คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด: การรับจำนองค้ำประกันหนี้ค่าซื้อสินค้าเข้าข่ายหรือไม่
บริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ตามหลักฐานใบทะเบียนพาณิชย์ว่าเป็นนายหน้าตัวแทนค้าต่าง ซื้อขายสินค้า ดังนี้ การรับจำนองค้ำประกันหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ & อำนาจร้องทุกข์ของผู้อำนวยการนิติบุคคล: เพียงพอ & ชอบด้วยกม.
แม้หนังสือที่ผู้มอบอำนาจมีไปถึงสารวัตรใหญ่ จะไม่เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจทำไว้กับผู้รับมอบอำนาจ แต่ก็เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจมีไปถึงพนักงานสอบสวน เพื่อแจ้งให้ทราบว่าผู้มอบอำนาจขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์แทน เมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือนั้นไปยื่นต่อพนักงานสอบสวนและร้องทุกข์แทนตามที่ได้รับมอบอำนาจมาหนังสือนี้ย่อมเพียงพอที่พนักงานสอบสวนจะยึดถือไว้เป็นหลักฐานในสำนวนว่าคดีมีการร้องทุกข์โดยผู้มีอำนาจแล้ว การที่หนังสือดังกล่าวระบุว่าใครเป็นผู้มอบอำนาจให้ใครมาร้องทุกข์เรื่องอะไร และมีลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจลงไว้ ถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจจะมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจไว้ในหนังสือด้วยก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่ 1058/2520)
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคล เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไปของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลาย จะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนวยการของนิติบุคคล ถือได้ว่าเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคล และมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ & อำนาจร้องทุกข์ของผู้อำนวยการนิติบุคคล: เพียงพอสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้หนังสือที่ผู้มอบอำนาจมีไปถึงสารวัตรใหญ่ จะไม่เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจทำไว้กับผู้รับมอบอำนาจ แต่ก็เป็นหนังสือซึ่งผู้มอบอำนาจมีไปถึงพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งให้ทราบว่า ผู้มอบอำนาจขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจไปร้องทุกข์แทน เมื่อผู้รับมอบอำนาจนำหนังสือนั้นไปยื่นต่อพนักงานสอบสวนและร้องทุกข์แทนตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หนังสือนี้ย่อมเพียงพอที่พนักงานสอบสวนจะยึดถือไว้เป็นหลักฐานในสำนวนว่า คดีมีการร้องทุกข์โดยผู้มีอำนาจแล้ว การที่หนังสือดังกล่าวระบุว่าใครเป็นผู้มอบอำนาจให้ใครมาร้องทุกข์เรื่องอะไร และมีลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจลงไว้ ถือได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ผู้รับมอบอำนาจจะมิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจไว้ในหนังสือด้วยก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่ 1058/2520)
การร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีอาญาแก่พนักงานของนิติบุคคลเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยทั่วไป ของผู้ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลายจะพึงกระทำในทางปกป้องรักษาผลประโยชน์ของนิติบุคคล ไม่จำต้องกำหนดเป็นนโยบายหรือตราเป็นข้อบังคับไว้จึงจะมีอำนาจทำได้
ตำแหน่งผู้อำนายการของนิติบุคคล ถือได้วาเป็น "ผู้แทนอื่น" ตามความหมายของมาตรา 5 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลและมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลทำละเมิด: ฟ้องจำเลยโดยตรงได้ แม้ไม่ได้ระบุตัวผู้กระทำละเมิด และการนำสืบไม่ถือว่านอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลว่าทำละเมิดต่อโจทก์ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลทำละเมิด: ฟ้องจำเลยโดยตรงได้ แม้ไม่ได้ระบุตัวผู้กระทำละเมิดเฉพาะเจาะจง การนำสืบไม่ถือว่านอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลว่าทำละเมิดต่อโจทก์ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คนงานบริษัทจำเลยทำท่อน้ำประปาของโจทก์แตกในระหว่างบริษัทจำเลยรับเหมาก่อสร้างถนน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดทำท่อประปาของโจทก์แตกเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมท่อประปาที่แตกเสียหายแล้วตามคำร้องของเจ้าหน้าที่จำเลย โจทก์นำสืบว่าคนงานของจำเลยทำละเมิดได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายรถยนต์โดยให้เช่าซื้ออยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัท
วัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์มีการจำหน่ายรถยนต์ ถือว่าการที่โจทก์จำหน่ายรถยนต์โดยให้เช่าซื้อก็อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยนิติบุคคลที่ได้รับยกให้จากราชการ
กรมจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ซึ่งรวมทั้งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามที่ได้รับยกให้ด้วย ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าโจทก์ซื้อมาจากผู้อื่น ต่อมานายอำเภอได้ประกาศสงวนไว้ ครบกำหนดไม่มีผู้คัดค้านทางจังหวัดจึงยกให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองโดยลักษณะโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตลอดมาดังนี้ ไม่ปรากฏว่าการเข้าครอบครองที่พิพาทจะผิดวัตถุประสงค์และไม่ชอบธรรมด้วยประการใดโจทก์ย่อมฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ถูกจำเลยที่ 1 แย่งการครอบครองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของนามสมญาทางการค้า และความรับผิดจากความประมาทในการขับรถ
โจทก์ฟ้องคดีโดยใช้ชื่อว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี โดยนายเซียมเซีย ชมภู เจ้าของบริการ" เป็นโจทก์ แม้ว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี" จะมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นนามสมญาในทางการค้าของนายเซียมเซีย ชมภู และนายเซียมเซีย ชมภู ได้ฟ้องในนามเจ้าของสมญาดังกล่าว เป็นเรื่องเจ้าของบริการฟ้องในนามบริการซึ่งเป็นบุคคลเดียวกัน จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของนามสมญาทางการค้า และความรับผิดจากความประมาทในการขับรถ
โจทก์ฟ้องคดีไปโดยใช้ชื่อว่า "บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี โดยนายเซียมเซียชมภูเจ้าของบริการเป็นโจทก์แม้ว่า"บริการขนส่งสิงห์ชัยตาคลี"จะมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นนามสมญาในทางการค้าของนายเซียมเซียชมภูและนายเซียมเซียชมภูได้ฟ้องในนามเจ้าของสมญาดังกล่าว เป็นเรื่องเจ้าของบริการฟ้องในนามบริการซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันจึงมีอำนาจฟ้อง
of 24