คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 69

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3536/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจค้ำประกัน – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ความรับผิดส่วนตัว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 4 ที่ 5 เป็นผู้สั่งจ่ายให้แก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวในนามจำเลยที่ 2 เมื่อการค้ำประกันดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้รับประโยชน์การค้ำประกันจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 ซึ่งกระทำโดย ปราศจากอำนาจหรือนอกเหนือขอบอำนาจจึงรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีสิทธิฟ้องแทนบริษัท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัท ร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น/กรรมการ: ความเสียหายต้องเกิดต่อนิติบุคคลโดยตรง ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น/กรรมการ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัทร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791-2792/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทน, หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าบำเหน็จนายหน้า
นิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบอำนาจไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากถ้าเรื่องที่เป็นความอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 263/2503)
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยเจ้าหน้าที่ศาลแห่งเมืองนั้นโดยมีสถานกงสุลไทยรับรองมาอีกชั้นหนึ่งว่าตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจเป็นตราที่ถูกต้องของศาลชั้นสูงใบมอบอำนาจนี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์และจำเลยมีเจตนาจะให้วัตถุประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยก็ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนตามมาตรา 387 แต่เมื่อจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญากลับขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปโดยไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาถือว่าจำเลยและโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญต่อไปต่อมาจำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์ทันทีไม่ได้ต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาก่อนเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้ชี้ช่องให้โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้ทำสัญญากันเสร็จจำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามที่จำเลยกับโจทก์ที่ 2 ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่สัญญาจะได้ปฏิบัติตามสัญญานั้นในเวลาต่อไปหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650-1651/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษาชดใช้: โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินทุนคืนได้หากผู้รับทุนผิดสัญญา แม้มูลนิธิไม่ได้ผูกพันโดยตรง
แม้มูลนิธิที่ให้ทุนจะมิได้มีข้อตกลงกับผู้รับทุนถึงเรื่องการทำงานชดใช้ภายหลังการศึกษา แต่ตามข้อความในหนังสือของมูลนิธิที่มีถึงโจทก์เป็นการยืนยันว่า ในการที่โจทก์ให้ผู้รับทุนของมูลนิธิทำสัญญาผูกพันว่า ต้องมาทำงานชดใช้ภายหลังการศึกษาชั่วระยะเวลาหนึ่ง เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น การที่โจทก์ให้ผู้รับทุนทำสัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นการผิดต่อวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ เมื่อผู้รับทุนผิดสัญญา โจทก์มีอำนาจฟ้องให้ชดใช้เงินทุนคืนตามสัญญาได้
เมื่อจำนวนเงินที่ศาลล่างให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ ได้คำนวณถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสัญญา และเป็นการเหมาะสมแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศ, ส่วนได้เสียในประกันภัย, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง
โจทก์ใส่ชื่อจำเลยในตอนต้นของคำฟ้องว่า"สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ" ตามชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวให้ทราบชัดแล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ด. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ในประเทศเดนมาร์ก. และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า "สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ " เป็นจำเลยดังนี้ แม้ "สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ " จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้
บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์และได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ แม้ตามใบตราส่งจะระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับสินค้า แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าหากวินาศภัยมีขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยนั้น บริษัท ย. จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารประการใดเลยแล้ว ก็ต้องถือว่าบริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
ข้อความจำกัดความรับผิดในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้จากผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผู้ขนส่งสินค้าต่างชาติในไทย: อำนาจฟ้อง, ส่วนได้เสีย, ข้อจำกัดความรับผิด
โจทก์ใส่ชื่อจำเลยในตอนต้นของคำฟ้องว่า'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ' ตามชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวให้ทราบชัดแล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ด.กับบริษัทอ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ในประเทศเดนมาร์ก. และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' เป็นจำเลยดังนี้ แม้ 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้
บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์และได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ แม้ตามใบตราส่งจะระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับสินค้า แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าหากวินาศภัยมีขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยนั้น บริษัท ย. จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารประการใดเลยแล้ว ก็ต้องถือว่าบริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
ข้อความจำกัดความรับผิดในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้จากผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่ขัดวัตถุประสงค์ และไม่เป็นหน้าที่เฉพาะบุคคล
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคล
เป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรทั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์และกฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา
บุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดกฉะนั้น ถ้าไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นแล้ว ศาลย่อมตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามที่เห็นสมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นวัดขอเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งจะเป็นสมบัติของวัด วัดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมกระทำโดยเจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้แทนของวัดเป็นผู้แสดงให้ปรากฏตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมตำรวจมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินที่กองสวัสดิการในสังกัดทำแทน แม้จะอ้างว่าเกินอำนาจ
กองสวัสดิการ กรมตำรวจ ด้วยการรู้เห็นยินยอมของกรมตำรวจเคยจัดสรรที่ดินให้ประชาชนโดยทั่วๆ ไปเช่าซื้อ เมื่อ ผู้เช่าซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้ สำหรับที่ดินรายพิพาทนี้ ก่อนที่จะนำออกจัดสรรได้ประกาศโฆษณาให้ประชาชนได้ทราบโดยเปิดเผย โจทก์เชื่อ โดยสุจริตว่ากองสวัสดิการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรที่ดิน ให้เช่าซื้อได้ จึงได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทกับ กองสวัสดิการ และได้ชำระเงินโดยครบถ้วน แต่ทาง กองสวัสดิการไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้เพราะ เจ้าหน้าที่ทุจริต กรมตำรวจจึงได้มีคำสั่งให้รีบดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์และผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาที่ดินครบถ้วน ดังนี้ต่อมากรมตำรวจจะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อโดยอ้างว่าไม่รู้และยินยอมให้กองสวัสดิการเชิดตัวเองออกแทนกรมตำรวจในการทำสัญญาเช่าซื้อหาได้ไม่
กรมตำรวจรู้และยินยอมให้กองสวัสดิการซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์แทน และได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนด้วย ดังนี้จะปฏิเสธความรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะเหตุกองสวัสดิการผิดสัญญา โดยอ้าง ว่าเป็นเรื่องนอกวัตถุประสงค์และนอกเหนืออำนาจหน้าที่ ของกรมตำรวจหาได้ไม่
of 24