คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประมูลผูกพันรัฐ: กระทรวงเกษตราธิการมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ประมูลผิดสัญญา
คณะกรรมการประมูลได้ตกลงให้เอกชนเป็นผู้รับทำการประมงผู้ประมูลได้ก็ได้เซ็นชื่อยอมรับข้อตกลงนั้น นับว่า เป็นสัญญาผูกพันกันได้ตามกฎหมายและสัญญานี้คณะกรรมการผู้เป็นเจ้าพนักงานได้ทำแทนรัฐบาลซึ่งกระทรวงเกษตราธิการเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงกระทรวงเกษตราธิการจึงมีสิทธิรับเอาสัญญานี้ได้ เมื่อผู้ประมูลผิดสัญญา กระทรวงเกษตราธิการก็มีอำนาจ เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ประมูลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขัดทรัพย์: ผู้มีส่วนได้เสียไม่ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่มีสิทธิเมื่อทรัพย์สินได้มาจากการกระทำผิด
ประเด็นในเรื่องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นมีว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดนั้นหรือไม่ และตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 55 นั้นผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลในกรณีขอให้ปล่อยทรัพย์นั้น ก็หาจำต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิในทรัพย์นั้นไม่ ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีย่อมมาใช้สิทธิทางศาลได้ด้วยการร้องขัดทรัพย์
มีผู้ลอบตัดฟันไม้สัก อันเป็นไม้หวงห้ามแล้วแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ภายหลังถูกเจ้าหนี้ยึดไม้เหล่านี้ไว้เพื่อบังคับคดี กรมป่าไม้ซึ่งรัฐหรือแผ่นดินมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาไม้หวงห้ามย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยไม้นั้นได้
ไม้ที่หวงห้ามเป็นส่วนควบของป่าไม้ แม้จะถูกลอบลักตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสังหาริมทรัพย์แล้ว ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน: กรมตำรวจไม่มีสิทธิร้องแทนพนักงานสอบสวนในคดีอาญา
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.อาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ และไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้นกรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มีร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลางซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวน: เฉพาะพนักงานสอบสวนเท่านั้นที่ร้องขอปล่อยทรัพย์ของกลาง
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่างๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะและไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้น กรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มาร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลาง ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล: กรรมการ/ผู้จัดการไม่ต้องรับผิดหากบริษัทกระทำผิดเอง
บริษัทจำกัดมีลวดเก็บไว้ในโกดังของบริษัท โดยมีแขกยามเฝ้ารักษา ย่อมถือว่าลวดอยู่ในความครอบครองของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อไม่มีการแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ ในกรณีเช่นนี้ต้องถือว่า บริษัทเป็นผู้กระทำผิดกรรมการหรือผู้จัดการไม่มีความผิดเป็นส่วนตัว
ข้อเท็จจริงได้ความไม่ตรงกับที่บรรยายฟ้องหรือไม่นำสืบให้สมฟ้อง ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องของกลางและเรื่องจ่ายเงินรางวัล ให้คืนของกลางไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030-1033/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: พิจารณาจากขอบเขตหน้าที่ ไม่ใช่การค้าหรือหากำไร
อำนาจหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาฎีกาที่ 950/2491 ว่าเป็นหน่วยอยู่ในราชการบริหาร ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้า หรือหากำไร ฉะนั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินที่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่ง ของกระทรวงพาณิชย์จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯอันเป็นธุระกิจ ของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลยเมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสียจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอกโจกท์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้าหรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวง พาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030-1033/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: กรณีหนี้จากลูกจ้าง vs. สัญญาการค้ากับบุคคลภายนอก
อำนาจหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาฎีกาที่ 950/2491 ว่า เป็นหน่วยอยู่ในราชการบริหาร ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้า หรือหากำไร ฉะนั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้สิน ที่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯ อันเป็นธุรกิจของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลย เมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสีย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้า หรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้กู้ ห้างหุ้นส่วนสามัญก่อนจดทะเบียน ทรัพย์สินส่วนตัวแยกจากนิติบุคคล
ผู้เป็นหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนกู้เงินเขามา แม้เขียนในสัญญากู้ว่า "เอาสิทธิหุ้นส่วนของบริษัทพักตรพริ้งซึ่งผู้กู้มีสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง" มาเป็นหลักทรัพย์ประกันก็ดี เงินที่กู้มาก็ย่อมเป็นกรรมสิทธิของผู้กู้โดยส่วนตัว การที่พูดว่าเอาสิทธิหรือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนมาเป็นประกันเงินกู้ในสัญญากู้ที่ทำกันเองนั้น หาก่อให้เกิดเป็นการจำนำหรือบุริมสิทธิในอันที่จะติดตามไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของนิติบุคคล ซึ่งเกิดมาภายหลังนั้นไม่เมื่อผู้กู้ไม่ชำระเงินจนถูกผู้ให้กู้ฟ้องศาล ๆ บังคับให้ชำระแล้ว ผู้ให้กู้จะไปยึดทรัพยืสินของห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในภายหลังนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินโดยใช้สิทธิหุ้นส่วนเป็นหลักประกันก่อนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน
ผู้เป็นหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนกู้เงินเขามาแม้เขียนในสัญญากู้ว่า "เอาสิทธิหุ้นส่วนของบริษัทพักตรพริ้งซึ่งผู้กู้มีสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง" มาเป็นหลักทรัพย์ประกันก็ดี เงินที่กู้มาก็ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้โดยส่วนตัว การที่พูดว่าเอาสิทธิหรือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนมาเป็นประกันเงินกู้ในสัญญากู้ที่ทำกันเองนั้น หาก่อให้เกิดเป็นการจำนำหรือบุริมสิทธิในอันที่จะติดตามไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของนิติบุคคล ซึ่งเกิดมาภายหลังนั้นไม่ เมื่อผู้กู้ไม่ชำระเงินจนถูกผู้ให้กู้ฟ้องศาล ศาลบังคับให้ชำระแล้วผู้ให้กู้จะไปยึดทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในภายหลังนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลสุขาภิบาลมีสิทธิในทรัพย์สินจำกัดตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายจัดตั้งเท่านั้น
นิติบุคคล หาจำต้องจำกัดว่าอยู่ใน 6 จำพวกดังที่กล่าวไว้ใน ม.72 ป.ม.แพ่ง ฯ ไม่ มาตรา 68 ได้บัญญัติไว้เป็นทำนองว่า นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ไม่ฉะเพาะแต่ต้องอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติของ ป.ม.แพ่ง ฯ อย่างเดียว อาจอาศัยอำนาจกฎหมายอื่นก็ได้
สุขาภิบาลหัวเมืองจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ดู พ.ร.บ.จัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127.
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งมาตรา 4, 8, 9, 10, 11 แห่ง พ.ร.บ.จัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 แล้ว พึงเห็นได้ว่า เงินภาษีโรงร้านที่พระราชทานให้เก็บใช้ในการตั้งสุขาภิบาลนั้นก็ดี หรือว่าเงินผลประโยชน์อย่างอื่นที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ฉะเพาะในการสุขาภิบาลนั้นก็ดี สุขาภิบาลมีกรรมสิทธิในเงินเหล่านั้นได้เช่นบุคคลในกฎหมาย ซึ่งอาจจะถือได้ว่าสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคลเพื่อการมีสิทธิในเงินดังกล่าวแล้ว
มาตรา 69 ป.ม.แพ่ง ฯ บัญญัติว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิ์และหน้าที่ต่าง ๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ในขอบวัตถุประสงค์ของตน ดังมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง ดังนี้เมื่อพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลอันเป็นตราสารจัดตั้งสุขาภิบาลได้กำหนดให้สุขาภิบาลมีสิทธิแต่เพียงที่จะเกี่ยวกับเงินที่จะพระราชทานให้เท่านั้น สุขาภิบาลนั้นหามีสิทธิแสวงหาประโยชน์ในทางอื่น เช่น บุคคลธรรมดาไม่
ในดินที่พิพากในคดีนี้ แม้จะถือว่าเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สุขาภิบาลก็ไม่มีสิทธิจะเข้าจับจองถือเอา เพื่อกรรมสิทธิ์แก่สุขาภิบาล โดยฉะเพาะเพราอยู่นอกวัตถุประสงค์ของตราสารจัดตั้งสุขาภิบาล
คำพิพากษาวึ่งในที่สุดจะต้องเป็นเรื่องชี้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ย่อมใช้ผูกพันประชาชนได้ทั่วไป จึงเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียกร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อสุขาภิบาลไม่มีสิทธิอย่างนิติบุคคล ในอันที่จะจับจองหรือถือเอาที่ดินที่ไม่มีผู้ปกครอง เพื่อกรรมสิทธิฉะเพาะตนในอันที่จะแสวงผลกำไรสู่ตนโดยไม่ใช่การต่าง ๆ ที่ พ.ร.บ.จัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง มอบหน้าที่ไว้ ศาลย่อมจะพิพากษาให้เกิดผลในที่ดินนั้นเป็นกรราสิทธิของสุขภิบาลไม่ได้
of 24