พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13996/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมสรรพากรประเมินภาษีส่วนท้องถิ่น และข้อยกเว้น พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
กรมสรรพากรมีอำนาจจัดเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นแทนกรุงเทพมหานคร โดยอาศัย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 112 บัญญัติว่า "กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากร...เพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของภาษี ...ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทดังต่อไปนี้ (1) ภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร... และวรรคสาม "ภาษีอากร... ตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีอากร...ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น" ดังนั้น ภาษีส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมาตรา 5 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร
ป.รัษฎากรลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะและไม่มีบทบัญญัติว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ป.รัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 มาตรา 3 วรรคสอง ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ป.รัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45
ป.รัษฎากรลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะและไม่มีบทบัญญัติว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ป.รัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 มาตรา 3 วรรคสอง ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ป.รัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีล่วงหน้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ การประเมินภาษีย้อนหลังขัดต่อมาตรา 18 ทวิ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ทวิวรรคแรกกำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรก่อนถึงกำหนดสำหรับภาษีการค้าที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นมาตรา85ทวิและมาตรา86กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่15ของเดือนถัดไปเว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการสามารถขยายหรือเลื่อนกำหนดออกไปได้อีกถ้าอธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็นแก่กรณีตามมาตรา3อัฏฐเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในช่วงปี2527ถึง2529ไม่มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับเมื่อวันที่27กรกฎาคม2531โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529จึงเป็นการประเมินภายหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529ไปแล้วซึ่งเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการจึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา18ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีล่วงหน้าตามมาตรา 18 ทวิ ต้องทำก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบฯ หากเกินกำหนดการประเมินนั้นไม่ชอบ
การออกหมายเรียกเพื่อประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าตามมาตรา18ทวิแห่งประมวลรัษฎากรเจ้าพนักงานประเมินไม่จำต้องระบุเลขมาตราเนื่องจากประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดไว้ว่าในการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรจะต้องระบุมาตราที่จะใช้ในการประเมินภาษีอากรแต่อย่างใด การประเมินเรียกเก็บภาษีล่วงหน้าตามมาตรา18ทวินั้นกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกเก็บได้ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีการขยายหรือเลื่อนกำหนดระยะเวลาสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการการค้าของโจทก์สำหรับเดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี2528และ2529การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมีนาคม2528และของเดือนเมษายนถึงมีนาคม2529ล่วงหน้าตามมาตรา18ทวิเมื่อวันที่27มิถุนายน2531จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี2528และ2529แล้วการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าต้องเป็นไปตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด การประเมินย้อนหลังขัดต่อกฎหมาย
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ป.รัษฎากร มาตรา 17 วรรคแรก, 84 วรรคแรก, 85 ทวิ, 86 ได้กำหนดไว้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกัน กำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไป ตามมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อไม่ปรากฏว่า ในปี 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไป กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2528 ดังกล่าวจึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 นั้น จึงถึงกำหนดแล้วก่อนเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะประเมินภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม2531 กำหนดเวลยื่นรายการหาได้ขยายมาจนถึงปี 2531 ไม่ และตามมาตรา18 ทวิ วรรคแรก ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งมาตรา 18 ทวิ วรรคสอง ยังบัญญัติให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ดังนั้น การประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิ จึงต้องเป็นการประเมินสำหรับเดือนหรือปีภาษีที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่ปรากฏในงบดุลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม2528 ของโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือนและปีภาษีใด จึงถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือนธันวาคม 2528 และเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 ไปแล้ว เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18 ทวิ โดยชัดแจ้ง กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้รับดอกเบี้ยกำหนดเวลายื่นรายการจึงหาได้มีอยู่ก่อนการประเมินอันจะเป็นผลให้การประเมินภาษีกรณีนี้เป็นการประเมินก่อนกำหนดเวลายื่นรายการไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินโดยเฉลี่ยตามประกาศกระทรวงการคลัง เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีล่วงหน้า
โจทก์ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวมีกำหนด 18 ปี ได้รับเงินกินเปล่า จำนวนหนึ่ง ได้เฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแบ่งจำนวนปีของอายุการเช่า ตามประกาศของกระทรวงการคลังซึ่งออกมาเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้เสียภาษี ประการหนึ่งและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีเงินได้จัดการเสียภาษี โดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ปิดบังประการหนึ่ง แล้วนำเงินเฉลี่ยดังกล่าว ไปคำนวณเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายปีมา 2 ปีแล้ว แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยที่1 อนุญาตให้โจทก์ยื่นรายการเงินได้เพื่อเสียภาษีตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วนแล้วการที่จำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานประเมินจำเลยที่ 2 จะอาศัยอำนาจ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ มาบังคับโจทก์โดยประเมินเรียกเก็บ ภาษีโจทก์ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเงินได้โดยอ้างว่าโจทก์ มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่มีความแน่นอนว่าจะสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือ เลิกประกอบกิจการเมื่อใดและจะมีความสามารในการเสียภาษีอากร ตลอดไปหรือไม่เพราะระยะเวลาการเสียภาษีตามอายุสัญญาเช่า นานถึง 16 ปี ไม่มีหลักประกันแน่นอนเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของโจทก์ ในการเสียภาษีกรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามมาตรา 18 ทวิ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีล่วงหน้าขัดต่อประกาศกระทรวงการคลังที่อนุญาตให้เฉลี่ยรายได้จากสัญญาเช่า
