คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร มิฉะนั้นการประเมินเป็นโมฆะ
แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการสาขาของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการย่อมต้องแยกใบกำกับภาษีและคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเลขที่ 119 โดยนำใบกำกับภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่เลขที่ 49 ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขา จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ การกระทำของโจทก์เป็นกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแก่โจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (2)
แม้คำว่า "อธิบดี" จะหมายความรวมถึงผู้ที่อธิบดีมอบหมายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 2 แต่จำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏว่าสรรพากรภาค 10 เป็นผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน 2540 จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2540 โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเลขที่ 119 คงยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่เลขที่ 49 เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเลขที่ 119 ภายในกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยไม่ต้องขออนุมัติการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (1) ประกอบมาตรา 88/6 (1) (ค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7698/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีพ้นกำหนดเวลา 2 ปี ต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดี หากไม่มีหลักฐานการมอบหมายอำนาจ การประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยรับข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่า การประเมินภาษีรายพิพาทเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินต้องกระทำภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 88/6 (1) (ก) เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ประเมินภาษีรายพิพาทภายในกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ว่า เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีรายพิพาทภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันดังกล่าวได้ โดยอนุมัติอธิบดี ตามมาตรา 88/6 วรรคสอง แห่ง ป. รัษฎากร เป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ และกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยฝ่ายเดียว ภาระการพิสูจน์ในปัญหานี้จึงตกแก่จำเลย แม้ศาลภาษีอากรกลางกำหนดให้โจทก์นำสืบพยานก่อน และโจทก์ไม่ได้สืบพยานในปัญหานี้ จำเลยก็มีหน้าที่นำสืบพยานให้รับฟังได้ว่า การประเมินภาษีรายพิพาทเจ้าพนักงานประเมินกระทำโดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว
เอกสารที่อนุมัติให้ประเมินภาษีโจทก์เกินสองปี ผู้อนุมัติมีตำแหน่งเป็นสรรพากรภาค 5 และระบุว่าผู้อนุมัติปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร แม้คำว่า "อธิบดี" จะหมายความรวมถึง ผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ตามมาตรา 2 แห่ง ป. รัษฎากร แต่จำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏว่า สรรพากรภาค 5 เป็นผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ การที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล. 1 แผ่นที่ 1 ถึง 3 ที่เป็นคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้สรรพากรภาคมีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้ พร้อมกับเอกสารอื่น มีผลแต่เพียงว่าจำเลยมีสิทธินำสืบเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้เท่านั้น หามีผลให้ศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารนั้นด้วยไม่ จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นสำเนา ทั้งไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงนามรับรองถูกต้องเป็นผู้ที่รับรองเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (3) โจทก์ก็ไม่ได้รับข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ว่า สรรพากรภาค 5 เป็นผู้ที่อธิบดีมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีรายพิพาท การประเมินของเจ้าพนักงานจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องเรียกเงินคืน รวมถึงการอุทธรณ์ภาษีการค้า
คำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 1 เดือนนั้น เป็นเพียงระเบียบภายในของจำเลยในกรณีไม่อาจจะทราบราคาแท้จริงได้ตามกฎหมาย เมื่อทางโจทก์ได้เสนอหลักฐานให้ทราบแน่ชัดแล้วจึงไม่จำต้องอาศัยระเบียบดังกล่าวมาพิจารณา ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับที่ 77(พ.ศ. 2533) ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5(4)และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สินค้าบางชนิดต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้าในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 0.5ของราคาตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และจำเลยได้ออกคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 25/2533 วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวและนำส่งกระทรวงพาณิชย์ในภายหลัง การที่จำเลยเรียกเก็บเงินนี้ก็โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยเรียกเก็บเงินโดยที่จำเลยกำหนดราคาผิดไป ฉะนั้นเมื่อจำเลยทำผิดจำเลยก็ต้องมีหน้าที่คืนแก่โจทก์ต่างกับกรณีต้องคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีเรียกไว้โดยชอบ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากจำเลยได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เพิ่มราคา และเรียกอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม โจทก์ก็ได้แก้ไขจำนวนเงินราคา ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลในใบขนสินค้าขาเข้าตามรายการสำแดงที่จำเลยขอเพิ่มแล้ว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคาซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลให้คืนเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการสมุห์บัญชีมีอำนาจตรวจสอบภาษีอากร แม้ไม่รายงานอนุมัติก่อน ย่อมใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเมื่อเรียกเงินจากผู้ไม่มีบัญชี
จำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 2 คำว่า "อำเภอ" หมายความว่านายอำเภอหรือสมุห์บัญชีอำเภอและหมายความรวมถึงผู้ทำการแทนจำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีอำเภอมีอำนาจทำการตรวจสอบภาษีอากรโดยให้รายงานขออนุมัติสรรพากรจังหวัดก่อนทำการตรวจสอบฉะนั้นจำเลยจึงมีอำนาจในการตรวจสอบภาษีอากรโดยอาศัยคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากรประกอบกับประมวลรัษฎากร การรายงานขออนุมัติเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายใน การที่จำเลยไม่รายงานขออนุมัติหาใช่ว่าจำเลยจะไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีอากรไม่ การที่จำเลยไปเรียกตรวจสอบบัญชีภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้จัดทำบัญชีไว้ จำเลยก็ขู่เข็ญข่มขืนใจเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการตำแหน่งสมุห์บัญชีมีอำนาจตรวจสอบภาษีอากร แม้ไม่รายงานอนุมัติสรรพากรจังหวัด การขู่เข็ญเรียกเงินจากผู้เสียภาษีถือเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
จำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 2 คำว่า "อำเภอ" หมายความว่านายอำเภอหรือสมุห์บัญชีอำเภอและหมายความรวมถึงผู้ทำการแทนจำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีอำเภอมีอำนาจทำการตรวจสอบภาษีอากร โดยให้รายงานขออนุมัติสรรพากรจังหวัดก่อนทำการตรวจสอบฉะนั้น จำเลยจึงมีอำนาจในการตรวจสอบภาษีอากรโดยอาศัยคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากรประกอบกับประมวลรัษฎากร การรายงานขออนุมัติเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายใน การที่จำเลยไม่รายงานขออนุมัติหาใช่ว่าจำเลยจะไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีอากรไม่ การที่จำเลยไปเรียกตรวจสอบบัญชีภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้จัดทำบัญชีไว้ จำเลยก็ขู่เข็ญข่มขืนใจเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106-2108/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีร้านค้าจากค่าเช่า ต้องมีเหตุผลแสดงว่าค่าเช่าที่ประเมินสูงกว่าค่าเช่าจริง
ผู้เสียภาษีฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัดในเรื่องประเมินภาษีและเรียกภาษีที่เก็บเกินไปคืน และข้าหลวงประจำจังหวัดคนใหม่ขอเข้าเป็นจำเลยแทน ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลย่อมรับพิจารณาคดีที่ฟ้องกันนั้น
การประเมินภาษีร้านค้าจากเงินค่าเช่านั้นเจ้าพนักงานประเมินจะต้องมีเหตุผล เป็นข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า ร้านค้านั้น ๆ สมควรให้เช่าได้ในจำนวนเงินสูงกว่าค่าเช่าจริง จะเอาค่าเช่าของร้านค้ารายหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ฉะเพาะรายมาเป็นมาตรฐานว่าค่าเช่ารายอื่นต่ำเกินสมควรนั้นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106-2108/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากค่าเช่าต้องมีเหตุผลรองรับ การอ้างอิงค่าเช่ารายอื่นเป็นมาตรฐานไม่ได้
ผู้เสียภาษีฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัดในเรื่องประเมินภาษีและเรียกภาษีที่เก็บเกินไปคืน และข้าหลวงประจำจังหวัดคนใหม่ขอเข้าเป็นจำเลยแทน ไม่มีผู้ใดคัดค้านศาลย่อมรับพิจารณาคดีที่ฟ้องกันนั้น
การประเมินภาษีร้านค้าจากเงินค่าเช่านั้นเจ้าพนักงานประเมินจะต้องมีเหตุผล เป็นข้อเท็จจริงที่จะแสดงว่า ร้านค้านั้นๆสมควรให้เช่าได้ในจำนวนเงินสูงกว่าค่าเช่าจริงจะเอาค่าเช่าของร้านค้ารายหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์เฉพาะรายมาเป็นมาตรฐานว่าค่าเช่ารายอื่นต่ำเกินสมควรนั้นไม่ได้
of 2