พบผลลัพธ์ทั้งหมด 239 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้แม้ไม่มีตราบริษัท แต่ผู้กู้ลงลายมือชื่อแล้ว ถือเป็นหลักฐานฟ้องร้องได้
จำเลยได้กู้เงินของบริษัทโจทก์ไปจริงตามสัญญากู้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินที่กู้ไปให้แก่โจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าบริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้พนักงานกู้เงินไปซื้อบ้าน ไม่มีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามที่กู้ไปนั้นไม่ได้ แม้สัญญากู้จะมีกรรมการของบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้แต่เพียงคนเดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยก็ตาม แต่หนังสือสัญญากู้ฉบับนี้จำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ไว้เป็นหลักฐานแล้วโจทก์จึงนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ต้นเงินกู้พร้อมด้วยดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คปลอมแก้ตัวยาแก้ตัวยาก: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเดิม แม้การแก้ไขไม่ประจักษ์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว.ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขจำนวนเงิน – ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว. ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์กรณี จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นสิทธิ) ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว. เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นสิทธิ) ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว. เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการมีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจำเลยและลูกจ้าง
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่าง ๆแม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจนำข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง โจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจนำข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง โจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและลูกจ้าง แม้คำสั่งเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.แรงงานฯ
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่างๆ แม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวัตถุประสงค์บริษัท: การค้ำประกันทำได้หากมีวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
ตามหนังสือบริคณห์สนธิของจำเลยที่ 3 ปรากฏในข้อ 3(6) ว่ามีวัตถุประสงค์ในการจำนอง ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการค้าประกันเพื่อชำระหนี้ ดังนี้ ต้องถือว่าการค้ำประกันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์บริษัทจำกัดกับการค้ำประกัน: การตีความขอบเขตอำนาจตามหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามหนังสือบริคณห์สนธิของจำเลยที่ 3 ปรากฏในข้อ 3(6) ว่ามีวัตถุประสงค์ในการจำนอง ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ ดังนี้ ต้องถือว่าการค้ำประกันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์โดยได้รับค่าตอบแทน จำเลยผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อทรัพย์สินที่ฝาก แม้มีประกาศปฏิเสธความรับผิดชอบ
การที่โจทก์นำรถยนต์ไปจอดฝากไว้ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยโดยเสียค่าฝาก 10 บาทต่อวัน เป็นการฝากทรัพย์ แม้จำเลยจะได้ประกาศว่า จะไม่รับผิดชอบในการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ และลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้เก็บกุญแจรถไว้ ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากการรับผิด และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยให้โจทก์เช่าสถานที่จอดรถ
นิติบุคคลจะมีวัตถุประสงค์ในการรับฝากทรัพย์หรือไม่ก็ตาม เมื่อรับฝากทรัพย์ไว้และได้รับบำเหน็จค่าฝากตลอดมา จะปลีกตนให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
นิติบุคคลจะมีวัตถุประสงค์ในการรับฝากทรัพย์หรือไม่ก็ตาม เมื่อรับฝากทรัพย์ไว้และได้รับบำเหน็จค่าฝากตลอดมา จะปลีกตนให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์ แม้มีประกาศสละความรับผิดชอบ ก็ยังต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับฝาก
การที่โจทก์นำรถยนต์ไปจอดฝากไว้ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยโดยเสียค่าฝาก 10 บาทต่อวัน เป็นการฝากทรัพย์ แม้จำเลยจะได้ประกาศว่า จะไม่รับผิดชอบในการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ และลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้เก็บกุญแจรถไว้ ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากการรับผิด และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยให้โจทก์เช่าสถานที่จอดรถ
นิติบุคคลจะมีวัตถุประสงค์ในการรับฝากทรัพย์หรือไม่ก็ตามเมื่อรับฝากทรัพย์ไว้และได้รับบำเหน็จค่าฝากตลอดมา จะปลีกตนให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
