คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำเพื่อชำระหนี้ แม้ต่อมาจะแจ้งยกเลิกอำนาจถอนเงิน ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2523 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2523 จำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์แล้ว ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในใบถอนเงินฝากประจำทำการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ แล้วโอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับและเป็นการยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียเงินฝากประจำขาดดอกเบี้ยที่จะได้รับ และต้องเสียชื่อเสียงในการดำเนินกิจการ ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่เคลือบคลุมกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์โดยมิได้ลงวันถอนมอบให้จำเลยที่1 ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้อันเกิดจากการขายลดตั๋วเงินของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่งวันเดือนปีในใบถอนเงินแล้วใช้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์โอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้ แม้จะกระทำภายหลังที่โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ขอยกเลิกลายเซ็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วก็ตามถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือสมัครใจให้ทำเช่นนั้น จึงไม่เป็นการทำละเมิด
โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้ำประกันหนี้ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบการหักเงินจากบัญชีฝากประจำ หากผู้ฝากยินยอมให้ใช้เป็นประกันหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2523ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2523 จำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์แล้ว ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในใบถอนเงินฝากประจำทำการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ แล้วโอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับและเป็นการยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียเงินฝากประจำขาดดอกเบี้ยที่จะได้รับ และต้องเสียชื่อเสียงในการดำเนินกิจการ ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วจึงไม่เคลือบคลุมกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์โดยมิได้ลงวันถอนมอบให้จำเลยที่1ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้อันเกิดจากการขายลดตั๋วเงินของจำเลยที่3เมื่อจำเลยที่งวันเดือนปีในใบถอนเงินแล้วใช้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์โอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้ แม้จะกระทำภายหลังที่โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ขอยกเลิกลายเซ็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วก็ตามถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือสมัครใจให้ทำเช่นนั้น จึงไม่เป็นการทำละเมิด โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้ำประกันหนี้ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมัสยิด: กรรมการหมดวาระ ย่อมขาดอำนาจดำเนินคดีแทน
คณะกรรมการมัสยิดได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 เมษายน2522 ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ อิสลามประจำมัสยิด(สุเหร่า) และวิธีดำเนิน การอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด(สุเหร่า) พ.ศ.2492 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 ข้อ 12 กำหนดให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ4 ปี ฉะนั้นการที่คณะกรรมการมัสยิดดังกล่าวมาประชุมกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2526 และลงมติมอบอำนาจให้ พ.เป็นผู้แทนโจทก์เพื่อดำเนินคดีอันเป็นระยะเวลาที่ล่วงพ้นวาระในการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการมัสยิดไปแล้ว เช่นนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจเพราะบุคคลเหล่านั้นมิได้อยู่ในฐานะเป็นกรรมการมัสยิดแล้ว จึงไม่มีผลทำให้มัสยิดโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาที่ว่าคำสั่งของจำเลยในการถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ: ศาลสามารถลงโทษปรับได้เพียงสถานเดียว
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับ โดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ แม้กฎหมายกำหนดทั้งจำคุกและปรับ
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับโดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว การเลิกจ้าง และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว ย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเอง สำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำ ณ ที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใด ต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน จึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกัน จะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลย ซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์ แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมาย ล.1 เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1
โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก 1 วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุดวันลา หากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้าง หากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยาน จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว, การเลิกจ้าง, สิทธิประโยชน์ลูกจ้าง, การละทิ้งหน้าที่
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้วย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเองสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำณที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใดต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่281ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวมจึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อนจึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกันจะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลยซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมายล.1เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก1วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุด วันลาหากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้องแต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้างหากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยานจำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันนอกขอบวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการไม่มีอำนาจผูกพัน
สัญญาค้ำประกันที่ ส. ผู้จัดการไปทำอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 4 แม้ ส. เป็นภรรยาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 และการทำสัญญาค้ำประกันเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของ ส. ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ให้ต้องรับผิดตามสัญญา จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการห้างจำเลยที่ 4 ต่อจาก ส. ก็ไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทนย่อมผูกพันหลัก การประกันภัยรถยนต์ ความรับผิดของผู้รับประกัน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อ อ. เป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่ระบุว่า กระทำในฐานะผู้แทนห้างจำเลยที่ 2 แต่ อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างจำเลยที่ 2 และรถยนต์คันที่ เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ก็เป็นของห้างจำเลยที่ 2 มิใช่ของ อ.เป็นส่วนตัวอ. จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย ในรถยนต์ที่เอาประกันภัย การที่ อ. นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำ สัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 จึงเป็น การกระทำในฐานะผู้แทนของ ห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล เพราะความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 ถือได้ว่าเป็นการกระทำของห้างจำเลยที่ 2 เอง การ ที่ไม่ระบุไว้ ในกรมธรรม์ประกันภัยว่า อ. กระทำการแทนห้าง จำเลยที่ 2 หาทำให้ การกระทำในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลกลับกลายเป็นการกระทำใน ฐานะส่วนตัวไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า: อายุความและอำนาจฟ้อง
นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เพราะไม่มีกฎหมาย บัญญัติห้ามไว้ โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ในต่างประเทศและใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ในประเทศไทยจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในประเทศไทยดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพราะโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 41และการฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้จึงมีอายุความฟ้องร้อง10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ หลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกไม่ให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์แล้วจำเลยได้เอาน้ำมันหล่อลื่นจากที่อื่นมาจำหน่าย แต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับน้ำมันหล่อลื่นของจำเลยการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาต่อเนื่องกันถึงวันฟ้องและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายย้อนหลังจากวันฟ้องเพียง 1 ปีคดีของโจทก์ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดอายุความเช่นเดียวกัน
of 24