คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตวัตถุประสงค์บริษัทขนส่ง และความรับผิดร่วมกันของผู้ขนส่งต่อความเสียหายจากการประมาท
บริษัทขนส่ง จำกัด มีวัตถุประสงค์ตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ว่า รับทำการขนส่งทั่วไปย่อมหมายถึงการรับขนส่งผู้โดยสารตลอดจนการรับขนส่งสินค้าด้วย แม้จะได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกให้ทำการรับขนส่งผู้โดยสารอย่างเดียวก็ไม่ทำให้การรับขนส่งสินค้ากลายเป็นอยู่นอกวัตถุประสงค์ หากจะรับขนส่งสินค้าโดยยังไม่ได้รับอนุญาต ก็เป็นเรื่องผิดใบอนุญาตไม่กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกซึ่งรู้กันทั่วไปว่า บริษัทมีวัตถุประสงค์รับทำการขนส่งทั่วไป
รถยนต์ที่บุคคลภายนอกนำเข้าเดินร่วมกับบริษัทขนส่ง จำกัด ในเส้นทางที่บริษัทได้รับสัมปทานโดยมีพฤติการณ์ปรากฏแก่คนทั่วไปว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท และบริษัทได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการรายเที่ยว แม้คนขับรถประจำจะเป็นผู้ที่บุคคลภายนอกนั้นจ้างมา ก็ต้องถือว่าเป็นลูกจ้างของบริษัทด้วย บริษัทต้องร่วมรับผิดในกิจการรับขนส่งที่คนขับรถได้กระทำแทนในทางการที่จ้าง
(อ้างฎีกาที่ 1576/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์บริษัทขนส่ง, การรับขนส่งสินค้า, ความรับผิดร่วมกันของผู้รับจ้างขนส่ง และลูกจ้าง
บริษัทขนส่ง จำกัด มีวัตถุประสงค์ตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ว่า รับทำการขนส่งทั่วไป ย่อมหมายถึงการรับขนส่งผู้โดยสารตลอดจนการรับขนส่งสินค้าด้วย แม้จะได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกให้ทำการรับขนส่งผู้โดยสารอย่างเดียวก็ไม่ทำให้การรับขนส่งสินค้ากลายเป็นอยู่นอกวัตถุประสงค์ หากจะรับขนส่งสินค้าโดยยังไม่ได้รับอนุญาต ก็เป็นเรื่องผิดใบอนุญาตไม่กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกซึ่งรู้กันทั่วไปว่า บริษัทมีวัตถุประสงค์รับทำการขนส่งทั่วไป
รถยนต์ที่บุคคลภายนอกนำเข้าเดินร่วมกับบริษัทขนส่ง จำกัดในเส้นทางที่บริษัทได้รับสัมปทานโดยมีพฤติการณ์ปรากฏแก่คนทั่วไปว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท และบริษัทได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการรายเที่ยว แม้คนขับรถประจำจะเป็นผู้ที่บุคคลภายนอกนั้นจ้างมา ก็ต้องถือว่าเป็นลูกจ้างของบริษัทด้วย บริษัทต้องร่วมรับผิดในกิจการรับขนส่งที่คนขับรถได้กระทำแทนในทางการที่จ้าง (อ้างฎีกาที่ 1576/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์บริษัทขนส่ง, ความรับผิดร่วมกันของผู้รับจ้างขนส่ง และลูกจ้าง, การประมาทในการขนส่ง
บริษัทขนส่ง จำกัด มีวัตถุประสงค์ตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ว่า รับทำการขนส่งทั่วไป.ย่อมหมายถึงการรับขนส่งผู้โดยสารตลอดจนการรับขนส่งสินค้าด้วย. แม้จะได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกให้ทำการรับขนส่งผู้โดยสารอย่างเดียวก็ไม่ทำให้การรับขนส่งสินค้ากลายเป็นอยู่นอกวัตถุประสงค์. หากจะรับขนส่งสินค้าโดยยังไม่ได้รับอนุญาต. ก็เป็นเรื่องผิดใบอนุญาตไม่กระทบกระเทือนถึงบุคคลภายนอกซึ่งรู้กันทั่วไปว่า. บริษัทมีวัตถุประสงค์รับทำการขนส่งทั่วไป.
