คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ลูกจ้างขัดระเบียบกระทรวงการคลัง: คำสั่งไล่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมายและอายุความฟ้อง
ระเบียบของกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีวางระเบียบไว้ว่าลูกจ้างคนใดต้องหาคดีอาญาและถูกควบคุมตัว ก็ให้กรม กองเจ้าสังกัดต่าง ๆ สั่งพักงานลูกจ้างนั้นไว้ก่อน ไม่ให้ไล่ออกทันที ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัดจะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ระเบียบเดิมของจำเลยที่ขัดกับระเบียบของกระทรวงการคลังเป็นอันถูกยกเลิกไปในตัว การที่จำเลยอุทธรณ์ระเบียบของจำเลยไปกระทรวงการคลังว่า ขัดกับระเบียบของจำเลย แต่กระทรวงการคลังได้ตอบยืนยันไม่ยอมให้ถือระเบียบของจำเลย การที่จำเลยมีคำสั่งในระหว่างอุทธรณ์ระเบียบให้ไล่โจทก์ออกย้อนไปถึงวันโจทก์ถูกกล่าวหาและถูกจับกุม จึงเป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบ
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้ไล่ออกของจำเลยนับถือวันฟ้องเกิน 1 ป คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆะการประชุมใหญ่สหกรณ์ ต้องฟ้องสหกรณ์โดยตรง ไม่ใช่ผู้ตรวจควบคุม
ร้านสหกรณ์อยุธยาจำกัดสินใช้ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 และเป็นนิติบุคคล โดยมีคณะกรรมการดำเนินการตามข้อบังคับของร้าน ระบุให้จำเลยในฐานะเป็นสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอำนาจตรวจตราควบคุมประจำ และให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ เพื่อให้ดำเนินไปด้วยดี ตลอดจนเรียกและเข้าประชุมใหญ่หรือประชุมคณะกรรมการดำเนินการด้วยเท่านั้น หาได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ไม่ การที่โจทก์ฟ้องว่าขอให้ศาลพิพากษาว่าผลของการประชุมใหญ่ของร้านสหกรณ์ฯ เป็นโมฆะ ซึ่งเป็นกรณีกล่าวหาว่าร้านสหกรณ์ฯ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ โจทก์ชอบที่จะต้องฟ้องร้านสหกรณ์เป็นจำเลยโดยตรง เพื่อจะได้มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาของโจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องนายภักดี อิ่มเอิบธรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในฐานะเป็นผู้ควบคุมและให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ โดยตรง หาได้ฟ้องร้านสหกรณ์ฯ ไม่ ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาก็ไม่มีทางที่จะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องร้านสหกรณ์ฯด้วย ฉะนั้น จะบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ให้มีผลไปถึงร้านสหกรณ์ฯไม่ได้
เพราะนายภักดีมิได้เป็นผู้ดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ฯแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆะการประชุมใหญ่สหกรณ์ ต้องฟ้องสหกรณ์โดยตรง ไม่ใช่ผู้ตรวจควบคุม
ร้านสหกรณ์อยุธยาจำกัดสินใช้ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 และเป็นนิติบุคคล โดยมีคณะกรรมการดำเนินการตามข้อบังคับของร้าน ระบุให้จำเลยในฐานะเป็นสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอำนาจตรวจตราควบคุมประจำและให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ เพื่อให้ดำเนินไปด้วยดีตลอดจนเรียกและเข้าประชุมใหญ่หรือประชุมคณะกรรมการดำเนินการด้วยเท่านั้น หาได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ไม่การที่โจทก์ฟ้องว่าขอให้ศาลพิพากษาว่าผลของการประชุมใหญ่ของร้านสหกรณ์ฯ เป็นโมฆะซึ่งเป็นกรณีกล่าวหาว่าร้านสหกรณ์ฯ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ โจทก์ชอบที่จะต้องฟ้องร้านสหกรณ์ฯเป็นจำเลยโดยตรงเพื่อจะได้มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาของโจทก์ได้การที่โจทก์ฟ้องนายภักดี อิ่มเอิบธรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในฐานะเป็นผู้ควบคุมและให้ความเห็นแนะนำเกี่ยวกับกิจการทั้งปวงของร้านสหกรณ์ฯ โดยตรงหาได้ฟ้องร้านสหกรณ์ฯ ไม่ ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาก็ไม่มีทางที่จะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องร้านสหกรณ์ฯด้วย ฉะนั้น จะบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ให้มีผลไปถึงร้านสหกรณ์ฯไม่ได้เพราะนายภักดีมิได้เป็นผู้ดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ฯ ต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการซื้อฝากแทนและผลกระทบต่อการครอบครองและการซื้อขาย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับซื้อฝากที่ดินไว้จากผู้มีชื่อ เจ้าของเดิมไม่ไถ่คืน ที่ดินและโรงเรือนพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าหลวงศรีสุพรรณดิษฐ์รับซื้อฝากที่ดินแทนโจทก์ ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น และคำฟ้องโจทก์ไม่ได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณา เพราะเป็นการสืบถึงรายละเอียดของวิธีรับซื้อฝากและความเป็นมาแห่งการเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา วัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้อง เพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อฝากที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิเหนือที่ดิน: ข้อพิพาทระหว่างวัดกับเอกชน
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์รับซื้อฝากที่ดินไว้จากผู้มีชื่อเจ้าของเดิมไม่ไถ่คืนที่ดินและโรงเรือนพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าหลวงศรีสุพรรณดิษฐ์รับซื้อฝากที่ดินแทนโจทก์ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น และคำฟ้องโจทก์ไม่ได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงในทางพิจารณา เพราะเป็นการสืบถึงรายละเอียดของวิธีรับซื้อฝากและความเป็นมาแห่งการเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์
แม้การรับซื้อฝากแทนโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่ผู้รับซื้อฝากได้ครอบครองแทนโจทก์ ที่พิพาทก็ตกเป็นของโจทก์ได้โดยทางครอบครอง
ที่วิวาทจะเป็นของโจทก์หรือเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์จำเลยซึ่งเป็นเอกชนไม่มีสิทธิที่จะยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาไม่มีข้อความตอนใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ตรงไหน ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วัดเป็นนิติบุคคลที่ทำการรับซื้อฝากที่ดินและเรือนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาวัตถุประสงค์ของวัดไม่จำต้องกล่าวในฟ้องเพราะไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติให้วัดแจ้งวัตถุประสงค์ไว้แต่อย่างใด
