พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหารและค่าบริการของพนักงานไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน และไม่นำมาคำนวณค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจัดอาหารและหอพักให้พนักงานอาศัยเป็นสวัสดิการโดยคำนวณเป็นค่าอาหารและค่าหอพักเพื่อถือเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษี จึงเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างเท่านั้นมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากแขกผู้มาใช้บริการร้อยละสิบแล้วนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบของค่าบริการทั้งหมดในปี 2540 จนถึงร้อยละเก้าสิบของค่าบริการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาส่วนที่เหลืออีกร้อยละสิบนั้นจำเลยหักไว้เพื่อเป็นต้นทุนของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่แตกหักชำรุดเสียหายในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราวจำเลยจะนำเงินค่าบริการมาแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่าๆ กัน ดังนั้น การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ การที่จำเลยเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้าและเป็นผู้จัดแบ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นกรณีที่จำเลยทำแทนลูกจ้างเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ค่าบริการจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากแขกผู้มาใช้บริการร้อยละสิบแล้วนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบของค่าบริการทั้งหมดในปี 2540 จนถึงร้อยละเก้าสิบของค่าบริการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาส่วนที่เหลืออีกร้อยละสิบนั้นจำเลยหักไว้เพื่อเป็นต้นทุนของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่แตกหักชำรุดเสียหายในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราวจำเลยจะนำเงินค่าบริการมาแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่าๆ กัน ดังนั้น การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ การที่จำเลยเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้าและเป็นผู้จัดแบ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นกรณีที่จำเลยทำแทนลูกจ้างเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ค่าบริการจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8785/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัท ไม่ใช่ลูกจ้าง แม้ได้รับเงินเดือน
โจทก์เป็นหนึ่งในผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำเลยและเป็นผู้ถือหุ้นมาตั้งแต่เริ่มบริษัทจำนวน 16,000 หุ้น เป็นอันดับสามจากผู้ถือหุ้น 8 คน แต่ในปี 2544 ถือหุ้นจำนวน 40,000 หุ้น เป็นอันดับหนึ่ง และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมและประทับตราสำคัญของบริษัทตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2536 ซึ่งเป็นวันเริ่มตั้งบริษัทจนถึงวันที่ 22 มกราคม 2546 ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2546 โจทก์ได้โอนหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ ก. โจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทจนถึงเดือนมกราคม 2546 การบริหารงานของโจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการทำงาน จะมาทำงานในเวลาใดก็ได้ไม่ต้องบันทึกเวลาทำงาน โจทก์จึงมิใช่พนักงานที่ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่โจทก์ได้รับเงินเดือนจากจำเลยจึงมิใช่ได้รับในฐานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ส่วนการที่โจทก์บริหารงานภายใต้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นนั้นก็เป็นเพียงวิธีการครอบงำบริษัทจำกัดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1144 เท่านั้น หาได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยอันมีลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่ารถยนต์สำหรับผู้บริหาร ไม่ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำไปคำนวณค่าชดเชย
จำเลยเคยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้แก่โจทก์ซึ่งทำงานในตำแหน่งผู้จัดการภาคใต้ ต่อมาจำเลยยกเลิกรถยนต์ประจำตำแหน่งของโจทก์เนื่องจากมีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ตามนโยบายของจำเลย แล้วจำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 20,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2545 อันเป็นวันหลังจากที่เรียกรถยนต์ประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์เป็นต้นไป เพื่อให้โจทก์นำเงินดังกล่าวไปซื้อหรือเช่ารถยนต์สำหรับใช้งานแทนรถยนต์ประจำตำแหน่งที่เรียกคืน และจำเลยจะจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้พนักงานตำแหน่งระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้น รถยนต์ประจำตำแหน่งจึงเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่พนักงานที่ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยเรียกรถยนต์ประจำตำแหน่งคืนแล้วจ่ายเงินเดือนละ 20,000 บาท ให้แก่โจทก์เพื่อซื้อหรือเช่ารถยนต์สำหรับใช้งานแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการเช่นเดียวกัน มิใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายเดือน แม้จะจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวนแน่นอนเท่าๆ กันทุกเดือน ก็มิใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำไปรวมคำนวณจ่ายเป็นค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: การคำนวณค่าจ้างจากค่าเที่ยว และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเนื่องจาก ส. ประสบอุบัติเหตุตกจากรถและแขนขวาได้รับบาดเจ็บ ส. จึงไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเพราะได้รับค่าเที่ยวน้อยลง และ ส. แสดงใบรับรองแพทย์ภายหลังโจทก์เลิกจ้าง ส. แล้ว ส. จึงมีเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง ผู้รับจ้างขนส่งน้ำมัน การจ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย
การทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันให้จำเลยแม้จะไม่ได้กำหนดเวลาทำงานไว้แต่ก็กำหนดโดยใช้ผลงานเป็นเกณฑ์ ซึ่งการจะทำผลงานให้ได้ตามเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 45 เที่ยว โจทก์จะต้องมาทำงานภายในช่วงเวลาทำงานที่จำเลยกำหนดไว้นั่นเอง มิได้มีอิสระที่จะปฏิบัติงานในเวลาใดหรือไม่ก็ได้ สินจ้างที่โจทก์ได้รับเป็นรายเที่ยวก็เป็นผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 60 โจทก์จึงเป็นลูกจ้างจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 และตามสัญญาจ้างแรงงาน และแม้ว่าตามสัญญาขนส่งน้ำมันจะเรียกโจทก์ว่า "ผู้รับจ้าง" และเรียกจำเลยว่า "ผู้ว่าจ้าง" ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้รับจ้างขนส่งเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ ศาลฎีกาตัดสินว่าเข้าข่ายสัญญาจ้างแรงงาน
การจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างกันหรือไม่นั้น นอกจากจะพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 และ ป.พ.พ. มาตรา 575 แล้วยังต้องปรากฏด้วยว่าลูกจ้างได้ปฏิบัติงานภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นอำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 อีกด้วย คดีนี้นอกจากศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับผู้รับจ้างขนส่งเข้าทำงานทำหน้าที่ขนส่งน้ำมันจากคลังน้ำมันโรงกลั่นน้ำมันบริษัท บ. หรือตามที่โจทก์กำหนดให้ขนส่งไปยังผู้รับหรือสถานที่อื่นใดตามที่โจทก์จะแจ้งให้ผู้รับจ้างขนส่งทราบเป็นคราวๆ ไป การจ่ายค่าตอบแทนทั้งสองฝ่ายตกลงกำหนดอัตราค่าจ้างเป็นรายเที่ยวตามสัญญาขนส่งน้ำมัน การเข้าปฏิบัติงานหากผู้รับจ้างขนส่งไม่สามารถมาทำงานได้ให้แจ้งฝ่ายโจทก์เพื่อที่โจทก์จะได้จัดหาบุคคลอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วยังปรากฏข้อเท็จจริงที่ยุติในชั้นพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางอีกว่า