พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: ต้องแสดงเจตนาเพื่อตรวจสอบประวัติหรือสอบสวนหลักฐาน
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยขัดคำสั่งของพนักงานสอบสวน ไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีผิด พระราชบัญญัติยาสูบ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) เพียงเท่านี้ ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการสั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบเรื่องเคยต้องโทษหรือว่าเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนหลักฐาน อันเป็นข้อสาระสำคัญ ที่จะแสดงว่า ได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 ฉะนั้นจึงยังลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: จำเป็นต้องระบุวัตถุประสงค์ของการสั่งตามกฎหมายหรือไม่
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยขัดคำสั่งของพนักงานสอบสวน ไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีผิด พ.ร.บ.ยาสูบ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334 (2) เพียงเท่านี้ ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการสั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบเรื่องเคยต้องโทษหรือว่าเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนหลักฐานอันเป็นข้อสาระสำคัญ ที่จะแสดงว่า ได้สั่งตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 132 ฉะนั้นจึงยังลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวน: เฉพาะพนักงานสอบสวนเท่านั้นที่ร้องขอปล่อยทรัพย์ของกลาง
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่างๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะและไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้น กรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มาร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลาง ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน: กรมตำรวจไม่มีสิทธิร้องแทนพนักงานสอบสวนในคดีอาญา
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.อาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ และไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้นกรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มีร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลางซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่
(ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437-1438/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยึด/อายัดทรัพย์ของปลัดอำเภอ และความรับผิดของผู้ได้รับมอบหมายรักษาของกลาง
ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ มาตรา 106 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะรับอายัดทรัพย์
ปลัดอำเภอมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดของกลางได้ ฉะนั้นจึงมีอำนาจมอบหมายให้จำเลยผู้มีข้าวไม่แจ้งปริมาณ เป็นผู้รักษาข้าวของกลางไว้ได้
ปลัดอำเภอมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดของกลางได้ ฉะนั้นจึงมีอำนาจมอบหมายให้จำเลยผู้มีข้าวไม่แจ้งปริมาณ เป็นผู้รักษาข้าวของกลางไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดใบอนุญาตเรือยนต์เพื่อสอบสวน ไม่เกินสมควรและสุจริต ไม่เป็นละเมิด
พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดใบอนุญาตเรือยนต์เพื่อการสอบสวนในกรณีที่หาว่าคนเรือทำผิดกฎหมายได้ ถ้าไม่เป็นการเกินสมควรและทำโดยสุจริตแล้วไม่เป็นละเมิด ใบอนุญาตเรือยนต์ที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ ย่อมเป็นพยานหลักฐานตามความหมายของ มาตรา 131 ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดใบอนุญาตเรือเพื่อสอบสวนอาญา: การกระทำโดยสุจริตและไม่เกินสมควร ไม่เป็นละเมิด
พนักงานสอบสวนมีอำนาดยึด++เรือยนต์เพื่อการสอบสวน++ที่หาว่าคนเรือทำผิดกดหมาย+ได้ ถ้าไม่เปนการเกินสมควนและ+โดยสุจริตแล้วไม่เปนละเมิด
ไบอนุญาตเรือยนต์ที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ ย่อมเปนพยานหลักถานตามความหมายของ ม. 131 ประมวนวิธีพิจารนาความอาญา.
ไบอนุญาตเรือยนต์ที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ ย่อมเปนพยานหลักถานตามความหมายของ ม. 131 ประมวนวิธีพิจารนาความอาญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการเปลี่ยนคำให้การจากรับสารภาพเป็นปฏิเสธ และขอบเขตการพิจารณาพยานใหม่ของศาล
ในคดีอุกฉกรรจ์จำเลยให้การรับสารภาพต่อหน้าศาล แต่ในระหว่างที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพจำเลยขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์เช่นนี้ ย่อมทำได้เพราะตามกฎหมายย่อมให้โอกาสจำเลยต่อสู้คดีอาญาได้เต็มที่ ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาหใหม่ในคดีอุกฉกรรจ์นั้น เมื่อไม่เป็นการเสียหายแก่คดีโจทก์โจทก์จะไม่นำพยานเข้าสืบใหม่โดยขอให้สืบพยานจำเลยต่อไปย่อมทำได้ เพราะถือว่าการสืบครั้งก่อนได้สืบต่อหน้าจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานสมคบกระทำผิดด้วยตนเอง ไม่ผิดฐานช่วยเหลือผู้อื่นกระทำผิดตาม ม.142 และการสอบสวนของผู้จับกุม
นายตรวจฝิ่นสมคบกับบุคคลอื่นมีฝิ่นเถื่อนไว้จำหน่ายไม่มีความผิดฐานช่วยให้พ้นอาญาตาม ม.142
นายร้อยตำรวจเป็นผู้จับผู้ต้องหานั้น ทำการสอบสวนผู้ต้องหานั้นเองได้
นายร้อยตำรวจเป็นผู้จับผู้ต้องหานั้น ทำการสอบสวนผู้ต้องหานั้นเองได้