พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7896-8256/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้รับเหมาชั้นต้นและการร่วมรับผิดในค่าชดเชยกรณีการผลิตตามคำสั่ง
การที่บริษัท น. กำหนดรายชื่อผู้ขายวัตถุดิบและรายชื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่โรงงานของจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและรูปแบบการผลิตรองเท้าของจำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่บริษัท น. สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการผลิตรองเท้าตั้งแต่กำหนดตัวผู้จำหน่ายวัตถุดิบ กำหนดตัวผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จำเลยที่ 2 ไม่มีอิสระในการเลือกซื้อวัตถุดิบและเลือกจ้างผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จนถึงในกรณีการผลิตไม่ได้คุณภาพหรือรูปแบบตามความประสงค์ของบริษัท น. เจ้าหน้าที่ของบริษัท น. ที่ประจำอยู่ที่โรงงานก็แจ้งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขในส่วนโรงงานผลิตได้อีกด้วย ดังนั้นทุกขั้นตอนการผลิตของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในการควบคุมของบริษัท น. ทั้งนี้ก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 ผลิตรองเท้าที่มีคุณภาพวัตถุดิบและคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญที่จำเลยที่ 2 ต้องทำให้สำเร็จประโยชน์ของบริษัท น. สัญญาระหว่างจำเลยที่ 2 กับบริษัท น. จึงไม่ใช่สัญญาอันมีวัตถุประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรองเท้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ตกลงรับผลิตรองเท้าจนสำเร็จประโยชน์ในการให้คุณภาพของรองเท้าที่จำเลยที่ 2 ผลิตมีมาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นของบริษัท น. ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างผลิตรองเท้าตามความหมายของคำว่า "ผู้รับเหมาชั้นต้น" ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง แม้มีการมอบหมายงานให้บริษัทอื่น แต่จำเลยยังคงมีอำนาจบังคับบัญชาและจ่ายค่าจ้าง
จำเลยมีวัตถุประสงค์หลักคือประกอบกิจการออกแบบและเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างท่อก๊าซ จำเลยรับจ้างเป็นวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบในโครงการท่อส่งก๊าซให้บริษัท ว. จำเลยจ้างโจทก์เป็นวิศวกรและส่งโจทก์ไปทำงานในโครงการดังกล่าวของบริษัท ว. จำเลยเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนในการทำงานที่โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ให้โจทก์ตลอดมา อันเป็นการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติของโจทก์จึงเป็นค่าจ้าง การที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและการบังคับบัญชาของบริษัท ว. นั้น เป็นกรณีที่จำเลยมอบอำนาจบังคับบัญชาบางส่วนของตนไปให้บริษัท ว. ใช้แทนจำเลยในระหว่างที่โจทก์ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับบริษัท ว. เมื่องานออกแบบเสร็จสิ้นลง บริษัท ว. มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าการปฏิบัติงานของโจทก์สิ้นสุดลง เป็นกรณีที่บริษัท ว. แจ้งส่งตัวโจทก์คืนให้จำเลย แสดงว่าอำนาจในการเลิกจ้างโจทก์ยังคงอยู่ที่จำเลย หาได้ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน: การมอบอำนาจบังคับบัญชา ไม่ทำให้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์ทำงานเป็นวิศวกรซึ่งเป็นงานตามวัตถุประสงค์หลักของจำเลย คือ ประกอบกิจการออกแบบและเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างท่อก๊าซ โดยจำเลยรับจ้างเป็นวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบในโครงการท่อส่งก๊าซมาบตาพุดให้แก่บริษัท ว. และจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ในโครงการดังกล่าว โดยจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้ เมื่องานออกแบบเสร็จสิ้นบริษัท ว. แจ้งส่งตัวโจทก์คืนให้จำเลย ดังนั้น แม้ในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้บริษัท ว. โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและการบังคับบัญชาของบริษัท ว. แต่เป็นกรณีที่จำเลยมอบอำนาจบังคับบัญชาบางส่วนของตนให้บริษัท ว. ใช้แทนจำเลยในระหว่างที่โจทก์ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลย เพื่อให้งานลุล่วงไปตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับบริษัท ว. หาได้ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์แต่อย่างใดไม่ และแม้จำเลยยื่นแบบรายการหักภาษี ณ ที่จ่ายของโจทก์ในฐานะผู้มีรายได้อิสระก็ไม่ทำให้นิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้างนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631-3667/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเที่ยวพนักงานขับรถบรรทุก: ไม่ใช่ค่าล่วงเวลา แต่เป็นค่าจ้างตามผลงานในเวลาทำงานปกติ
โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ดเป็นพนักงานขับรถยนต์บรรทุกสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลย ทำหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกไปส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยได้รับเงินเดือนและค่าเที่ยวอีกส่วนหนึ่ง เมื่อจำเลยกำหนดค่าเที่ยวให้โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ดตามระยะทางเป็นสำคัญโดยไม่ได้คำนึงถึงระยะเวลาในการขับรถ แสดงว่าค่าเที่ยวไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนการขับรถในส่วนที่เกินเวลาทำงานปกติ แต่มีลักษณะเป็นการตอบแทนการเดินทางไปปฏิบัติงานในเวลาทำงานปกติ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยตกลงให้จ่ายค่าเที่ยวเป็นการตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ เงินค่าเที่ยวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (8) (กฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุ) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ข้อ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631-3667/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเที่ยวรถบรรทุกเป็นค่าจ้างตามปกติ ไม่ใช่ค่าล่วงเวลา แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลา
โจทก์ทำงานขับรถบรรทุกสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยทั่วประเทศ จึงเป็นลูกจ้างในงานขนส่งทางบกได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนและค่าเที่ยวตามระยะทางใกล้ไกล คำนวณได้ตามระยะทางและจำนวนเที่ยวที่ทำได้โดยไม่ได้คำนึงถึงระยะเวลาในการขับรถ ค่าเที่ยวดังกล่าวจึงไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนการขับรถในส่วนที่เกินเวลาทำงานปกติ แต่มีลักษณะเป็นการตอบแทนการเดินทางไปปฏิบัติงานในเวลาทำงานปกติ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงให้จ่ายค่าเที่ยวเป็นการตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ ค่าเที่ยวนั้นจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5
แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในงานขนส่งทางบกจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 65 (5) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12ฯ แต่จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติจากวันละ 8 ชั่วโมงให้แก่โจทก์ โดยถือเกณฑ์คำนวณค่าจ้างเฉลี่ยเงินค่าเที่ยวรวมกับเงินเดือนได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละหรือชั่วโมงละเท่าใด แล้วนำค่าจ้างเฉลี่ยเป็นรายชั่วโมงนั้นมาคำนวณค่าตอบแทนสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติต่อไป
แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในงานขนส่งทางบกจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 65 (5) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12ฯ แต่จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติจากวันละ 8 ชั่วโมงให้แก่โจทก์ โดยถือเกณฑ์คำนวณค่าจ้างเฉลี่ยเงินค่าเที่ยวรวมกับเงินเดือนได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละหรือชั่วโมงละเท่าใด แล้วนำค่าจ้างเฉลี่ยเป็นรายชั่วโมงนั้นมาคำนวณค่าตอบแทนสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923-8927/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และความเป็นนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 จำเลยจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ก. ลูกหนี้ผู้เป็นนิติบุคคล การที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างจากกองทรัพย์สินของบริษัท ก. ลูกหนี้ โจทก์ทั้งห้าจึงเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. ลูกหนี้โดยมีจำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ทั้งห้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 โจทก์ทั้งห้าไม่ใช่ลูกจ้างของกรมบังคับคดีอันเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งห้ามีหนังสือขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้างในวันลาป่วย พร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม หรือเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมเจ้าหนี้ การที่จำเลยทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นว่าไม่จำเป็นให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาโดยอ้างเหตุว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของทางราชการไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จนได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชานั้น เป็นเพียงความเห็นของจำเลยในปัญหาว่าจำเป็นต้องนำเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ ไม่ใช่จำเลยกระทำหรือวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งห้าไม่ได้รับค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าว ไม่ทำให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหาย โจทก์ทั้งห้าจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้ส่วนปัญหาว่า จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งห้าตามฟ้องหรือไม่ นั้นจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าทำงานที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ อันเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ประกอบข้อเท็จจริง แต่ศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยมา ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาคดีใหม่
โจทก์ทั้งห้ามีหนังสือขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้างในวันลาป่วย พร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม หรือเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมเจ้าหนี้ การที่จำเลยทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นว่าไม่จำเป็นให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาโดยอ้างเหตุว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของทางราชการไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จนได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชานั้น เป็นเพียงความเห็นของจำเลยในปัญหาว่าจำเป็นต้องนำเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ ไม่ใช่จำเลยกระทำหรือวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งห้าไม่ได้รับค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าว ไม่ทำให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหาย โจทก์ทั้งห้าจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้ส่วนปัญหาว่า จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งห้าตามฟ้องหรือไม่ นั้นจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าทำงานที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ อันเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ประกอบข้อเท็จจริง แต่ศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยมา ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923-8927/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างในคดีล้มละลาย: อำนาจฟ้องและสิทธิการเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เมื่อศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัท ก. ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ก. และค่าจ้างของโจทก์ก็จ่ายจากกองทรัพย์สินของบริษัท ก. โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. โดยมีจำเลยเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยจึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของกรมบังคับคดีอันเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ
และเมื่อโจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย และค่าตอบแทนอื่น ๆ หรือเสนอเรื่องที่โจทก์ขอเข้าพิจารณาในที่ประชุมเจ้าหนี้ การที่จำเลยทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาว่า ไม่จำเป็นต้องให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณา โดยอ้างเหตุว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อประโยชน์ราชการไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ นั้น เป็นเพียงความเห็นของจำเลยในปัญหาว่าจำเป็นต้องเสนอเรื่องเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ แม้ต่อมาผู้อำนวยการกองบังคับคดีล้มละลาย 1 ให้งดเสนอที่ประชุมเจ้าหนี้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จำเลยกระทำหรือวินิจฉัยให้โจทก์ไม่ได้รับค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าว ไม่ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 146 และโจทก์สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้
และเมื่อโจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย และค่าตอบแทนอื่น ๆ หรือเสนอเรื่องที่โจทก์ขอเข้าพิจารณาในที่ประชุมเจ้าหนี้ การที่จำเลยทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาว่า ไม่จำเป็นต้องให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณา โดยอ้างเหตุว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อประโยชน์ราชการไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ นั้น เป็นเพียงความเห็นของจำเลยในปัญหาว่าจำเป็นต้องเสนอเรื่องเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ แม้ต่อมาผู้อำนวยการกองบังคับคดีล้มละลาย 1 ให้งดเสนอที่ประชุมเจ้าหนี้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จำเลยกระทำหรือวินิจฉัยให้โจทก์ไม่ได้รับค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าว ไม่ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 146 และโจทก์สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างตัวแทน: การผูกพันนายจ้างจากตัวแทนในการจ้างงานและค่าจ้าง
จำเลยมอบหมายให้ ว. ดูแลงานด้านการตลาดของบริษัทจำเลย และรู้เห็นในการทำงานของ ว. จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยได้เชิด ว. ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างโจทก์ทำงานกับจำเลย การที่ ว. รับโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยโดยจ่ายค่าจ้างให้และจำเลยได้รับประโยชน์จากการทำงานของโจทก์มาโดยตลอดนั้น จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่า ว. เป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 จำเลยจึงเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 โดยเป็นผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้โดยมี ว. กระทำการเป็นตัวแทนของจำเลยดำเนินการแทน ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 หรือมาตรา 5 (3) จำเลยก็เป็นนายจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7717/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและค่าชดเชย เมื่อสัญญาเดิมหมดอายุแล้วยังคงจ้างงานต่อ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสาม สัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต้องเป็นไปตามมาตรา 118 วรรคสี่ โดยต้องเป็นสัญญาจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานจะต้องแล้วเสร็จในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินที่จำเลยให้โจทก์ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลา 12 เดือน ตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนระหว่างวันที่ 14 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2544 แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวันที่ 13 เมษายน 2544 แล้วจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงต้องถือว่าได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 581 กลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้ ดังนั้นเมื่อจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินที่จำเลยให้โจทก์ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลา 12 เดือน ตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนระหว่างวันที่ 14 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2544 แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวันที่ 13 เมษายน 2544 แล้วจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงต้องถือว่าได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 581 กลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้ ดังนั้นเมื่อจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7699/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน vs. สัญญาจ้างทำของ: การพิจารณาจากลักษณะการควบคุมการทำงานและค่าตอบแทน
โจทก์มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ จ. ปฏิบัติตาม มีวันเวลาทำงานวันใด วันหยุดวันใด หากไม่อาจมาทำงานได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร หากไม่ปฏิบัติตามนั้นจะมีผลอย่างไร ซึ่งเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานของ จ. โดยแท้ หาใช่ จ. ทำงานได้โดยอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้นไม่ และในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าบริการแก่ จ. เป็นรายเดือนตอบแทนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ จ. ทำงานให้โจทก์ โดยกำหนดค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด หาใช่โจทก์จ่ายสินจ้างให้ จ. เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำอันจะเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ นอกจากนี้ ในหัวข้อสุดท้ายของสัญญาดังกล่าวที่เป็นหมายเหตุยังกำหนดว่านอกเหนือจากหน้าที่ขับรถตามสัญญาแล้ว ยังมีกรณีที่ จ. ต้องทำงานอื่นตามที่โจทก์มอบหมายอีกด้วย จะเห็นได้ว่าค่าตอบแทนในการทำงานจึงมิใช่เพียงเพื่อผลสำเร็จของการงานที่ทำคือขับรถเท่านั้น แต่เป็นค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ไม่ว่าเป็นงานหน้าที่ใดโดยกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน ดังนั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับ จ. จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่สัญญาจ้างทำของดังที่โจทก์อุทธรณ์