นิติบุคคลจะมีวัตถุประสงค์ในการรับฝากทรัพย์หรือไม่ก็ตามเมื่อรับฝากทรัพย์ไว้และได้รับบำเหน็จค่าฝากตลอดมา จะปลีกตนให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาโฆษณาทางวิทยุ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายถูกจำกัดด้วยข้อตกลงและเหตุสุดวิสัย
จำเลยได้อนุมัติและมอบหมายให้กรมการทหารสื่อสารจัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ตามจังหวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของจำเลย โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ากรมการทหารสื่อสารจะต้องหาทางดำเนินการในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เอาเอง และเมื่อกรมการทหารสื่อสารได้จัดตั้งสถานีวิทยุ วปถ. ขึ้นตามที่จำเลยอนุมัติและมอบหมายแล้วจำเลยก็ย่อมรับรู้และได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุเหล่านั้นทั้งหมด โดยทางคณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งและโดยการควบคุมตามสายงานปกติ คือผ่านทางสำนักงานปลัดบัญชีทหารบก ตลอดจนได้เข้าถือประโยชน์จากทรัพย์สินและวัสดุต่าง ๆ ทั้งขอแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินงานสถานีวิทยุเหล่านั้นไปเป็นของจำเลยถึงร้อยละ 40 เช่นนี้ การที่กรมการทหารสื่อสารได้ปฏิบัติไปเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุ วปถ. จึงผูกพันกองทัพบกจำเลย รวมทั้งหนี้ซึ่งผู้อำนวยการกรมการทหารสื่อสารได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปพัฒนากิจการวิทยุดังกล่าวกับหนี้เงินที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายให้ไปตามสัญญาที่มีกับกรมการทหารสื่อสารเพื่อนำไปปรับปรุงสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. ด้วย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 คณะกรรมการของกรมการทหารสื่อสารได้มีการประชุมกับผู้จัดการทั่วไปของโจทก์ตกลงหลักการให้โจทก์เช่าเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุ วปถ. ทุกแห่ง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 กับได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายเป็นผู้ร่างสัญญา ซึ่งผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสาร ได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.26 ขอให้ยืนยันข้อตกลงดังกล่าวและโจทก์ได้มีหนังสือตอบยืนยันไปแต่ยังไม่ทันถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2509 และยังมิได้มีการลงชื่อในสัญญาซึ่งตกลงว่าจะทำกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งลงวันที่ 21 กันยายน 2509 ห้ามสถานีวิทยุของส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมออกอากาศรายการโฆษณาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 เป็นต้นไป กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดให้มีการประชุม รองผู้อำนวยการกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารได้แถลงว่า ข้อผูกพันระหว่างกิจการวิทยุกระจายเสียงกรมการทหารสื่อสารกับผู้เช่าเวลาโฆษณาถือว่าเป็นสิ้นสุดต่อกัน ซึ่งผู้แทนของโจทก์ก็ได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบคำแถลงดังกล่าวด้วยโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เมื่อสัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังมิได้ทำขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับกรมการทหารสื่อสารทหารบกหรือจำเลยมีสัญญาต่อกัน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรค 2(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 164/2519)
เดิมกรมการทหารสื่อสารตกลงให้โจทก์ทำการรับเหมาเช่าเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุ วปถ. จำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ ปี 2507 โดยกรมการทหารสื่อสารขอสงวนสิทธิว่า เมื่อมีคำสั่งของทางราชการกองทัพบกหรือของรัฐบาล สั่งให้ปฏิบัติการใด ๆ ด้วยวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการโฆษณา โจทก์จะต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อมีเหตุนอกอำนาจใด ๆ บังเกิดขึ้นอันทำให้การกระจายเสียงของ วปถ. ไม่เป็นไปตามปกติแล้วทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และโจทก์จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากกรมการทหารสื่อสารไม่ได้ต่อมาการที่โจทก์ไม่อาจเข้าทำการโฆษณาในสถานีวิทยุ วปถ. ได้ตามปกติ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห้ามการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงก็ดีหรือ การที่กรมการทหารสื่อสารไม่ได้จัดให้โจทก์เข้าเช่าเวลาโฆษณาในตอนหลังเนื่องจากผู้บัญชาการทหารบกได้มีคำสั่งให้กรมการทหารสื่อสารดำเนินการโฆษณาเองก็ดีต้องถือเป็นเหตุนอกเหนืออำนาจของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งกรมการทหารสื่อสารไม่อาจจะจัดการให้เป็นอย่างอื่นได้โจทก์จึงไม่อาจโต้แย้งและไม่มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายใด ๆจากกรมการทหารสื่อสารตามนัยแห่งข้อตกลงเดิมที่โจทก์มีอยู่กับกรมการทหารสื่อสารดังกล่าวข้างต้นได้และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรมการทหารสื่อสาร โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องเรียกจากจำเลยได้