คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิจารณาเจตนาการกระทำ และความรับผิดของนายจ้างและบริษัท
คดีแรงงาน โจทก์หรือจำเลยอาจฟ้องหรือให้การเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ทั้งการดำเนินคดีควรเป็นไปโดยสะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ
เหตุที่จำเลยเลิกจ้างเป็นเรื่องที่โจทก์ตวาดใส่จำเลยว่า "หยิบขึ้นมาทำไม" จำเลยโกรธจึงเลิกจ้างโจทก์ ถ้อยคำดังกล่าววิญญูชนโดยทั่วไปในฐานะนายจ้างอาจไม่พอใจบ้างที่ถูกลูกจ้างกล่าวทำนองทักท้วงเช่นนั้น และนายจ้างอาจได้รับความเสียหายบ้างในด้านการบังคับบัญชา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งย่อมมีการสั่งงาน สอบถาม ถกเถียง และโต้แย้งกันเป็นปกติวิสัย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวถ้อยคำนั้นโดยมีเจตนาหรือประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายการกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ
โจทก์ฟ้อง บ. ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท อ. และบริษัท อ. ในฐานะนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ในชั้นพิจารณาจำเลยยอมรับว่าเป็นกรรมการบริษัท อ. และเป็นนายจ้าง ทั้งต่อสู้คดีโดยอ้างความผิดที่โจทก์ได้กระทำซึ่งเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย บ. กับบริษัท อ. จึงต่างเป็นนายจ้างของโจทก์และมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีนี้ด้วย และเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681-2683/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเรื่องโบนัส ไม่ขัดมติคณะรัฐมนตรีและ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
มติคณะรัฐมนตรีที่ยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลย อันมีผลทำให้สภาพการจ้างเดิมในเรื่องดังกล่าวยังคงใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น มิได้ห้ามไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง จำเลยจึงสามารถดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสพนักงานได้ ไม่ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัส มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากเดิมได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และเงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ นายจ้างสามารถออกประกาศเพื่อนำไปสู่ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8690/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่ารถยนต์ไม่ใช่ค่าจ้าง: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าจ้างและค่าชดเชยในคดีแรงงาน
"ค่าจ้าง" ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 หมายความว่าเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ข้อตกลงของจำเลยที่จะจัดหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์ หากยังหารถไม่ได้จะให้ค่าเช่ารถยนต์เดือนละ 22,000 บาท แสดงให้เห็นว่า มีการกำหนดให้จำเลยจัดหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์เป็นหลัก โดยมีข้อยกเว้นว่า หากยังหารถให้ไม่ได้ก็ให้จ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้โจทก์ หากต่อมาจำเลยสามารถหารถประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้เมื่อใด ก็ไม่จำต้องจ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้โจทก์ต่อไป ค่าเช่ารถยนต์ตามข้อตกลงจึงถือว่าเป็นสวัสดิการ มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แม้จะจ่ายเงินจำนวนแน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือนก็มิใช่ค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8690/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่ารถยนต์เป็นสวัสดิการ ไม่ใช่ค่าจ้าง: การพิจารณาค่าตอบแทนในสัญญาจ้าง
นายจ้างมีข้อตกลงกับลูกจ้างว่าจะหารถประจำตำแหน่งให้ แต่ถ้าหากยังหารถไม่ได้ก็จะให้ค่าเช่ารถยนต์ เดือนละ 22,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้หารถประจำตำแหน่งให้ลูกจ้างเป็นหลัก มีข้อยกเว้นว่าหากยังหา รถให้ไม่ได้ก็ให้จ่ายค่าเช่ารถยนต์ให้ลูกจ้าง หากต่อมานายจ้างสามารถหารถประจำตำแหน่งให้ลูกจ้างได้ตามข้อตกลงเมื่อใด นายจ้างก็ไม่จำต้องจ่ายค่าเช่ารถยนต์ดังกล่าวให้ลูกจ้างอีกต่อไป ค่าเช่ารถยนต์รายเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง ถือว่าเป็นสวัสดิการ มิใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แม้จะจ่ายเงินจำนวน แน่นอนเท่า ๆ กัน ทุกเดือนก็มิใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด ฟ้องบังคับได้แม้พ้น 30 วัน ไม่ใช่การเพิกถอนคำสั่ง
พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์และจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้แม้จะเกินระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเพราะ มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งไม่อยู่ในกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402-7403/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าน้ำมัน/โทรศัพท์) ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย และการเลิกจ้างที่ไม่ระบุเหตุผล
นายจ้างจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้แก่ลูกจ้างในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เป็นเงินเท่า ๆ กันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากน้อย เท่าใด ทั้งลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์เป็นหลักฐานในการรับเงินดังกล่าว เงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้าง ตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่าย บอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้" ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ก็ได้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จำเลยจะยกเหตุว่าจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์มีความบกพร่องหรือมีความผิดตามคำให้การของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402-7403/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าน้ำมัน/โทรศัพท์) ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 6,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ทั้งสองจะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปจำนวนมากน้อยเท่าใด และโจทก์ทั้งสองไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์เป็นหลักฐานในการรับเงินดังกล่าวด้วยเงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยเป็นนายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ทั้งสองถือว่าเป็นค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5