รถยนต์ที่บุคคลภายนอกนำเข้าเดินร่วมกับบริษัทขนส่ง จำกัด. ในเส้นทางที่บริษัทได้รับสัมปทานโดยมีพฤติการณ์ปรากฏแก่คนทั่วไปว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท. และบริษัทได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการรายเที่ยว. แม้คนขับรถประจำจะเป็นผู้ที่บุคคลภายนอกนั้นจ้างมา. ก็ต้องถือว่าเป็นลูกจ้างของบริษัทด้วย. บริษัทต้องร่วมรับผิดในกิจการรับขนส่งที่คนขับรถได้กระทำแทนในทางการที่จ้าง. (อ้างฎีกาที่ 1576/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากการรับเหมาซ่อมและซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ: ตัวการ ผู้ประกอบการ ตัวแทน
กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากรายรับอันเกิดจากสัญญาจ้างเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำ ซึ่งบริษัทจำกัด โจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศทำไว้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยโจทก์จะโต้แย้งว่า การซ่อมรถจักรไอน้ำมิใช่วัตถุประสงค์ของโจทก์ และสัญญานั้นมิได้ประทับตราบริษัทโจทก์ ขัดกับอำนาจของผู้จัดการที่จดทะเบียนไว้ หาได้ไม่ เพราะไม่ได้โต้แย้งกับการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นคู่สัญญา แต่โต้แย้งกับอำนาจการเก็บภาษีอากรเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน
โจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศเป็นผู้รับเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำของการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์จึงเป็นตัวการผู้รับจ้างอันถือได้ว่า เป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคสุดท้าย แม้การซ่อมรถจักรไอน้ำนั้นจะได้นำไปซ่อมในต่างประเทศและผู้จ้างชำระเงินค่าซ่อมให้ในต่างประเทศ ก็ต้องถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายและรับกันไปแล้วนั้นเป็นรายรับตามความในมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
เพียงเป็นผู้เสนอรายการแสดงราคาของสินค้า และเป็นผู้ติดต่อให้ผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจัดส่งแบบแปลนของสินค่าให้แก่ผู้ซื้อตามที่ผู้ซื้อต้องการ ดังนี้ ถือว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายของผู้ขาย ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้ขาย ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการซ่อมรถจักรไอน้ำและการเป็นตัวแทนซื้อขายสะพานเหล็ก โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์บริษัทและลักษณะการกระทำ
กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากรายรับอันเกิดจากสัญญาจ้างเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำ ซึ่งบริษัทจำกัดโจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศทำไว้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์จะโต้แย้งว่า การซ่อมรถจักรไอน้ำมิใช่วัตถุประสงค์ของโจทก์ และสัญญานั้นมิได้ประทับตราบริษัทโจทก์ขัดกับอำนาจของผู้จัดการที่จดทะเบียนไว้หาได้ไม่ เพราะไม่ได้โต้แย้งกับการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นคู่สัญญา แต่โต้แย้งกับอำนาจการเก็บภาษีอากรเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน
โจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศเป็นผู้รับเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำของการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์จึงเป็นตัวการผู้รับจ้างอันถือได้ว่า เป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคสุดท้ายแม้การซ่อมรถจักรไอน้ำนั้นจะได้นำไปซ่อมในต่างประเทศและผู้จ้างชำระเงินค่าซ่อมให้ในต่างประเทศ ก็ต้องถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายและรับกันไปแล้วนั้นเป็นรายรับตามความในมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
เพียงเป็นผู้เสนอรายการแสดงราคาของสินค้า และเป็นผู้ติดต่อให้ผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจัดส่งแบบแปลนของสินค้าให้แก่ผู้ซื้อตามที่ผู้ซื้อต้องการ ดังนี้ ถือว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายของผู้ขาย ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้ขาย ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807-808/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายข้าวเปลือกเกิน 500 บาท แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องเรียกราคาได้ และอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การซื้อขายข้าวเปลือกราคาเกินกว่า 500 บาท เมื่อจำเลยตวงข้าวไปจากโจทก์แล้ว ถือว่าได้มีการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสองแล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องเรียกราคาข้าวจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(2)ที่ห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้นต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาข้าวที่ขายให้จำเลยโดยไม่ต้องมีเอกสารเป็นหนังสือมาแสดง แม้เอกสารจะมีข้อความว่า "รับฝากข้าวเปลือก" โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายข้าวกัน
