คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและอายุความสัญญาเช่าซื้อ: สถานที่ทำสัญญา, การเรียกร้องค่าเสียหายหลังเลิกสัญญา
ศ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง-อายุความค่าเสียหายเช่าซื้อ: ศาลตัดสินตามภูมิลำเนา-เหตุเกิดที่, อายุความ 10 ปีเมื่อเกิดหลังเลิกสัญญา
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้าศ.ที่จังหวัดระนองเสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ดังนั้นสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)และมาตรา5 อายุความ6เดือนนับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่คดีนี้ได้ความว่าหลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาดเมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563แต่ต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, อายุความค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: มูลคดีเกิดที่ใด, นับอายุความอย่างไร
ศ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันได้ทำหนังสือสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้จำเลยทั้งสองลงชื่อต่อหน้า ศ.ที่จังหวัดระนอง เสร็จแล้วจึงนำกลับไปให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมสมบูรณ์ทันทีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อ ปรากฏว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาของโจทก์ดังนี้ต้องถือว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 69 และจังหวัดสุราษฎร์ธานีย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อที่พิพาทต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) และมาตรา 5 อายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลายที่เกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือเป็นกรณีเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ คดีนี้ได้ความว่า หลังจากโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนได้แล้วได้นำรถไปขายทอดตลาด เมื่อนำเงินที่ขายทอดตลาดได้ไปหักออกจากเงินลงทุนแล้วเงินยังขาดอยู่ ดังนี้เงินที่ยังขาดอยู่นี้เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วและเป็นราคารถที่ยังขาดอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการชนท่าเรือ และความรับผิดของตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามข้อตกลงในคำร้องขอนำเรือเข้าท่าภายในอาณาบริเวณของโจทก์ที่จำเลยที่3ในฐานะตัวแทนจำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์โดยคำร้องดังกล่าวมีข้อความว่าข้าพเจ้ายอมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งเรือที่นำเข้าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพื่อนำเรือเข้ามาจอดซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่1ที่จะยอมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่เรือซัมเมอร์เบย์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งการแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164 จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลต่างประเทศมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยถือได้ว่าจำเลยที่1มีภูมิลำเนาประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71การที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่1ในประเทศไทยและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ให้ติดต่อกับโจทก์แทนจำเลยที่1ทำสัญญากับโจทก์แทนจำเลยที่1จึงไม่ใช่กรณีทำแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824จำเลยที่2ที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและการที่จำเลยที่2และจำเลยที่3เข้าทำการเกี่ยวข้องกับโจทก์เป็นการทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และจำเลยที่3จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนค้าข้าวโพดและการมีอำนาจของกรรมการ: ผลผูกพันต่อหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อโจทก์จดทะเบียนและเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวโพดแล้ว โจทก์จะมาอ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนนอกเหนือวัตถุประสงค์ ไม่มีผลผูกพันโจทก์ไม่ได้ โจทก์ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในเงินที่จ่ายซื้อข้าวโพดให้ผู้ขายเพื่อนำส่งจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจดทะเบียนบริษัทกับหน้าที่ทางภาษี: กรรมการจดทะเบียนนอกวัตถุประสงค์ไม่ผูกพันบริษัท
เมื่อโจทก์จดทะเบียนและเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตร-ฐานข้าวโพดแล้ว โจทก์จะมาอ้างว่ากรรมการของโจทก์ไปจดทะเบียนนอกเหนือวัตถุประสงค์ ไม่มีผลผูกพันโจทก์ไม่ได้ โจทก์ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในเงินที่จ่ายซื้อข้าวโพดให้ผู้ขายเพื่อนำส่งจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4354/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้จากกิจการเงินทุน: การตีความวัตถุประสงค์บริษัทและการกระทำที่เข้าข่าย