เมื่อมีบุคคลมาสมัครเพื่อเป็นผู้รับจ้างขนส่ง โจทก์จะให้บุคคลดังกล่าวเขียนใบสมัคร และโจทก์จะตรวจสอบประสบการณ์คุณสมบัติของผู้สมัคร แล้วจะให้ส่วนคลังและขนส่ง บริษัท บ. ทดสอบการขับรถเพื่อออกใบอนุญาตให้ จากนั้นจึงจะทำสัญญาขนส่งน้ำมัน การทำงานของผู้รับจ้างขนส่งจะต้องปฏิบัติตามระเรียบปฏิบัติการใช้บริการศูนย์จ่ายน้ำมันและการจัดส่งน้ำมันเวลาปฏิบัติงานในแต่ละวันจะเริ่มตั้งแต่เวลา 18.30 นาฬิกา เมื่อผู้รับจ้างขนส่งมาที่ส่วนคลังและขนส่งบริษัท บ. แล้ว จะจับสลากเพื่อรับงานตามใบสั่งงานที่บริษัท บ. ออกให้แก่โจทก์ โดยผู้รับจ้างขนส่งจะได้รับค่าขนส่งต่อเที่ยวไม่เท่ากัน แต่จะได้รับไม่ต่ำกว่าเที่ยวละ 250 บาท โจทก์ได้คัดลอกข้อความบางส่วนจากระเบียบปฏิบัติการใช้บริการศูนย์จ่ายน้ำมันและการจัดส่งน้ำมันมาจัดทำเป็นข้อกำหนดสัญญาจ้างผู้รับเหมาเพื่อใช้บังคับแก่ผู้รับจ้างขนส่ง และเคยจัดทำประกาศบริษัท จ. เรื่องระเบียบปฏิบัติและบทลงโทษสำหรับผู้บริการจัดส่ง ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการทำงานของผู้รับจ้างขนส่งจะต้องเริ่มจากการเขียนใบสมัครเข้าทำงานกับโจทก์ก่อน แล้วจึงจะทดสอบการขับรถ จากนั้นจึงทำสัญญาขนส่งน้ำมันซึ่งตามสัญญาขนส่งน้ำมันแม้จะเรียกคู่สัญญาว่า "ผู้ว่าจ้าง" กับ "ผู้รับจ้าง" แต่ตามสัญญาข้อ 1.2 ระบุว่า "ผู้รับจ้างยินยอมจะปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบในการปฏิบัติอันเกี่ยวกับการขับรถขนส่งน้ำมันตามสัญญานี้ หรือที่จะได้กำหนดเพิ่มเติมต่อไปภายหน้า เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามที่ผู้ว่าจ้างได้กำหนดไว้" และตามข้อ 3.4 ก็ระบุไว้ทำนองเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้รับจ้างขนส่งจะต้องปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่โจทก์กำหนดไว้แล้ว และที่จะได้กำหนดเพิ่มเติมหลังจากการทำสัญญา และเมื่อโจทก์กำหนดให้ผู้รับจ้างขนส่งปฏิบัติตามระเบียบการใช้บริการศูนย์จ่ายน้ำมันและการจัดส่งน้ำมัน ทั้งยังคัดลอกข้อความบางส่วนมาจัดทำเป็นข้อกำหนดสัญญาจ้างผู้รับเหมา จึงเป็นกรณีที่โจทก์นำระเบียบปฏิบัติของส่วนคลังและขนส่ง บริษัท บ. มาใช้บังคับแก่ผู้รับจ้างขนส่งในลักษณะเดียวกันเป็นระเบียบปฏิบัติของโจทก์ ซึ่งตามระเบียบปฏิบัติการใช้บริการศูนย์จ่ายน้ำมันและการจัดส่งน้ำมัน นอกจากจะระบุถึงระเบียบปฏิบัติภายในพื้นที่ศูนย์จ่ายน้ำมัน ในระหว่างการขนส่งน้ำมันไปยังลูกค้า ณ สถานที่ของลูกค้า การลงน้ำมันโดยทั่วไปแล้ว ยังระบุถึงความประพฤติส่วนตัวที่ต้องห้ามแสดงกิริยา มารยาทหรือวาจาไม่สุภาพ ห้ามเล่นการพนันภายในพื้นที่ และห้ามก่อการทะเลาะวิวาททำร้ายหรือพยายามทำร้ายผู้อื่นอีกด้วย ซึ่งตามข้อกำหนดสัญญาจ้างผู้รับเหมาระบุบทลงโทษไว้ตั้งแต่การแจ้งตัวแทนผู้รับเหมาเพื่องดให้งาน 3 วัน ไปจนถึงส่งตัวบุคคลนั้นคืนบริษัทต้นสังกัด และยังปรากฏว่าโจทก์เคยมีประกาศบริษัท จ. เรื่องระเบียบปฏิบัติและบทลงโทษสำหรับผู้บริการจัดส่ง ซึ่งกำหนดบทลงโทษแก่ผู้บริการจัดส่ง ตั้งแต่งดจ่ายงาน 3 วัน จนถึงเลิกสัญญาจ้าง ดังนั้น การปฏิบัติงานของผู้รับจ้างขนส่งจึงมิได้เป็นเพียงผู้รับจ้างโดยอิสระ แต่ยังคงต้องปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบปฏิบัติของโจทก์ที่กำหนดขึ้นในลักษณะเดียวกับการทำงานของลูกจ้างทั่วไป ส่วนที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าผู้รับจ้างขนส่งจะขนส่งน้ำมันตามคำสั่งที่โจทก์ได้กำหนด อัตราค่าจ้างจะขึ้นอยู่กับการทำงานแต่ละครั้งหากไม่มาทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้าง กำหนดวันทำงานไม่แน่นอน การหยุดงานวันใดเพียงแต่แจ้งให้ผู้ที่รับผิดชอบของโจทก์ทราบ ไม่ต้องได้รับคำสั่งอนุมัติให้หยุดงานหรือไม่ก่อนนั้น ก็ปรากฏตามสัญญาขนส่งน้ำมัน ข้อ 5.3 วรรคสอง ซึ่งระบุว่าผู้รับจ้างจะต้องประกันผลงานจำนวนเที่ยววิ่งขนส่งน้ำมันไม่ต่ำกว่าเดือนละ 45 เที่ยว หากผู้รับจ้างไม่สามารถปฏิบัติได้ตามจำนวนเที่ยวที่ระบุไว้โดยไม่มีเหตุอันควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา อีกทั้งโจทก์ยังได้จัดทำสมุดแจ้งการหยุดงานเพื่อบันทึกการลาหยุดงานของผู้รับจ้างขนส่ง ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของชื่อผู้หยุดงาน วันที่หยุด โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของผู้รับจ้างขนส่งดังกล่าวตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6021/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ต่อเนื่องจากสัญญาจ้างงานเดิม แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มิได้บัญญัติไว้โดยตรง
จำเลยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียมีสำนักงานที่กำกับดูแลจำเลยคือ บริษัท จ. (สิงค์โปร์) โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างบริษัท จ. (ออสเตรเลีย) และโอนย้ายไปเป็นลูกจ้างบริษัท จ. (มาเลเซีย) โดยให้โจทก์มีสิทธินับเวลาทำงานติดต่อกันได้ และให้โจทก์คงได้รับสิทธิหยุดพักผ่อนในกรณีทำงานมานานตามที่เคยได้รับต่อไป ต่อมาโจทก์โอนย้ายไปเป็นลูกจ้างจำเลย และได้ทำสัญญากับบริษัท จ. (สิงค์โปร์) ระบุว่าเป็นการจ้างงานโจทก์ต่อเนื่องจากที่ได้ทำงานกับบริษัท จ. (สิงค์โปร์) และโจทก์ยังคงมีสิทธิสะสมวันหยุดในกรณีที่ทำงานมานานต่อไปจากที่เคยได้รับ เมื่อข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้างในกรณีทำงานมานานไว้ก็ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝึกอบรมต่างประเทศ: ข้อตกลงผูกพันทำงานหลังฝึกอบรมไม่ถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาฝึกอบรมและดูงานต่างประเทศระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการส่งจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไปฝึกอบรมต่างประเทศและมีข้อกำหนดให้จำเลยนำวิชาความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่ได้จากการไปฝึกอบรมและดูงานต่างประเทศกลับมาใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน แม้ระยะเวลาที่ให้โจทก์ส่งจำเลยไปฝึกอบรมจะมีกำหนด 2 สัปดาห์ แต่ระยะเวลาที่ให้จำเลยกลับมาทำงานให้โจทก์มีกำหนด 3 ปี ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้เปรียบจำเลย เพราะในระหว่างที่จำเลยต้องกลับมาทำงานให้โจทก์นั้น จำเลยยังคงได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานตามปกติ มิได้ถูกตัดทอน ทั้งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวยังให้สิทธิจำเลยไม่ต้องกลับมาทำงานให้โจทก์ได้โดยจำเลยต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการไปฝึกอบรมและดูงานทั้งหมดคืนแก่โจทก์ การคำนวณจำนวนค่าใช้จ่าย หรือค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ในกรณีที่จำเลยกลับมาทำงานให้โจทก์ไม่ครบกำหนด 3 ปี โดยเอาค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและดูงานทั้งหมดหารด้วย 36 เดือน แล้วคูณด้วยจำนวนเดือนที่จำเลยยังทำงานไม่ครบ ก็สอดคล้องกับข้อตกลงที่ให้สิทธิจำเลยเลือกชดใช้ค่าใช้จ่ายในการไปฝึกอบรมและดูงานทั้งหมดคืนโจทก์ แทนการกลับมาทำงานให้โจทก์มีกำหนด 3 ปี ไม่ทำให้โจทก์ได้เปรียบจำเลยเช่นกัน จึงไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาฝึกอบรมและดูงานต่างประเทศระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9016-9043/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างเหมาช่วงงานและมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 2 จ้างบริษัท ค. ให้จัดหาคนงานหรือลูกจ้างในตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2 กำหนด เพื่อไปทำงานของจำเลยที่ 2 บนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ และงานดังกล่าวจำเลยที่ 2 รับจ้างจากบริษัท ช. ให้ดำเนินการเรื่องเรือเพื่อการผลิต การขนถ่าย และจัดเก็บปิโตรเลียมที่ผลิตได้เพื่อเตรียมจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรงโดยมอบหมายให้บริษัท ค. จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธรุกิจจัดหางาน โดยงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วยตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และต่อมาเมื่อได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้นและจำเลยที่ 1 ได้รับโอนกิจการและพนักงานของบริษัท ค. รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาของบริษัท ค. ที่มีต่อจำเลยที่ 2 มาด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบแปดให้ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 บนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดด้วย