โจทก์ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวมีกำหนด 18 ปี ได้รับเงินกินเปล่า จำนวนหนึ่ง ได้เฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแบ่งจำนวนปีของอายุการเช่าตามประกาศของกระทรวงการคลังซึ่งออกมาเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้เสียภาษีประการหนึ่งและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีเงินได้จัดการเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ปิดบังประการหนึ่ง แล้วนำเงินเฉลี่ยดังกล่าวไปคำนวณเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายปีมา 2 ปีแล้ว แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยที่1 อนุญาตให้โจทก์ยื่นรายการเงินได้เพื่อเสียภาษีตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานประเมินจำเลยที่ 2 จะอาศัยอำนาจ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ มาบังคับโจทก์โดยประเมินเรียกเก็บ ภาษีโจทก์ล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเงินได้โดยอ้างว่าโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่มีความแน่นอนว่าจะสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือเลิกประกอบกิจการเมื่อใดและจะมีความสามารในการเสียภาษีอากรตลอดไปหรือไม่เพราะระยะเวลาการเสียภาษีตามอายุสัญญาเช่านานถึง 16 ปี ไม่มีหลักประกันแน่นอนเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของโจทก์ในการเสียภาษี กรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามมาตรา 18 ทวิ เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การประเมิน การอุทธรณ์ และการฟ้องร้อง ส่งผลต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ทำให้จำนวนเงินค่าภาษีขาดไปต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีที่ขาดไปนี้ได้ถึงกำหนดชำระแล้ว ตั้งแต่วันที่โจทก์ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68 และ 69 คือภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ภาษีรายพิพาทเป็นภาษีเงินได้สำหรับระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2495 ถึง 2500 ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2496, 30 พฤษภาคม 2497, 30 พฤษภาคม 2498, 29 พฤษภาคม 2499, 30 พฤษภาคม 2500 และ 30 พฤษภาคม 2501 ตามลำดับ อายุความจึงเริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระของแต่ละปีเป็นต้นไป เพราะเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เพิ่มเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2505 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีได้จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี และการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งคำสั่งประเมินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่าดีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ถ้าผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องเสียภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีอากรค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินยอมเป็นเหตุให้อายุความสุดุดหยุดลง ส่วนการที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2515 นั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งประเมินเรียกเก็บภาษีเป็นเพียงข้อวินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องหรือไม่เท่านั้น จะนับอายุความจากวันครบกำหนดชำระภาษีจนถึงวันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าเกิน 10 ปี ขาดอายุความหาได้ไม่ และกรณีที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินดังกล่าว ทั้งฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีนี้สืบเนื่องกันมา ถือได้ว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรจำเลยที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้รายพิพาทจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 167
เงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรจำเลยไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและกรมสรรพากรจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ ซึ่งฝ่ายจำเลยถือว่ามีสิทธิเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และโต้เถียงเช่นนั้นตลอดมา ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีดังกล่าวคืน จึงไม่ใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับที่จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์ได้เสียภาษีเพิ่มสำหรับรอบระยะบัญชี 2495 และ 2496 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โดยจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ แต่ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มน้อยกว่าที่ชำระไปแล้ว โจทก์จึงชำระภาษีเกินกว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเป็นเงิน 727,340.86 บาท ดังนี้ กรมสรรพากรจำเลยต้องคืนเงินภาษีจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวให้โจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้นำภาษีที่โจทก์ชำระเกินไว้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่โจทก์จะต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2497 และ 2498 ได้ เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้เช่นที่บัญญัติในมาตรา 18 ทวิ, 60 ทวิ คือให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการและภาษีที่เรียกเก็บ
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ ทั้งสิทธิเรียกร้องในหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จะหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
เงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรจำเลยไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและกรมสรรพากรจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ ซึ่งฝ่ายจำเลยถือว่ามีสิทธิเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และโต้เถียงเช่นนั้นตลอดมา ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีดังกล่าวคืน จึงไม่ใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับที่จะใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์ได้เสียภาษีเพิ่มสำหรับรอบระยะบัญชี 2495 และ 2496 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โดยจำเลยไม่ยอมให้ทุเลาการชำระ แต่ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มน้อยกว่าที่ชำระไปแล้ว โจทก์จึงชำระภาษีเกินกว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไปเป็นเงิน 727,340.86 บาท ดังนี้ กรมสรรพากรจำเลยต้องคืนเงินภาษีจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวให้โจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้นำภาษีที่โจทก์ชำระเกินไว้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่โจทก์จะต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2497 และ 2498 ได้ เพราะประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้เช่นที่บัญญัติในมาตรา 18 ทวิ, 60 ทวิ คือให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการและภาษีที่เรียกเก็บ
ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ ทั้งสิทธิเรียกร้องในหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่จะหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีที่ชำระโดยมิชอบ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของผู้ประกอบการ
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจกท์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน สิทธิเรียกร้องไม่เป็นลาภมิควรได้ และการประเมินภาษี
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรการที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจทก์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลักจึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้นกรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่