พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องแจ้งประเมินภายใน 5 ปี นับจากวันยื่นแบบพิมพ์ หากเกินกำหนด การประเมินเป็นโมฆะ
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วนเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทต่อจำเลยภายในกำหนดหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมายอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิน 5 ปีนับจากวันยื่นแบบฯ เป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปี 2540 ถึง 2549 ต่อกรุงเทพมหานครจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมาย จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2548 สำหรับห้องชุดพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสอบสมุดทะเบียนภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้วปรากฏว่าห้องชุดพิพาทยังไม่เคยมีการยื่นเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คำให้การในตอนแรกนี้จำเลยเพียงแต่ต่อสู้ว่า โจทก์ยังมิได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน นอกจากนี้จำเลยยังให้การต่อไปว่า ในเดือนธันวาคม 2549 สำนักงานเขตคลองเตยได้จัดกิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่จึงพบเอกสารแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ก่อนปีภาษี 2548 บางปี โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปีภาษี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีภาษีหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมาย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และหลักฐานจากคำพิพากษาศาลฎีกา
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 บัญญัติว่า ผู้รับประเมินจะต้องยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และมาตรา 24 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดประเภททรัพย์สิน ค่ารายปีกับค่าภาษีที่จะต้องเสียและให้พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ผู้รับประเมินทราบโดยไม่ชักช้า นอกจากนี้ มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) ยังบัญญัติว่าผู้รับประเมินผู้ใดยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 ดังนั้นการแจ้งการประเมินย้อนหลังในกรณีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์แล้วจะต้องกระทำภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของปีภาษีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์
โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ในปี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเพราะแจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่ยังไม่ได้ทำการประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการประเมินย้อนหลังภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ มิใช่ภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ การที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึง 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปี
คลังพัสดุของโจทก์มีเนื้อที่ 3,360 ตารางเมตร เมื่อหักพื้นที่อาคารโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ออกแล้วคงเหลือพื้นที่อีก 98,944 ตารางเมตร ในส่วนพื้นที่ที่เหลือนั้น ได้มีคำวินิจฉัยในคดีก่อนว่าเป็นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและอยู่กระจัดกระจายกันไป ทั้งบริเวณรอบอาคารคลังพัสดุมีรั้วล้อมรอบ พื้นที่ว่างนอกรั้วอยู่แยกต่างหากจากคลังพัสดุ โดยมีถนนทางรถไฟและคลองคั่น พื้นที่ดังกล่าวจึงมิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับอาคารคลังพัสดุ ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่อาคารคลังพัสดุ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินต่อเนื่องกับคลังพัสดุแล้วประเมินค่าภาษีจากโจทก์ในปีภาษี 2540 อีก ย่อมไม่ถูกต้อง จึงต้องคำนวณค่ารายปีของอาคารคลังพัสดุใหม่ โดยถือตามจำนวนพื้นที่ของอาคารคลังพัสดุที่ฟังยุติแล้วในคดีก่อนมาเป็นหลักในการคำนวณ
โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ในปี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเพราะแจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่ยังไม่ได้ทำการประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการประเมินย้อนหลังภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ มิใช่ภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ การที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึง 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปี
คลังพัสดุของโจทก์มีเนื้อที่ 3,360 ตารางเมตร เมื่อหักพื้นที่อาคารโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ออกแล้วคงเหลือพื้นที่อีก 98,944 ตารางเมตร ในส่วนพื้นที่ที่เหลือนั้น ได้มีคำวินิจฉัยในคดีก่อนว่าเป็นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและอยู่กระจัดกระจายกันไป ทั้งบริเวณรอบอาคารคลังพัสดุมีรั้วล้อมรอบ พื้นที่ว่างนอกรั้วอยู่แยกต่างหากจากคลังพัสดุ โดยมีถนนทางรถไฟและคลองคั่น พื้นที่ดังกล่าวจึงมิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับอาคารคลังพัสดุ ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่อาคารคลังพัสดุ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินต่อเนื่องกับคลังพัสดุแล้วประเมินค่าภาษีจากโจทก์ในปีภาษี 2540 อีก ย่อมไม่ถูกต้อง จึงต้องคำนวณค่ารายปีของอาคารคลังพัสดุใหม่ โดยถือตามจำนวนพื้นที่ของอาคารคลังพัสดุที่ฟังยุติแล้วในคดีก่อนมาเป็นหลักในการคำนวณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ฉบับแก้ไข และผลของการประเมินเกินกำหนด
ขณะที่โจทก์มีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2533 และ 2534 นั้น พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จึงต้องยื่นแบบพิมพ์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 เดิม และจำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ภายใน 10 ปี นับแต่วันครบกำหนดที่ให้ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 เดิม การที่จำเลยประเมินภาษีและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ภายใน 10 ปี จึงเป็นการประเมินภายในเวลาที่กำหนด ส่วนการยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีประจำปีภาษี 2535 ถึง 2537 ต้องกระทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 และจำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการประจำปีภาษี 2535 ถึง 2538 แล้ว ดังนั้น จำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 หรือ ภายในวันสุดท้ายของเดือน กุมภาพันธ์ การที่จำเลยประเมินภาษีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 และแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จึงพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ การประเมินจึงไม่ชอบ