พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า: อายุความและอำนาจฟ้อง
นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เพราะไม่มีกฎหมาย บัญญัติห้ามไว้ โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ในต่างประเทศและใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์ในประเทศไทยจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยในประเทศไทยดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพราะโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 41และการฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้จึงมีอายุความฟ้องร้อง10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ หลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกไม่ให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นของโจทก์แล้วจำเลยได้เอาน้ำมันหล่อลื่นจากที่อื่นมาจำหน่าย แต่ยังคงใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับน้ำมันหล่อลื่นของจำเลยการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาต่อเนื่องกันถึงวันฟ้องและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายย้อนหลังจากวันฟ้องเพียง 1 ปีคดีของโจทก์ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดอายุความเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค – การรับแลกเช็คไม่เกินวัตถุประสงค์ – ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงรับจำนำ การที่โจทก์รับแลกเช็คพิพาทไว้นั้นเป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเงินทุนอันเป็นกิจการที่ผู้ซึ่งประกอบการค้าหรือธุรกิจอย่างอื่นอาจกระทำได้เป็นปกติไม่ถึงกับเป็นการนอกวัตถุประสงค์ เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งมีลายมือชื่อจำเลยลงไว้ในฐานะผู้สั่งจ่ายและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การที่เช็คพิพาทมีตราของบริษัทจำกัดประทับอยู่ด้วยนั้นไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท จำเลยก็ย่อมมีความรับผิดในทางอาญาเช่นเดียวกัน
การที่เช็คพิพาทมีตราของบริษัทจำกัดประทับอยู่ด้วยนั้นไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท จำเลยก็ย่อมมีความรับผิดในทางอาญาเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของบริษัทประกันภัยเมื่อมีการระบุประเภทนิติบุคคลของลูกหนี้ผิดพลาด ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงและเจตนาของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำในทางการที่จ้างของลูกจ้างจำเลยที่ 1 แต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ความจริงจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก. และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่มีการจดทะเบียนในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เช่นนี้ จึงเป็นเพียงโจทก์ฟ้องโดยเรียกชื่อประเภทนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ผิดไป มิใช่เป็นการฟ้องนิติบุคคลผิดตัว จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาประกันภัยและการระบุตัวนิติบุคคลผู้เอาประกันภัยที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำในทางการที่จ้างของลูกจ้างจำเลยที่ 1 แต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ก ความจริงจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่มีการจดทะเบียนในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ก เช่นนี้จึงเป็นเพียงโจทก์ฟ้องโดยเรียกชื่อประเภทนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ผิดไป มิใช่เป็นการฟ้องนิติบุคคลผิดตัวจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ระบุที่อยู่ต่างแขวง และอำนาจฟ้องมีอยู่เนื่องจากกรรมสิทธิ์โอนแล้ว
แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์ แต่บรรยายฟ้องว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ ซึ่งต่างแขวงกันก็ ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทกันนี้เดิมจำเลยเช่าจาก ฉ. แล้วต่อมาได้ ซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 พร้อมกับตึกแถวพิพาท จาก ฉ. ดังนี้ เห็นได้ว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่จำเลย เช่าจาก ฉ. มีอยู่ห้องเดียวคือที่ปลูกอยู่บนที่ดิน โฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ฟ้องขับไล่นั่นเอง ทั้ง จำเลยยังได้อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 และตึกแถวเลขที่ 60 ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ประกอบ คำให้การของจำเลยอีกด้วย จำเลยจึงเข้าใจฟ้องได้ดีว่า ตึกแถวพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ซื้อ จาก ฉ. ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธ์วงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ.ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสดฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การ ซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้ โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอม ดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ.ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสดฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การ ซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้ โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอม ดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่: แม้ฟ้องระบุที่อยู่ไม่ตรงกับโฉนด แต่จำเลยเข้าใจที่ตั้งทรัพย์สิน และโจทก์มีกรรมสิทธิ์ถูกต้อง
แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ แต่บรรยายฟ้องว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ ซึ่งต่างแขวงกันก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่พิพาทกันนี้เดิมจำเลยเช่าจาก ฉ. แล้วต่อมาได้ซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 พร้อมกับตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ดังนี้ เห็นได้ว่าตึกแถวเลขที่ 60 ที่จำเลยเช่าจาก ฉ. มีอยู่ห้องเดียวคือที่ปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ฟ้องขับไล่นั่นเอง ทั้งจำเลยยังได้อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 และตึกแถวเลขที่ 60 ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ประกอบคำให้การของจำเลยอีกด้วย จำเลยจึงเข้าใจฟ้องได้ดีว่าตึกแถวพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3389 ที่โจทก์ซื้อจาก ฉ. ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกแถวเลขที่ 60 แขวงสัมพันธ์วงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ จึงไม่เป็นการเกินคำขอ
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสด ฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตึกแถวพิพาทจาก ฉ. ชำระราคาบางส่วนด้วยเช็คเงินสด ฉ. จึงทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ส่วนราคาที่เหลือโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้ ฉ. ไว้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายกันได้โอนไปยังโจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนแล้ว การซื้อขายรายนี้หาได้มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น การที่จำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นฎีกาจึงเป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตหน้าที่ แม้สมาคมเป็นนิติบุคคลอื่น แต่เชื่อมโยงกับสหกรณ์จำเลย
แม้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์การเกษตรจะได้จดทะเบียนเป็นสมาคมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากสหกรณ์การเกษตรจำเลยก็ตามแต่สมาคมนี้นับได้ว่าอยู่ในเครือเดียวกับจำเลยโดยมีกำเนิดสืบเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ของกิจการจำเลยผู้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมล้วนเป็นสมาชิกของจำเลย เนื่องด้วยสมาคมไม่มีเจ้าหน้าที่ของตนเองจำเลยจึงมอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยดำเนินการรับสมัครสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมและยังมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคม ถือได้ว่าจำเลยมอบให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเพื่อกระทำการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยักยอกเงินค่ารับสมัคร สมาชิกสมาคมจึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ที่จำเลยมอบหมายแก่โจทก์จำเลยจึงเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ แม้เป็นการกระทำต่อสมาคมในเครือเดียวกับนายจ้าง
แม้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์การเกษตรจะได้จดทะเบียนเป็นสมาคมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากสหกรณ์การเกษตรจำเลยก็ตาม แต่สมาคมนี้นับได้ว่าอยู่ในเครือเดียวกับจำเลยโดยมีกำเนิดสืบเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ของกิจการจำเลย ผู้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมล้วนเป็นสมาชิกของจำเลย เนื่องด้วยสมาคมไม่มีเจ้าหน้าที่ของตนเองจำเลยจึงมอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยดำเนินการรับสมัครสมาชิกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมและยังมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคม ถือได้ว่าจำเลยมอบให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเพื่อกระทำการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยักยอกเงินค่ารับสมัครสมาชิกสมาคมจึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ที่จำเลยมอบหมายแก่โจทก์ จำเลยจึงเลิกจ้างหรือไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมชลประทานมีอำนาจให้เช่าที่ดินเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไม่ผิดวัตถุประสงค์ แม้ยังมิได้ใช้ประโยชน์
กรมชลประทานซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของครอบครองและดูแลรักษาทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ตาม วัตถุประสงค์ของกรมชลประทานได้ การที่กรมชลประทานเอาที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่าในเวลาที่กรมชลประทานยังไม่จำเป็นต้องใช้ ย่อมเป็นการกระทำในการดูแลทรัพย์สินของทางราชการเอาไว้ไม่ให้ผู้อื่นแย่งการครอบครองเอาไปโดยมิชอบโดยไม่ปรากฏว่าผิดต่อวัตถุประสงค์ของกรมชลประทาน เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญากับกรมชลประทานและเป็นผู้ปฏิบัติผิดสัญญาเช่านั้น กรมชลประทานย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนิติบุคคลในการเช่าทรัพย์สินเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ และอำนาจฟ้องคดีสัญญาเช่า
กรมชลประทานซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของครอบครองและดูแลรักษาทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของกรมชลประทานได้ การที่กรมชลประทานเอาที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่าในเวลาที่กรมชลประทานยังไม่จำเป็นต้องใช้ ย่อมเป็นการกระทำในการดูแลทรัพย์สินของทางราชการเอาไว้ไม่ให้ผู้อื่นแย่งการครอบครองเอาไปโดยมิชอบ โดยไม่ปรากฏว่าผิดต่อวัตถุประสงค์ของกรมชลประทาน เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญากับกรมชลประทานและเป็นผู้ปฏิบัติผิดสัญญาเช่านั้น กรมชลประทานย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย