พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาหารเป็นสวัสดิการ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
อาหารวันละ 3 มื้อ ที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ไปทำงานปกติรับประทาน โดยลูกจ้างซึ่งไม่ได้ไปทำงานหรือเป็นวันหยุดจะไม่ได้รับประทานด้วยนั้น อาหารดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการช่วยการครองชีพของลูกจ้างซึ่งมาทำงานให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลบังคับใช้ทำให้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวถูกยกเลิก ความหมายคำว่า "ค่าจ้าง" จึงต้องใช้ตามมาตรา 5 ซึ่งหมายถึง "เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ ?" ดังนั้น อาหารวันละ 3 มื้อ ที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์จึงมิใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยให้การรับสารภาพ และปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามช่วงเวลาที่กระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้มีชื่อจำนวน 55 คน ได้กระทำผิดด้วยการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์บรรยาย มาในคำฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาก็เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่การกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับจึงต้องปรับบทให้ถูกต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766-1771/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยเมื่อนายจ้างหยุดกิจการ โดยการโอนย้ายลูกจ้างไปทำงานที่อื่นไม่ถือเป็นการยินยอม
ศาลแรงงานพิเคราะห์คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลย อีกทั้งคำแถลงรับของคู่ความแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานและใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แน่ชัดเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปอันมีผลตลอดไปเป็นการถาวร ประการที่สอง นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง และประการที่สาม สาเหตุเนื่องมาจากสัญญาจ้างสิ้นสุดหรือเหตุอื่นใด
นายจ้างหยุดกิจการเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง แม้นายจ้างจะโอนย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานกับบุคคลภายนอกก็ต้องให้ลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วยจึงต้องถือว่านายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอันมีผลตลอดไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างหยุดกิจการอันเป็นเหตุอื่นใด จึงเป็นกรณีเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นายจ้างจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 582 ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จัดการใช้หนี้เงินของบริษัทนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปอันมีผลตลอดไปเป็นการถาวร ประการที่สอง นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง และประการที่สาม สาเหตุเนื่องมาจากสัญญาจ้างสิ้นสุดหรือเหตุอื่นใด
นายจ้างหยุดกิจการเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง แม้นายจ้างจะโอนย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานกับบุคคลภายนอกก็ต้องให้ลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วยจึงต้องถือว่านายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอันมีผลตลอดไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างหยุดกิจการอันเป็นเหตุอื่นใด จึงเป็นกรณีเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นายจ้างจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 582 ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จัดการใช้หนี้เงินของบริษัทนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจรักษาแพทย์ไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินค่าตรวจรักษาคนไข้ที่แพทย์ของโรงพยาบาลโจทก์รวมทั้งจำเลยร่วมได้รับ เป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยร่วมตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง มีลักษณะเป็นเงินที่คนไข้จ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาโดยโจทก์รับไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่ง จึงมิใช่เงินของนายจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทน การทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างไม่ต้องนำไปเป็นฐานเพื่อคำนวณค่าชดเชยให้แก่จำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าตรวจรักษาคนไข้ไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เนื่องจากเป็นเงินที่คนไข้จ่ายโดยตรง ไม่ใช่ค่าตอบแทนการทำงานปกติ
ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ค่าจ้างต้องเป็นเงินที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงจ่ายกันตามสัญญาจ้าง ประการที่สอง เงินที่จ่ายดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ประการที่สาม เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