การทำงานบนเรือมีรอบการทำงานยี่สิบแปดวันและหยุดพักไม่ต้องทำงานยี่สิบแปดวัน เงินค่าพาหนะเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 เหมาจ่ายให้เป็นค่าเดินทางจากภูมิลำเนาที่พักมายังท่าเรือจังหวัดระยองเพื่อไปขึ้นทำงานบนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จะให้ต่อเมื่อต้องเดินทางมาเพื่อขึ้นไปทำงานบนเรือเท่านั้น หากมิใช่รอบที่จะไปทำงานบนเรือก็จะไม่ได้รับเงินค่าพาหนะและโจทก์แต่ละคนได้รับไม่เท่ากัน การจ่ายค่าพาหนะดังกล่าว แม้จะจ่ายโดยเหมาจ่ายให้ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบแปดมีกำหนดเวลาทำงานติดต่อกันเป็นช่วง ช่วงละยี่สิบแปดวันที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและช่วงที่ไม่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งอีกยี่สิบแปดวันสลับกันไป เงินค่าพาหนะจะจ่ายให้เฉพาะช่วงที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและได้รับจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างสำหรับค่าเดินทางจากภูมิลำเนาไปยังท่าเรือจังหวัดระยอง มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดและมิได้ประสงค์จะจ่ายเป็นค่าจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
การทำงานบนเรือมีรอบการทำงานยี่สิบแปดวันและหยุดพักไม่ต้องทำงานยี่สิบแปดวัน เงินค่าพาหนะเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 เหมาจ่ายให้เป็นค่าเดินทางจากภูมิลำเนาที่พักมายังท่าเรือจังหวัดระยองเพื่อไปขึ้นทำงานบนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จะให้ต่อเมื่อต้องเดินทางมาเพื่อขึ้นไปทำงานบนเรือเท่านั้น หากมิใช่รอบที่จะไปทำงานบนเรือก็จะไม่ได้รับเงินค่าพาหนะและโจทก์แต่ละคนได้รับไม่เท่ากัน การจ่ายค่าพาหนะดังกล่าว แม้จะจ่ายโดยเหมาจ่ายให้ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบแปดมีกำหนดเวลาทำงานติดต่อกันเป็นช่วง ช่วงละยี่สิบแปดวันที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและช่วงที่ไม่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งอีกยี่สิบแปดวันสลับกันไป เงินค่าพาหนะจะจ่ายให้เฉพาะช่วงที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและได้รับจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างสำหรับค่าเดินทางจากภูมิลำเนาไปยังท่าเรือจังหวัดระยอง มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดและมิได้ประสงค์จะจ่ายเป็นค่าจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9015/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานล่วงเวลาต้องมีคำสั่งจากนายจ้างและได้รับความยินยอมจากลูกจ้างชัดเจน จึงจะถือเป็นชั่วโมงทำงานล่วงเวลา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ให้นิยามของ "การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่า "การทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี" และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ระบุว่า "ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการทำงานของลูกจ้างที่จะเป็นการทำงานล่วงเวลาจึงต้องเป็นกรณีที่เป็นความประสงค์ของนายจ้างที่จะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยลูกจ้างให้ความยินยอมก่อนเป็นคราวๆ ไป และจะต้องเป็นการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างตกลงกันตามมาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุด เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้สั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา แล้ววินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา จึงชอบด้วยบทบัญญัติข้างต้นแล้ว