คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์บริษัทครอบคลุมการเช่าทรัพย์สิน และดอกเบี้ยเป็นเบี้ยปรับได้
หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ระบุว่าประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ และเครื่องมือช่างทุกประเภท เครื่องมือทาสีเครื่องตกแต่งอาคารทุกชนิด ดังนี้ การค้าหมายถึงการดำเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้หาได้จำกัดเฉพาะการซื้อขายเท่านั้นไม่ การที่โจทก์ให้เช่าแผ่นเหล็กกันดินอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้างจึงเป็นการหารายได้วิธีหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่า ค่าเสียหายและค่าขนย้ายทรัพย์สินหาใช่ฟ้องเรียกเงินกู้ไม่ ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ไม่ตกเป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ออกเช็ค, ผู้สั่งจ่าย, หุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้รับเช็คนั้นไว้ในความครอบครอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ มีอำนาจที่จะฟ้องบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้โจทก์จะนำเงินจากบิดาโจทก์มารับแลกเช็คพิพาทก็หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของผู้จัดการไว้ การที่จำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับเป็นการกระทำโดยมีอำนาจภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 แม้ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 ในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือชื่อปลอมของจำเลยที่ 3 แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1006 เช็คพิพาทจึงยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาท แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1052 ประกอบด้วยมาตรา 1080 และมาตรา 1087 การที่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันด้วยอาวัลในเช็คพิพาทซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้วได้ออกเช็คฉบับใหม่แก่โจทก์ หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อได้ใช้เงินตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับใหม่ได้หรือไม่ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับไป ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 4ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 3 และปัญหาว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 3เป็นลายมือชื่อปลอม การสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 จึงผิดไปจากข้อตกลงกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: โจทก์ฟ้องในนามส่วนตัว ไม่ใช่ผู้แทน นิติบุคคลแยกต่างหาก ไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ฟ้องคดีในนามของตนเอง หาได้ฟ้องในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ แต่ก็มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าโจทก์ได้กระทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว ดังนั้นเมื่อโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของ โรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ เป็นประเด็นไว้ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะเจ้าของโรงงาน: โจทก์ฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ แม้เป็นเจ้าของที่ดิน
โจทก์ฟ้องคดีในนามของตนเอง หาได้ฟ้องในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ แต่ก็มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าโจทก์ได้กระทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของโรงงานแป้งมันเหลืองภิรมย์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลืองภิรมย์ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ เป็นประเด็นไว้ ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากเงินให้ดอกเบี้ย: ผลผูกพันบริษัทจากการรับมอบเงินและสัญญาใช้คืนพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ โดย จำเลยได้ รับมอบเงินจากโจทก์แล้วสัญญาจะใช้คืนพร้อมดอกเบี้ย อันเป็นการรับฝากเงินโดย สัญญาให้ดอกเบี้ย ดังนี้มี ผลผูกพันบริษัทจำเลยให้ต้อง รับผิดตาม สัญญารับฝากเงินดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็คหลายกรรม, การลงโทษ, และการเข้ามาในคดีของจำเลย
โจทก์ได้ บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6เพียงแต่ บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็ค อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ 1 โดย ธ. และ ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่ วันที่ตั้ง ทนายความ เมื่อจำเลยที่ 3ในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะ ส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยหลายกรรม และการรับสารภาพของนิติบุคคลผ่านผู้มีอำนาจ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับเมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็คอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯจำเลยที่ 1 โดย ธ.และร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้ว นับตั้งแต่วันที่ตั้งทนายความ เมื่อจำเลย ที่ 3 ในนามของจำเลยที่ 1และในฐานะส่วนตัวให้การ รับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์: การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการประกันภัยอยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทได้
บริษัทอ.มีวัตถุประสงค์กระทำการเป็นผู้สำรวจและจัดการให้เป็นที่ตกลงกันในการประนอมข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการสืบสวนการตรวจสอบในสิทธิหน้าที่ หนี้สิน ข้อพิพาท และสิทธิเรียกร้องทั้งปวงซึ่งเกิดจากสัญญาประกันภัยทุกประเภท ฯลฯ ดังนี้ การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยแทนโจทก์จึงอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัทอ.บริษัทอ.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ของบริษัท: การตีความวัตถุประสงค์บริษัทตามหนังสือบริคณห์สนธิ
บริษัท อ. มีวัตถุประสงค์กระทำการเป็นผู้สำรวจและจัดการให้เป็นที่ตกลงกันในการประนอมข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการ สืบสวน การตรวจสอบในสิทธิหน้าที่หนี้สิน ข้อพิพาทและสิทธิเรียกร้องทั้งปวงซึ่งเกิดจากสัญญาประกันภัยทุกประเภท ฯลฯ ดังนี้ การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยแทนโจทก์จึงอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท อ. บริษัท อ. มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด, สัญญาค้ำประกัน, การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา, ความรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งเมื่อบริษัทจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า และเพื่อทำการกู้ยืมเงินค้ำประกันและรับรองทั้งบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อกิจการค้าของบริษัทดังนั้นการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้กระทำเพื่อกิจการค้าของบริษัทเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด แม้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คข้อ 1 จะระบุว่า เช็คที่จำเลยที่ 1เสนอให้โจทก์ชักส่วนลดต้องเป็นเช็คของธนาคารในประเทศไทยสั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้สินค้าที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่ผู้สั่งจ่ายก็ตามแต่ตามสัญญาข้อ 7 ให้สิทธิโจทก์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาและไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1หลุดพ้นหรือลดน้อยลง เมื่อจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและตามสัญญาค้ำประกันยินยอมให้โจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดใด ๆของสัญญาชักส่วนลดเช็ค โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 4ทราบ และให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังนั้นแม้โจทก์จะรับเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายนำมาชักส่วนลดก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วยจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาชักส่วนลดเช็คกับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาชักส่วนลดเช็คท้ายฟ้องและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์ รายละเอียด ปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือค้ำประกันท้ายฟ้อง ดังนั้นสัญญาชักส่วนลดเช็คและสัญญาค้ำประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การที่ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว จึงหาเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
of 24