เมื่อจำเลยมิได้ยกประเด็นที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จะยกขึ้นมากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้เกินวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ทำให้ไม่ต้องรับผิด
วัตถุประสงค์ของห้างจำเลยซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จดทะเบียนไว้มีว่าเพื่อประกอบพานิชการในประเภททำการค้าสินค้าพื้นเมืองทำการสั่งสินค้าเข้าและส่งสินค้าออกทำการค้าเครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ ทำการเป็นนายหน้าและตัวแทนต่างๆดังนั้น เมื่อผู้จัดการของจำเลยไปทำสัญญาค้ำประกันหนี้ จึงเป็นการกระทำนอกวัตถุประสงค์ของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการชำระบัญชีเพื่อให้สภาพนิติบุคคลสิ้นสุดตามกฎหมาย
(1) สภาพของนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการจดทะเบียนและจำสิ้นสภาพก็ด้วยการจดทะเบียน และกฎหมายได้บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีเป็นผู้จดทะเบียนเพื่อให้นิติบุคคลสิ้นสภาพไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในมาตรา 1254,1270
(2) การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการชำระบัญชี
(3) ความในมาตรา 1061 นั้น ใช้บังคับได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น จะใช้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ เพราะมีหมวด 5 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว.
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2507).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการชำระบัญชีเพื่อสิ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย
(1) สภาพของนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้วจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการจดทะเบียน และจะสิ้นสภาพก็ด้วยการจดทะเบียนและกฎหมายได้บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีเป็นผู้จดทะเบียนเพื่อให้นิติบุคคลสิ้นสภาพไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในมาตรา 1254,1270
(2) การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีการชำระบัญชี
(3) ความในมาตรา 1061 นั้นใช้บังคับได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น จะใช้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ เพราะมีหมวด 5 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง และการฟ้องร่วมสำหรับความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุมและฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร และมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ กระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพร แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพร ไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชน ในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้น กระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าว เงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการ และใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทย การดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขาย เมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกัาบจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระ จำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมา โดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าว เมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการ พิจารณาพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งอยกจากกันได้ และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวสารที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการ เงินนี้มิใช่เงินในงบประมาณของจังหวัด ไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบ ถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะมิใช่คำสั่งตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในเขตจังหวัดที่ตนมอบหมายเอง เมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิดก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจะจำหน่ายข้าว ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ขอมอบหมายให้จ่ายจังหวัดทำหน้าที่นี้ ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบ กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติต่อตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดและลูกจ้างในการจัดการจำหน่ายข้าว การละเลยควบคุมทำให้เกิดความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม และฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎรและมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการกระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพรแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชนในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้นกระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบหมายให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าวเงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการและใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทยการดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขายเมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกับจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระจำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมาโดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าวเมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการพิจารณาพิพากษาแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดการจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดไปว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะไม่ใช่ทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติการงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในจ่าจังหวัดที่ตนมอบหมายเองเมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและจำหน่ายข้าวตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ เมื่อมอบหมายให้จ่าจังหวัดทำหน้าที่นี้ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบกระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหายผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วยจะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติของตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่
of 24