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือของจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจนฟ้องจำเลย ต่อศาลและโจทก์อ้างรายงานนั้นเป็นพยาน นั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
of 3