จำเลยที่ 2 กระทำในนามผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เอาตราของบริษัทจำเลยที่ 1 มาตีประทับด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ซื้อข้าวไปจากโจทก์แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อเชื่อข้าวเปลือกเจ้าจากโจทก์ ดังนี้ จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ผู้ประกอบกสิกรรมฟ้องเรียกเอาค่าผลิตผลแห่งกสิกรรมที่ได้ขายให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทโรงสี กรณีไม่เข้าอยู่ในบังคับแห่งอายุความ 2 ปี อายุความจึงมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807-808/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายข้าวเปลือกเกิน 500 บาท แม้ไม่มีเอกสาร แต่การตวงข้าวถือเป็นการชำระหนี้ โจทก์ฟ้องได้
การซื้อขายข้าวเปลือกราคาเกินกว่า 500 บาท เมื่อจำเลยตวงข้าวไปจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 แล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องเรียกราคาข้าวจากจำเลยได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (2) ที่ห้ามไม่ให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาข้าวที่ขายให้จำเลยโดยไม่มีเอกสารเป็นหนังสือมาแสดง แม้เอกสารจะมีข้อความว่า " รับฝากข้าวเปลือก" โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายข้าวกัน
จำเลยที่ 2 กระทำในนามผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เอาตราของบริษัทจำเลยที่ 1 มาดีประทับด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ซื้อข้าวไปจากโจทก์ แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อเชื่อข้าวเปลือกเจ้าจากโจทก์ ดังนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ผู้ประกอบกสิกรรมฟ้องเรียกเอาค่าผลิตผลแห่งกสิกรรมที่ได้ขายให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทโรงสี กรณีไม่เข้าอยู่ในบังคับแห่งอายุความ 2 ปี อายุความจึงมีกำหนด 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ซื้อเชื่อ vs. การเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ซื้อของเชื่อไปจากบริษัท ส. มิใช่ฟ้องขอให้ชำระหนี้ฐานลาภมิควรได้ ถึงแม้โจทก์จะเขียนฟ้องตั้งรูปคดีเป็นประการใดก็ตาม แต่กรณีตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเรียกหนี้สินที่ค้างชำระเกี่ยวกับจำเลยซื้อเชื่อน้ำสุราไปจากบริษัท ส. ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(4)
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด และตามฟ้องก็ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ เนื่องจากจำเลยยึดถือทรัพย์นั้นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงต้องถือว่าของเหล่านั้นตกอยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการมิได้ยึดถือครอบครองทรัพย์เป็นการสว่นตัวแต่อย่างใด จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า โจทก์จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2502 ด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การข้อ 3 จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้โดยชัดแจ้งว่าฟ้องข้อ 3 ของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(17) ซึ่งเป็นเรื่องซื้อของเชื่อ ส่วนคำให้การข้อ 6 ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้เกี่ยวกับฟ้องข้อ 4 นั้น จำเลยให้การว่าทรัพย์ไปตกอยู่ที่จำเลยที่ 1 และโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ให้จำเลยใช้เงินค่าทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ จำเลยขอต่อสู้และตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิและอำนาจขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สินได้ตามกฎหมาย เพราะไม่ใช่เรื่องการซื้อขายทรัพย์สินหรือเรื่องละเมิด หรือในกรณีพิพาทที่จะฟ้องร้องเอาเงินได้ตามกฎหมาย แต่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ และในเรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สิน ดังนี้ เห็นว่า จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นสู้ในเรื่องลาภมิควรได้เลย