แม้จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้ระบุเหตุผลของการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 วรรคสามกำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างนายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ก็ตามแต่ข้อห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ก็ได้ ศาลแรงงานกลางจึงต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองและจำเลยในส่วนนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445-5565/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเกิดขึ้นเมื่อมีสถานภาพเป็นลูกจ้างและผลงานถึงวันสิ้นงวดบัญชี ข้อตกลงสภาพการจ้างผูกพันเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานอยู่
จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้โดยพิจารณาว่าโจทก์ทุกคนยังเป็นลูกจ้างอยู่จนถึงวันสิ้นงวดบัญชีและผลการปฏิบัติงานที่ผู้บังคับบัญชาประเมินเท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะกำหนดอัตราการจ่ายโบนัสไว้ชัดเจนโดยคำนวณจากฐานเงินเดือนของโจทก์แต่ละคนเป็นจำนวนแน่นอนก็ตาม แต่ก็มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติของวันทำงาน ทั้งข้อตกลงระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานที่ทำขึ้นก็ระบุว่า เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของพนักงาน เงินโบนัสที่จำเลยจ่ายเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานให้ มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่ใช่ค่าจ้าง
ศาลแรงงานไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายโบนัสโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่โจทก์อุทธรณ์เพื่อให้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายโบนัสโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายโบนัสปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด ทั้งคู่มือการบริหารงานบุคคลก็ระบุให้จำเลยจ่ายโบนัสปีละ 2 ครั้ง ส่วนวันปิดบัญชีประจำงวดหมายถึงวันสิ้นเดือนมิถุนายนและธันวาคมของปี มีความหมายว่า ให้มีการจ่ายโบนัสหลังวันสิ้นเดือนดังกล่าว ซึ่งโดยสภาพกำหนดไว้กว้าง ๆ ว่า ต้องจ่ายก่อนการจ่ายโบนัสงวดถัดไปเท่านั้น การพิจารณาว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับโบนัสงวดแรกของปี 2541 หรือไม่ ต้องพิจารณาตามข้อบังคับการทำงานดังกล่าวโดยพิจารณาจากสถานภาพการเป็นพนักงานและผลการปฏิบัติงานถึงวันสิ้นงวดบัญชีอันได้แก่วันสิ้นเดือนมิถุนายน 2541 เมื่อโจทก์ทุกคนมีสถานภาพการเป็นพนักงานอยู่ในวันสิ้นเดือนมิถุนายน 2541 และผลการปฏิบัติงานผ่านการประเมินของผู้บังคับบัญชา สิทธิได้รับโบนัสงวดแรกของปี 2541 ของโจทก์ทุกคนย่อมเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันสิ้นเดือนมิถุนายน 2541
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่จะมีผลผูกพันลูกจ้างนั้นต้องเป็นข้อตกลงตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 วรรคสอง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นใหม่จะผูกพันเฉพาะลูกจ้างซึ่งทำงานอยู่กับนายจ้างในขณะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น เมื่อโจทก์ทุกคนลาออกก่อนที่จำเลยกับสหภาพแรงงาน ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ย่อมมีผลว่าขณะสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงไปตามข้อตกลงใหม่โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยและมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่จึงไม่ผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกรณีผิดนัดชำระเฉพาะค่าจ้าง, ข้อตกลงใหม่หลังพ้นสภาพงานไม่ผูกพัน
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานเท่านั้น มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง เงินโบนัสจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 เมื่อเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างและต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 9 วรรคสอง
ข้อบังคับของธนาคารจำเลยที่ระบุว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้ปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด นั้นแม้จำเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อมเงินเดือนในเดือนมิถุนายนโดยตลอดก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระ จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามก่อน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแล้ว การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน ธ. และต่อมาได้มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสขึ้นใหม่ ภายหลังที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามอัตราเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง เงินเพิ่มร้อยละ 15 ไม่บังคับใช้ แม้ไม่จ่ายตามกำหนด
เงินโบนัสที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานมิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ในคำนิยามของคำว่าสภาพการจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินค่าจ้างค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
คู่มือการบริหารงานบุคคลระบุว่า ธนาคารนายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานปีละ 2 ครั้ง พนักงานที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจะต้องปฏิบัติงานในงวดนั้นไม่ต่ำกว่า 1 เดือน และต้องอยู่ปฏิบัติงานจนถึงวันสิ้นงวดบัญชีงวดแรกคือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ทำงานกับจำเลยมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสในงวดบัญชีแรกของจำเลยตามข้อบังคับของจำเลยและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่ายให้ครบถ้วนจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 แต่มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นภายหลังโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จัดทำขึ้นดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
of 444