พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลเหนือข้อบังคับใหม่ หากลูกจ้างไม่ยินยอมแก้ไข และเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการพิเศษที่ต่างจากค่าชดเชย
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จำเลยประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จำเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยมีบทเฉพาะกาลว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จำเลยจ่ายสมทบให้พร้อมผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคำนวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อรวมกับค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบำเหน็จที่ได้กำหนดไว้ในประกาศเดิม จำเลยจะจ่ายเพิ่มให้ในส่วนที่ขาดอยู่เพื่อให้ได้รับเท่ากับอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับเดิมข้อบังคับดังกล่าวจึงขัดแย้งกับประกาศฉบับเดิม และมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบำเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษ อันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง จึงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อประกาศมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย จึงไม่อาจถือเอาได้ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้วนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จไว้ด้วย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษ อันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง จึงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อประกาศมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย จึงไม่อาจถือเอาได้ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้วนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลผูกพัน แม้มีข้อบังคับใหม่ขัดแย้ง หากลูกจ้างไม่ยินยอม
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลผูกพันให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่นายจ้างประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมานายจ้างจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขึ้นใหม่โดยมีบทเฉพาะกาลขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมและมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องการให้เงินบำเหน็จให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดโดยมีหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษแก่ลูกจ้างที่ได้ปฏิบัติงานให้นายจ้างด้วยดีตลอดมาโดยไม่มีความผิดอันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง วัตถุประสงค์และหลักการของการจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จจึงแตกต่างกัน เมื่อประกาศการให้เงินบำเหน็จมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า เงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในกรณีที่ค่าชดเชยมีจำนวนมากกว่าเงินบำเหน็จจึงไม่อาจถือได้ว่าเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากจำเลยตามประกาศการให้เงินบำเหน็จแล้วได้
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดโดยมีหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษแก่ลูกจ้างที่ได้ปฏิบัติงานให้นายจ้างด้วยดีตลอดมาโดยไม่มีความผิดอันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง วัตถุประสงค์และหลักการของการจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จจึงแตกต่างกัน เมื่อประกาศการให้เงินบำเหน็จมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า เงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในกรณีที่ค่าชดเชยมีจำนวนมากกว่าเงินบำเหน็จจึงไม่อาจถือได้ว่าเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากจำเลยตามประกาศการให้เงินบำเหน็จแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเป็นลูกจ้างต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงหลายด้านประกอบกัน
การวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงหลายอย่างประกอบกัน เช่น ใครเป็นผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องพิจารณาว่าผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานนั้น เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือไม่ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้นทำในนามนิติบุคคลหรือในฐานะส่วนตัว งานที่ทำนั้นเป็นของใคร การทำงานของโจทก์มีอิสระหรือต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร ใครเป็นผู้จ่ายเงินแก่โจทก์ อะไรบ้าง จำนวนแน่นอนหรือไม่ กำหนดจ่ายเมื่อใด และจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานหรือเพื่อตอบแทนผลสำเร็จของงาน
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นลูกจ้าง: พิจารณาปัจจัยหลายด้านเพื่อวินิจฉัยสัญญาจ้างแรงงาน
การวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงหลายอย่างประกอบกัน เช่น ใครเป็นผู้ตกลง รับโจทก์เข้าทำงานในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องพิจารณาว่าผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานนั้น เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือไม่ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้นทำในนามนิติบุคคลหรือในฐานะส่วนตัว งานที่ทำนั้นเป็นของใคร การทำงานของโจทก์มีอิสระหรือต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร ใครเป็นผู้จ่ายเงินแก่โจทก์ อะไรบ้าง จำนวนแน่นอนหรือไม่กำหนดจ่ายเมื่อใด และจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานหรือเพื่อตอบแทนผลสำเร็จของงาน