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้รับ ขวด หีบ และกระสอบไปโดยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นการได้ในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งตามธรรมดาก็จะฟ้องขอให้คืนตัวทรัพย์ก่อน เมื่อไม่สามารถคืนได้ จึงให้ใช้ราคาแทน แม้คำขอท้ายฟ้องจะมิได้ขอให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ก่อน เมื่อไม่สามารถคืนได้ จึงให้ใช้ราคาแทน แม้คำขอท้ายฟ้องจะมิได้ขอให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ก็ตาม ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ก็ให้ใช้ราคา ไม่เป็นการนอกเหนือหรือเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ซื้อของเชื่อ vs. การฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ และขอบเขตคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ซื้อของเชื่อไปจากบริษัท ส. มิใช่ฟ้องขอให้ชำระหนี้ฐานลาภมิควรได้ ถึงแม้โจทก์จะเขียน ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นประการใดก็ตาม แต่กรณีตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฟ้องเรียกหนี้สินที่ค้างชำระเกี่ยวกับจำเลยซื้อเชื่อน้ำสุราไปจากบริษัท ส. ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด และตามฟ้องก็ฟ้องเรียกทรัพย์คืน จากจำเลยฐานลาภมิควรได้ เนื่องจากจำเลยยึดถือทรัพย์เหล่านั้นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงต้องถือว่าของเหล่านั้น ตกอยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการมิได้ยึดถือครอบครอง ทรัพย์เป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า โจทก์จะได้ดอกเบี้ย ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2502 ด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การข้อ 3 จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องข้อ 3 ของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(17) ซึ่งเป็นเรื่องซื้อของเชื่อ ส่วนคำให้การข้อ 6 ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้เกี่ยวกับฟ้องข้อ 4 นั้น จำเลยให้การว่าทรัพย์ไปตกอยู่ที่จำเลยที่ 1 และโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ให้จำเลยใช้เงินค่าทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ จำเลยขอต่อสู้และตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิและอำนาจขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สินได้ตามกฎหมายเพราะไม่ใช่เรื่องการซื้อขายทรัพย์สินหรือเรื่องละเมิดหรือในกรณีพิพาทที่จะฟ้องร้องเอาเงินได้ตามกฎหมายแต่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ และในเรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สิน ดังนี้ เห็นว่า จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นสู้ในเรื่องลาภมิควรได้เลย
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้รับขวด หีบและกระสอบไปโดยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นการได้ในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งตามธรรมดาก็จะฟ้องขอให้คืนตัวทรัพย์ก่อน เมื่อไม่สามารถคืนได้ จึงให้ใช้ราคาแทน แม้คำขอท้ายฟ้องจะมิได้ขอให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ ก็ตาม ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ ถ้าไม่สามารถ คืนได้ก็ให้ใช้ราคา ไม่เป็นการนอกเหนือหรือเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ลูกจ้างออกขัดระเบียบกระทรวงการคลัง และอายุความฟ้องร้องค่าจ้าง
ระเบียบของกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีวางระเบียบไว้ว่าลูกจ้างคนใดต้องหาคดีอาญาและถูกควบคุมตัว ก็ให้กรม กองเจ้าสังกัดต่างๆ สั่งพักงานลูกจ้างนั้นไว้ก่อนไม่ให้ไล่ออกทันที ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัดจะต้องปฏิบัติตามระเบียบระเบียบเดิมของจำเลยที่ขัดกับระเบียบของกระทรวงการคลังเป็นอันถูกยกเลิกไปในตัวการที่จำเลยอุทธรณ์ระเบียบของจำเลยไปกระทรวงการคลังว่า ขัดกับระเบียบของจำเลย แต่กระทรวงการคลังก็ได้ตอบยืนยันไม่ยอมให้ถือระเบียบของจำเลย การที่จำเลยมีคำสั่งในระหว่างอุทธรณ์ระเบียบให้ไล่โจทก์ออกย้อนไปถึงวันโจทก์ถูกกล่าวหาและถูกจับกุมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลย นับถึงวันฟ้องเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
of 24