เงินค่าตรวจรักษาคนไข้ตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง มีลักษณะเป็นเงินที่คนไข้จ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นแพทย์ ที่ตรวจรักษาคนไข้โดยให้นายจ้างรับไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่ลูกจ้างที่ตรวจรักษาคนไข้ในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่ง มิใช่เงินของนายจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
เงินค่าตรวจรักษาคนไข้ตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง มีลักษณะเป็นเงินที่คนไข้จ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นแพทย์ ที่ตรวจรักษาคนไข้โดยให้นายจ้างรับไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่ลูกจ้างที่ตรวจรักษาคนไข้ในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่ง มิใช่เงินของนายจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และค่าชดเชย: การจ่ายค่าจ้างถึงวันสุดท้ายที่ทำงาน และการคำนวณค่าชดเชยตามระยะเวลาทำงาน
สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ และลูกจ้างก็มีหน้าที่ตอบแทนคือต้องทำงานให้แก่นายจ้างเช่นเดียวกัน นายจ้างได้บอกเลิกสัญญาจ้างแก่ลูกจ้างเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542 โดยให้ลูกจ้างหยุดทำงานตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ฉะนั้นนายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพียงวันที่ 20 มกราคม 2542 เท่านั้น ไม่จำต้องจ่ายค่าจ้างหลังจากนั้นอีกเพราะสัญญาแรงงาน สิ้นสุดลงและลูกจ้างพ้นจากฐานะการเป็นลูกจ้างและไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว
จำเลยแสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยทำเป็นหนังสือเลิกจ้างระบุให้มีผลเป็นการเลิกจ้างนับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ระบุไว้
การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีผลเพียงทำให้ นายจ้างต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็มิใช่ค่าจ้าง เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง การนับระยะเวลาทำงานของลูกจ้างก็สิ้นสุดลงด้วย
จำเลยแสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยทำเป็นหนังสือเลิกจ้างระบุให้มีผลเป็นการเลิกจ้างนับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ระบุไว้
การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีผลเพียงทำให้ นายจ้างต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็มิใช่ค่าจ้าง เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง การนับระยะเวลาทำงานของลูกจ้างก็สิ้นสุดลงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นการกระทำของนายจ้างโดยตรง การแจ้งความประสงค์โดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและผู้บังคับบัญชาของโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่านายจ้างเลิกจ้าง กับนำหนังสือแจ้งการเลิกจ้างเอกสารหมาย ล. 2 มาให้โจทก์ดู ซึ่งจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างลงมาด้วยตนเอง และจำเลยที่ 2 สั่งการในหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 ว่า ยังไม่สมควรเลิกจ้าง แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ทราบ หนังสือเอกสารหมาย ล. 2 เป็นหนังสือที่ ว. มีถึง พ. เพื่อขอเลิกจ้างโจทก์ และ พ. บันทึกความเห็นว่า สมควรเลิกจ้างโจทก์เสนอต่อจำเลยที่ 2 มิใช่หนังสือที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างแจ้งไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป จึงมิใช่หนังสือเลิกจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ย่อมเป็นที่เข้าใจแก่คนทั่วไปว่า จำเลยทั้งสองผู้เป็นนายจ้างมีความประสงค์ที่จะเลิกจ้างโจทก์นั้น ก็ขัดกับข้อความที่จำเลยที่ 2 บันทึกไว้ในเอกสารหมาย ล. 2 ว่า ไม่ควรเลิกจ้าง ให้เรียกมาตกลงกันใหม่โดยทำหนังสือเป็นข้อตกลง ส่วนการที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและผู้บังคับบัญชาของโจทก์นำหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์นั้นก็ไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างเนื่องจากบุคคลดังกล่าวไม่มีอำนาจเลิกจ้างและหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 ก็มิใช่หนังสือเลิกจ้าง ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่า จำเลยที่ 2 เชิดเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือ พ. ให้เป็นตัวแทนและมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้เลิกจ้างโจทก์ จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างลูกจ้างรายวัน: สิทธิเมื่อไม่ได้ทำงาน แม้สัญญายังไม่สิ้นสุด
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงานแม้ว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่สิ้นสุด แต่โจทก์ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่ทำงาน แม้สัญญาจ้างยังไม่สิ้นสุด หากไม่ได้ทำงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันมีสิทธิได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่มาทำงาน แม้ว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่สิ้นสุด แต่โจทก์ ก็มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์