พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความแพ่ง ไม่กระทบสิทธิฟ้องอาญา ต้องมีการสละสิทธิชัดเจน
การประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แสดงความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยหรือไม่ จะถือว่าสิทธิดำเนินคดีอาญาของโจทก์ระงับไปด้วยหาได้ไม่ การยอมความในคดีแพ่งที่จะมีผลให้คดีอาญาระงับไปนั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของผู้ขายที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดินพร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปโจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาทดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วยจำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของเจ้าของที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดิน พร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาทจากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาท ดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441-443/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเกินส่วน-การจัดการมรดก: ผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 ทำพินัยกรรมเกินส่วนของตนในสินบริคณห์ พินัยกรรมนั้นมีผลเฉพาะส่วนของตนตามมาตรา1477
การเข้าเป็นผู้จัดการมรดกทำหลัง 1 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลไม่ได้
การเข้าเป็นผู้จัดการมรดกทำหลัง 1 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเสียจากการยินยอมแบ่งทรัพย์
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ.พฤติการณ์ที่ บ.ได้อุปการะเลี้ยงดูกับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ ถือได้ว่า บ.ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเว้นจากการยินยอมแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ. พฤติการณ์ที่ บ. ได้อุปการะเลี้ยงดู กับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ถือได้ว่า บ. ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน & การเพิกถอนเอกสารหลักฐาน - ข้อจำกัดการสืบพยาน & คำขอไม่ชัดเจน
ส.ค.1 ไม่ใช่พยานที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 94 ที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลแก้ไข
ฟ้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอให้เพิกถอนบรรดาเอกสารที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของเป็นคำขอไม่ชัดแจ้งว่าขอเพิกถอนเอกสารฉบับไหน ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
ฟ้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอให้เพิกถอนบรรดาเอกสารที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของเป็นคำขอไม่ชัดแจ้งว่าขอเพิกถอนเอกสารฉบับไหน ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับสมาคมที่ใช้พื้นที่เป็นสำนักงานและไม่ได้ประกอบการค้า
สมาคมพาณิชย์อินเดียหรือหอการค้าอินเดีย โจทก์เป็นนิติบุคคล แม้การเข้าอยู่ในโรงเรือนของนิติบุคคลไม่อาจพึงเป็นได้เช่นบุคคลธรรมดา แต่การที่โจทก์มีคณะกรรมการบริหารดำเนินกิจการแทน และโจทก์ได้ใช้โรงเรือนเป็นสำนักงานและให้คนเฝ้ารักษา ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษาตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้ใช้โรงเรือนดังกล่าวขายอาหาร เครื่องดื่ม แก่สมาชิก และมีโต๊ะบิลเลียดให้สมาชิกเล่นนั้น ก็ปรากฏว่ามีระเบียบห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปเล่น และที่ว่าโจทก์ได้ให้เช่าสนามเล่นแบดมินตันด้วย ก็ยังฟังแน่นอนไม่ได้ พฤติการณ์ดังกล่าวหาพอที่จะถือว่าโรงเรือนใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้โรงเรือนของนิติบุคคลเป็นสำนักงานและสถานที่ส่วนตัว ไม่ถือเป็นที่ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม จึงได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือน
สมาคมพาณิชย์อินเดียหรือหอการค้าอินเดีย โจทก์ เป็นนิติบุคคลแม้การเข้าอยู่ในโรงเรือนของนิติบุคคลไม่อาจพึงเป็นได้เช่นบุคคลธรรมดาแต่การที่โจทก์มีคณะกรรมการบริหารดำเนินกิจการแทน และโจทก์ได้ใช้โรงเรือนเป็นสำนักงานและให้คนเฝ้ารักษาย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษา ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ได้ใช้โรงเรือนดังกล่าวขายอาหาร เครื่องดื่ม แก่สมาชิก และมีโต๊ะบิลเลียดให้สมาชิกเล่นนั้น ก็ปรากฏว่ามีระเบียบห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปเล่น และที่ว่าโจทก์ได้ให้เช่าสนามเล่นแบดมินตันด้วย ก็ยังฟังแน่นอนไม่ได้พฤติการณ์ดังกล่าวหาพอที่จะถือว่าโรงเรือนใช้เป็นที่ไว้สินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมตามมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินถูกอายัดก่อนคำพิพากษา: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมมีสิทธิเหนือเงินอายัด แม้ศาลอายัดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากบุคคลภายนอกไว้ก่อนพิพากษาก็เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ให้ได้รับผลตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งถ้าโจทก์ชนะคดีแล้วประสงค์จะให้ได้รับผลตามคำพิพากษา โจทก์ก็จะต้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 อีกชั้นหนึ่งได้ความว่า เมื่อศาลสั่งอายัดเงินซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจาก อ. ตามที่โจทก์ขอ ได้ออกหมายอายัดชั่วคราวไปยัง อ. และแจ้งให้ส่งเงินตามหมายอายัดมายังศาลแล้วผู้ร้องชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยคนเดียวกันนี้ในคดีอีกเรื่องหนึ่ง และศาลได้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์สินจำเลยใช้หนี้ผู้ร้องเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดเงินของจำเลยไปยัง อ. ด้วยแต่ อ. ได้ส่งเงินมาไว้ในคดีนี้ ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีนี้ และออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ขอให้ศาลส่งเงินไปให้ เพื่อทำการยึดไว้ชำระหนี้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งได้ร้องขอและศาลได้ออกหมายบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์ของจำเลยและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับต่อ อ. ตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะพิพากษาและออกหมายบังคับคดีในคดีของโจทก์นี้แม้ อ. ได้ส่งเงินดังกล่าวมาไว้ในคดีนี้ ก็ต้องถือว่าเป็นการอายัดเงินของจำเลยในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ในภายหลังจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งผู้ร้องได้และกรณีที่มีการอายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษานั้น ผู้ร้องก็ไม่ต้องห้ามที่จะขออายัดทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้(อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 672/2514) ผู้ร้องจึงมีสิทธิในเงินของจำเลยในคดีนี้