พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13996/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมสรรพากรประเมินภาษีส่วนท้องถิ่น และข้อยกเว้น พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
กรมสรรพากรมีอำนาจจัดเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นแทนกรุงเทพมหานคร โดยอาศัย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 112 บัญญัติว่า "กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากร...เพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของภาษี ...ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทดังต่อไปนี้ (1) ภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร... และวรรคสาม "ภาษีอากร... ตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีอากร...ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น" ดังนั้น ภาษีส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมาตรา 5 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร
ป.รัษฎากรลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะและไม่มีบทบัญญัติว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ป.รัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 มาตรา 3 วรรคสอง ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ป.รัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45
ป.รัษฎากรลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะและไม่มีบทบัญญัติว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ป.รัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 มาตรา 3 วรรคสอง ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ป.รัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีเพิ่มร้อยละ 2.5 ตามมาตรา 16(2) พ.ร.บ.การพนัน คำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่าย
ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจากฐานที่ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 18 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายและผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว ดังนั้น การที่มาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งเพื่อให้เป็นรายได้แก่เทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต โดยมิได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งจากฐานใดนั้น จึงหมายความว่าให้ผู้รับใบอนุญาตหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19ดังกล่าวเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งแห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายหรือยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว แล้วแต่ว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 กำหนดภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ไว้ในข้อ 12วรรคหนึ่งว่า ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดรายรับ ซึ่งหักรายจ่ายแล้วผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือการเล่นอย่างใด ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สวีปหรือขายสลากกินแบ่งสลากกินรวบหรือสวีปซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 16 หมายเลข 18 และหมายเลข 20 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และกำหนดในข้อ 12 วรรคสองว่า นอกจากภาษีดังกล่าวแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตเสียภาษีเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 16 วรรคสอง อีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่ต้องเสียเพื่อเป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต ดังนั้นคำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503)ดังกล่าว จึงหมายถึงยอดที่เป็นฐานในการเสียภาษีตามวรรคหนึ่งคือยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย แล้วแต่ว่าเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. นั่นเองหาใช่ว่าการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นรายได้ของจำเลยจึงต้องเก็บจากยอดภาษีที่ต้องเสียโดยเทียบเคียงกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 และมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั้น ต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่งฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่ายซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั้น ต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่งฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่ายซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีเพิ่มร้อยละ 2.5 ตาม พ.ร.บ.การพนัน ต้องคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ไม่ใช่ยอดภาษีที่ต้องเสีย
ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจากฐานที่ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 18 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายและผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีจากยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว ดังนั้น การที่มาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งเพื่อให้เป็นรายได้แก่เทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต โดยมิได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งจากฐานใดนั้น จึงหมายความว่าให้ผู้รับใบอนุญาตหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19ดังกล่าวเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งแห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายหรือยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว แล้วแต่ว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 กำหนดภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ไว้ในข้อ 12วรรคหนึ่งว่า ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดรายรับ ซึ่งหักรายจ่ายแล้วผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือการเล่นอย่างใด ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สวีปหรือขายสลากกินแบ่งสลากกินรวบหรือสวีปซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 16 หมายเลข 18 และหมายเลข 20 ในบัญชี ข. เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และกำหนดในข้อ 12 วรรคสองว่า นอกจากภาษีดังกล่าวแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตเสียภาษีเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 16 วรรคสอง อีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่ต้องเสียเพื่อเป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต ดังนั้นคำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503)ดังกล่าว จึงหมายถึงยอดที่เป็นฐานในการเสียภาษีตามวรรคหนึ่งคือยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย แล้วแต่ว่าเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข. นั่นเองหาใช่ว่าการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นรายได้ของจำเลยจึงต้องเก็บจากยอดภาษีที่ต้องเสียโดยเทียบเคียงกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 และมาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั้น ต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่งฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่ายซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั้น ต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่งฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่ายซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข. แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีการพนัน: การตีความ 'ยอดที่ต้องเสีย' ใน พ.ร.บ.การพนัน และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข.จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจากฐานที่ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 18 ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 19ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว ดังนั้น การที่ มาตรา 16วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข.เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งเพื่อให้เป็นรายได้แก่เทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต โดยมิได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งจากฐานใดนั้น จึงหมายความว่าให้ผู้รับใบอนุญาตหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ดังกล่าวเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งแห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายหรือยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้วแล้วแต่ว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข.ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503)ตามความใน พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 กำหนดภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งไว้ในข้อ 12 วรรคหนึ่งว่า ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข.เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้วผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือการเล่นอย่างใด ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สวีปหรือขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือสวีปซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 16 หมายเลข 18และหมายเลข 20 ในบัญชี ข.เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และกำหนดในข้อ 12 วรรคสองว่า นอกจากภาษีดังกล่าวแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตเสียภาษีเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 16 วรรคสอง อีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่ต้องเสียเพื่อเป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต ดังนั้น คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503)ดังกล่าว จึงหมายถึงยอดที่เป็นฐานในการเสียภาษีตามวรรคหนึ่งคือยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย แล้วแต่ว่าเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข.นั่นเอง หาใช่ว่าการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นรายได้ของจำเลยจึงต้องเก็บจากยอดภาษีที่ต้องเสียโดยเทียบเคียงกับมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 และมาตรา 112 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2528 ไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ.2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 16แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั้นต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่ง ฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่าย ซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16 วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ.2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 16แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั้นต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่ง ฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่าย ซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16 วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่