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการใช้สิทธิในการเรียกร้องเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนที่ได้ดำเนินการไว้ตั้งแต่โจทก์ยังไม่ได้ถูกระงับใบอนุญาต มิใช่เป็นการประกอบกิจการเงินทุนขึ้นใหม่ภายหลังโจทก์ถูกระงับใบอนุญาต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนระบุวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประเภท "เงินทุน" ในเมืองฮ่องกง ซึ่งปกติคำว่า "เงินทุน" มีความหมายมิได้จำกัดเพียงการกู้ยืมหรือรับฝากเงินเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า คำดังกล่าวมีความหมายพิเศษตามบทกฎหมายแห่งเมืองที่โจทก์จดทะเบียนไว้นั้นระบุจำกัดไว้ดังกล่าว ประกอบกับการที่โจทก์รับดำเนินการซื้อสินค้าแทนจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหมายผลในจำนวนเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าแทนนั้นมาเป็นหลักแห่งหนี้สินซึ่งเป็นตัวเงิน และโจทก์ได้ผลประโยชน์จากดอกเบี้ยอันเกิดจากตัวเงินดังกล่าวนี้ จึงมีลักษณะเป็นกิจการเงินทุนอย่างหนึ่ง การซื้อสินค้าแทนดังกล่าวจึงเป็นเพียงวิธีการดำเนินการเพื่อบริการจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้าในการก่อหนี้ที่เป็นกิจการเงินทุนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนอันเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4354/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้จากกิจการเงินทุน: การพิจารณาวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลและลักษณะของธุรกรรม
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการใช้สิทธิในการเรียกร้องเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนที่ได้ดำเนินการไว้ตั้งแต่โจทก์ยังไม่ได้ถูกระงับใบอนุญาต มิใช่เป็นการประกอบกิจการเงินทุนขึ้นใหม่ภายหลังโจทก์ถูกระงับใบอนุญาตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนระบุวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประเภท "เงินทุน" ในเมืองฮ่องกง ซึ่งปกติคำว่า"เงินทุน" มีความหมายมิได้จำกัดเพียงการกู้ยืมหรือรับฝากเงินเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า คำดังกล่าวมีความหมายพิเศษตามบทกฎหมายแห่งเมืองที่โจทก์จดทะเบียนไว้นั้นระบุจำกัดไว้ดังกล่าว ประกอบกับการที่โจทก์รับดำเนินการซื้อสินค้าแทนจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหมายผลในจำนวนเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าแทนนั้นมาเป็นหลักแห่งหนี้สินซึ่งเป็นตัวเงิน และโจทก์ได้ผลประโยชน์จากดอกเบี้ยอันเกิดจากตัวเงินดังกล่าวนี้ จึงมีลักษณะเป็นกิจการเงินทุนอย่างหนึ่งการซื้อสินค้าแทนดังกล่าวจึงเป็นเพียงวิธีการดำเนินการเพื่อบริการจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้าในการก่อหนี้ที่เป็นกิจการเงินทุนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนอันเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเช็ค, เบิกความเท็จ, และความผิดของนิติบุคคล: บทลงโทษและขอบเขตความรับผิด
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 1และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้นโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาลในคดีอาญาว่า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วนซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่ายก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิด ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ในการพิจารณาคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2 เบิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งนี้สังเกตได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ การที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้นผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ระบุรายละเอียดสินค้า, โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้ไม่มีวัตถุประสงค์, หนังสือมอบอำนาจใช้บังคับได้, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
แม้คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อเป็นสินค้าอะไรแต่ก็ได้กล่าวว่าเป็นสินค้าตามใบวางบิลและใบส่งของตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งได้ระบุประเภทสินค้าไว้ จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม แม้สินค้าที่โจทก์ขายให้จำเลยจะไม่ได้อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาซื้อขาย และรับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคา หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีระบุว่าให้ฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินค่าสินค้าที่ค้างชำระจากจำเลย ย่อมหมายถึงให้ฟ้องคดียังศาลที่มีเขตอำนาจโดยไม่จำต้องระบุว่าเป็นศาลใด และเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระทั้งหมดมิได้เป็นการมอบให้ฟ้องเรียกบางส่วนอันจะต้องระบุจำนวนหนี้ที่ให้ฟ้องดังนี้ หนังสือมอบอำนาจจึงมีผลใช้บังคับได้.
of 24