คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถส่วนตัวที่ใช้ในการทำงาน ไม่ถือเป็นค่าจ้างในการคำนวณค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
จำเลยเหมาจ่ายค่าน้ำมันรถให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เพื่อชดเชยกับการที่โจทก์ใช้รถยนต์ส่วนตัวของโจทก์ไปในการทำงานให้แก่จำเลย ค่าน้ำมันรถดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ไม่เป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301-4302/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประจำมีสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงสภาพจ้าง แม้ระเบียบข้อบังคับนายจ้างจะเปลี่ยนแปลง
ลูกจ้างตามคำนิยามใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 มีเพียงประเภทเดียว คือ ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร ดังนั้น ลูกจ้างประจำจึงเป็นลูกจ้างประเภทหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะอย่างไรนั้นให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างประจำนั้นมีลักษณะอย่างไร จึงหมายความว่าลูกจ้างที่ผ่านการทดลองงานซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นประจำ แม้จำเลยจะมิได้กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดทดลองงานแล้วให้ลูกจ้างกลายเป็นลูกจ้างประจำทันที แต่ก็ต้องแปลว่า เมื่อลูกจ้างทำงานจนครบกำหนดระยะเวลาทดลองงานแล้วยังให้ทำงานต่อไปแสดงว่า จำเลยตกลงจ้างลูกจ้างนั้นต่อไปเป็นประจำ จึงกลายเป็นลูกจ้างประจำ
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานซึ่งเกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับค่ารถ ค่าคูปองอาหาร และค่าครองชีพ เมื่อจำเลยแก้ไขระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจากเดิมที่กำหนดไว้ 115 วัน เป็น 1 ปี ย่อมทำให้สิทธิของลูกจ้างซึ่งจะได้รับค่ารถ ค่าคูปองอาหาร และค่าครองชีพ เปลี่ยนจากได้รับเมื่อพ้นเวลา 115 วันเป็น 1 ปี เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องที่ขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลใช้บังคับ ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 การแก้ไขดังกล่าวจึงไม่มีผล ต้องถือตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับสภาพจ้างเดิม การที่จำเลยทำสัญญาจ้างกับโจทก์ทั้งสองโดยกำหนดระยะเวลาทดลองงานเกินกว่า 115 วัน จึงเป็นการทำสัญญากับลูกจ้างขัดแย้งกับข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้าง: ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับข้อเรียกร้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้างจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นลูกจ้างต้องดูที่อำนาจบังคับบัญชา หากไม่มีการควบคุมสั่งการ ไม่เป็นลูกจ้าง
ลูกจ้าง คือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างโดยอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง หมายความว่า ลูกจ้างต้องทำงานตามที่นายจ้างสั่งและต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างสามารถลงโทษได้ ดังนั้นเมื่อการทำงานของโจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของจำเลย หรือต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แสดงว่าการทำงานของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น ไม่ถือเป็นลูกจ้าง แม้รับเงินเดือน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด ในการทำงานของโจทก์นั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย แม้โจทก์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลงานของบริษัทจำเลยโดยต้องมาทำงานทุกวัน ก็ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาโจทก์ นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลยและทำงานกับจำเลยโดยเป็นกรรมการมาแต่แรก การทำงานของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลยจึงเป็นการทำในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมา แม้โจทก์จะได้รับเงินเดือนจากจำเลย แต่การทำงานของโจทก์ในบริษัทจำเลยไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลย เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องอายุความ 10 ปี
เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (8) และ (9) การเรียกร้องเงินโบนัสจึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความ 2 ปี ของบทบัญญัติดังกล่าว กำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องเงินโบนัสตามสัญญาจ้างแรงงานมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินโบนัส ค่าน้ำ ค่าไฟ ไม่ใช่ค่าจ้าง จึงไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินโบนัสโจทก์ได้รับเป็นประจำปีโดยจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ปีละ 1 ครั้งพร้อมกับเงินเดือนงวดที่ 12 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของปีในเดือนธันวาคมของแต่ละปี มิใช่แบ่งจ่ายเป็นงวดดังเช่นการจ่ายเงินเดือน และระบุการจ่ายว่าเป็นเงินโบนัส สำหรับค่าน้ำและค่าไฟฟ้าแต่เดิมจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ต่อเมื่อต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงประกอบการเบิกจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง แสดงให้เห็นว่าค่าน้ำค่าไฟฟ้า เป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการโดยแท้ ไม่มีเจตนาที่จะจ่ายให้เป็นเงินค่าจ้าง แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ต้องนำใบเสร็จมาแสดงก็เนื่องจากโจทก์เป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นการอำนวยความสะดวกและให้เกียรติโจทก์และเป็นจำนวนไม่มาก จึงเหมาจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือน เงินดังกล่าวนี้ก็ยังคงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นสวัสดิการเช่นเดิม ดังนั้น ทั้งเงินโบนัส เงินค่าน้ำ และเงินค่าไฟฟ้าจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ค่าอาหารและรายรับอื่นรวมเป็นค่าจ้างหรือไม่ และการตีความข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่าเงินค่าอาหารและเงินรายรับอื่นไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 เป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย จึงอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยการเกษียณอายุนั้น ถือเป็นค่าชดเชยตามมาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้วหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ให้แปลความข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าชดเชยเมื่อพนักงานเกษียณอายุแล้ว จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของจำเลยในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
หนี้ค่าจ้างค้างจ่าย เงินสะสม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ล้วนแต่เป็นเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาย่อมมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้อ้างเรื่องการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยก็สามารถหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การทำงานอิสระในฐานะผู้ถือหุ้น ไม่เข้าข่ายลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์เข้าไปบริหารงานของบริษัทจำเลยในฐานะผู้ถือหุ้น การทำงานอิสระ ไม่ต้องมาทำงานทุกวันไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้ใดในบริษัทจำเลยและไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 แม้โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยเป็นเงินเดือน ก็มิใช่ค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างจำเลยจึงไม่ต้องหักเงินสมทบส่งสำนักงานประกันสังคม การที่จำเลยหักเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมก็ไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมีฐานะกลายเป็นลูกจ้างของจำเลย
of 444