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและค่าล่วงเวลาหลังการเลิกจ้าง: ผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยการสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากโจทก์อีก หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966-6971/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: เงินจากโครงการเกษียณอายุถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย หากรวมแล้วสูงกว่าตามกฎหมาย นายจ้างไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า ถ้าผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับตามโครงการเกษียณอายุก่อนเวลาปกติน้อยกว่าค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานกรณีการเลิกจ้างตามปกติ บริษัทจะจ่ายเงินส่วนที่ขาดอยู่นั้นให้ และจำนวนเงินทั้งหมดที่ลูกจ้างได้รับจากโครงการเกษียณอายุก่อนเวลาปกติให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจ่าย ค่าชดเชยการเลิกจ้างนั้นด้วย ดังนั้น เงินผลประโยชน์ตามโครงการดังกล่าวที่จำเลยจ่ายไปจึงมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว เงินผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจึงมี ค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว และเงินผลประโยชน์ดังกล่าวก็มีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6689/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ลูกจ้างโดยไม่มีรถยนต์ให้ ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
ตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนเดือนละ 65,000 บาทและเงินผลตอบแทนอีกเดือนละ 15,000 บาท ให้แก่โจทก์ โดยจำเลยไม่จัดรถยนต์และค่าใช้จ่ายใดทางด้านรถยนต์ให้โจทก์ แต่เงินผลตอบแทนดังกล่าวต้องนำรวมเข้าเสมือนเป็นรายได้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์อีกเดือนละ 15,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของโจทก์ในอัตราที่แน่นอนเท่ากันทุกเดือนทำนองเดียวกับเงินเดือน จึงเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6689/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินผลตอบแทนที่จ่ายให้ลูกจ้างควรรวมเป็นค่าจ้าง หากเป็นค่าตอบแทนการทำงานปกติ
ตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนเดือนละ65,000 บาท และเงินผลตอบแทนอีกเดือนละ 15,000 บาท ให้แก่โจทก์โดยจำเลยไม่จัดรถยนต์และค่าใช้จ่ายใดทางด้านรถยนต์ให้โจทก์ แต่เงินผลตอบแทนดังกล่าวต้องนำรวมเข้าเสมือนเป็นรายได้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์อีกเดือนละ 15,000 บาท จึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของโจทก์ในอัตราที่แน่นอนเท่ากันทุกเดือน ทำนองเดียวกับเงินเดือน เงินผลตอบแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์ดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าจ้างโดยบุคคลที่สาม ไม่สร้างความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง หากไม่มีอำนาจบังคับบัญชา
บริษัท ด. เป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ทำหน้าที่ลูกค้ามาพักที่โรงแรม ท. การสมัครงานและการทำงานของโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลย และจำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาในการทำงานของโจทก์ ทั้งงานที่โจทก์รับจ้างบริษัท ด. ทำในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดซึ่งมีหน้าที่หาลูกค้ามาพักที่โรงแรม ท. ก็ไม่ใช่งานของจำเลย เพราะจำเลยประกอบกิจการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ประกอบกับโจทก์เคยฟ้องบริษัทด.เป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวในตำแหน่งเดียวกันกับในคดีนี้ขอให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าชดเชยแก่โจทก์คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยตามสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ แม้จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างบางส่วนและออกใบรับเงินในนามจำเลยให้แก่โจทก์ตามคำขอของบริษัทด.ก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นนายจ้างของโจทก์ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การจ่ายค่าจ้างตามคำขอของบริษัทอื่น ไม่ทำให้เกิดความสัมพันธ์โดยตรง
บริษัท ด.เป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ทำหน้าที่หาลูกค้ามาพักที่โรงแรม ท. การสมัครงานและการทำงานของโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลย และจำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาในการทำงานของโจทก์ ทั้งงานที่โจทก์รับจ้างบริษัท ด.ทำในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ซึ่งมีหน้าที่หาลูกค้ามาพักที่โรงแรม ท.ก็ไม่ใช่งานของจำเลย เพราะจำเลยประกอบกิจการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ประกอบกับโจทก์เคยฟ้องบริษัท ด.เป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวในตำแหน่งเดียวกันกับในคดีนี้ขอให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าชดเชยแก่โจทก์คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยตามสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ แม้จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างบางส่วนและออกใบรับเงินในนามจำเลยให้แก่โจทก์ตามคำขอของบริษัท ด.ก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นนายจ้างของโจทก์ไปได้