คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กฤษณ์ โสภิตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินถูกอายัดก่อนคำพิพากษา: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมมีสิทธิเหนือเงินอายัด แม้ศาลอายัดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากบุคคลภายนอกไว้ก่อนพิพากษาก็เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ให้ได้รับผลตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งถ้าโจทก์ชนะคดีแล้วประสงค์จะให้ได้รับผลตามคำพิพากษา โจทก์ก็จะต้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 อีกชั้นหนึ่งได้ความว่า เมื่อศาลสั่งอายัดเงินซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจาก อ. ตามที่โจทก์ขอ ได้ออกหมายอายัดชั่วคราวไปยัง อ. และแจ้งให้ส่งเงินตามหมายอายัดมายังศาลแล้วผู้ร้องชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยคนเดียวกันนี้ในคดีอีกเรื่องหนึ่ง และศาลได้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์สินจำเลยใช้หนี้ผู้ร้องเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดเงินของจำเลยไปยัง อ. ด้วยแต่ อ. ได้ส่งเงินมาไว้ในคดีนี้ ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีนี้ และออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ขอให้ศาลส่งเงินไปให้ เพื่อทำการยึดไว้ชำระหนี้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งได้ร้องขอและศาลได้ออกหมายบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์ของจำเลยและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับต่อ อ. ตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะพิพากษาและออกหมายบังคับคดีในคดีของโจทก์นี้แม้ อ. ได้ส่งเงินดังกล่าวมาไว้ในคดีนี้ ก็ต้องถือว่าเป็นการอายัดเงินของจำเลยในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ในภายหลังจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งผู้ร้องได้และกรณีที่มีการอายัดทรัพย์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษานั้น ผู้ร้องก็ไม่ต้องห้ามที่จะขออายัดทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้(อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 672/2514) ผู้ร้องจึงมีสิทธิในเงินของจำเลยในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นฟ้องทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อปี พ.ศ.2487 บ. ได้ยกที่ดินให้ จ. ผ. และโจทก์ที่ 3 โดยให้โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเก็บกินต่อมา พ.ศ.2510 จ. ยกที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้โจทก์ที่ 2 และใน พ.ศ.2513 ผ. ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ที่ 1 ประมาณ พ.ศ.2505 จำเลยได้ทำรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ทักท้วง จำเลยหยุดทำ ต่อมาเดือนพฤศจิกายน 2510 จำเลยทำรั้วขึ้นใหม่ต่อจากที่ทำไว้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่พิพาทประมาณ 2 ตารางวา โจทก์ห้ามก็ไม่เชื่อฟัง ขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองแล้ว ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ฝ่ายจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์มาดังข้อต่อสู้หรือไม่ ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทเฉพาะส่วนของ ผ. มาโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตจำเลยจึงมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซื้อที่พิพาทเฉพาะส่วนดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริตประเด็นข้อพิพาทของคดีจึงมีประเด็นเดียวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด และไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ที่ 1 ซื้อที่พิพาทเฉพาะส่วนของ ผ. ไว้โดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกข้อที่ไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ศาลชั้นต้นจะหยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยก็ต้องถือว่าไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา คู่ความจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นอุทธรณ์ฎีกาต่อมาหาได้ไม่และแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว (อ้างฎีกาที่ 1958/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องและประเด็นนอกประเด็น ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อปี พ.ศ.2487 บ.ได้ยกที่ดินให้ จ.ผ. และโจทก์ที่ 3 โดยให้โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเก็บกิน ต่อมา พ.ศ.2510 จ.ยกที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้โจทก์ที่ 2 และใน พ.ศ.2513 ผ.ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ที่ 1 ประมาณ พ.ศ.2505 จำเลยได้ทำรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ทักท้วงจำเลยหยุดทำต่อมาเดือนพฤศจิกายน 2510 จำเลยทำรั้วขึ้นใหม่ต่อจากที่ทำไว้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่พิพาทประมาณ 2 ตารางวา โจทก์ห้ามก็ไม่เชื่อฟังขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปีได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองแล้วศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฝ่ายจำเลยได้ครอบครองที่พิพาท โดยปรปักษ์มาดังข้อต่อสู้หรือไม่ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทเฉพาะส่วนของ ผ.มาโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยจึงมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 1 ซื้อที่พิพาทเฉพาะส่วนดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต ประเด็นข้อพิพาทของคดีจึงมีประเด็นเดียวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด และไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ที่ 1 ซื้อที่พิพาทเฉพาะส่วนของ ผ.ไว้โดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกข้อที่ไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัย นอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ศาลชั้นต้นจะหยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยก็ต้องถือว่าไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาคู่ความจะหยิบ ยกขึ้นเป็นประเด็นอุทธรณ์ฎีกาต่อมาหาได้ไม่ และแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาที่ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว (อ้างฎีกาที่ 1958/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่ถือว่ามีสาระสำคัญ หากไม่ระบุเงื่อนไขการเลิกสัญญาชัดเจน และการบอกกล่าวเป็นหน้าที่ก่อนเลิกสัญญา
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวซึ่งแบ่งแยกโฉนดเป็นแปลง ๆ แล้วจากจำเลย เพื่อขายเอากำไร โจทก์ขายที่ดินและตึกแถวตามสัญญาไป 12 ห้อง 12 โฉนด โดยโจทก์ติดต่อจำเลยให้ทำใบมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนขายแก่ผู้ซื้อเป็นคราวๆ ไป และโจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยเป็นรายห้องตามที่ขายได้แล้วดังนี้ เห็นได้ว่าแม้สัญญาจะได้กำหนดจำนวนห้องที่ซื้อขายและวันชำระเงินที่เหลือครั้งสุดท้ายระบุเป็นวันโอนโฉนดด้วยก็ดี แต่โจทก์จำเลยก็มิได้มีเจตนาถือจำนวนห้อง กำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือและวันโอนโฉนดเป็นสารสำคัญ เพราะสัญญามิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระแก่ผู้ขายตามกำหนด และผู้ขายไม่มาโอนโฉนดในวันชำระเงินดังกล่าวแล้ว สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที และเมื่อทำสัญญากันแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิที่จะเอาตึกแถวไปแบ่งขายและโอนโฉนดได้ก่อนเป็นห้องๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยยอมปฏิบัติไปตามสัญญาส่วนหนึ่งแล้ว จำนวนเงินคงเหลือที่จะชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจึงไม่แน่นอน ชอบที่จะคิดเงินกันก่อน วัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนด หรือภายในระยะเวลาวันใดวันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 สัญญาจะซื้อขายรายนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 387 กล่าวคือ โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควรก่อน หากจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติเช่นนั้น จึงไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถว การบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งให้ชำระหนี้ก่อน
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวซึ่งแยกโฉนดเป็นแปลง ๆ แล้วจากจำเลยเพื่อขายเอากำไร โจทก์ขายที่ดินและตึกแถวตามสัญญาไป 12 ห้อง 12 โฉนด โดยโจทก์ติดต่อจำเลยให้ทำใบมอบอำนาจให้โจทก์ไปโอนขายแก่ผู้ซื้อเป็นคราว ๆ ไป และโจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยเป็นรายห้องตามที่ขายได้แล้วดังนี้เห็นได้ว่าแม้สัญญาจะได้กำหนดจำนวนห้องที่ซื้อ ขายและวันชำระเงินที่เหลือครั้งสุดท้ายระบุเป็นวันโอนโฉนดด้วยก็ดี แต่โจทก์จำเลยก็มิได้มีเจตนาถือจำนวนห้องกำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือและวันโอนโฉนดเป็นสารสำคัญ เพราะสัญญามิได้ระบุชัดแจ้งว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่นำเงินที่เหลือมาชำระแก่ผู้ขายตามกำหนดและผู้ขายไม่มาโอน โฉนดในวันชำระเงินดังกล่าวแล้ว สัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีและเมื่อทำสัญญากันแล้วโจทก์ยังมีสิทธิที่จะเอาตึกแถวไปแบ่งขายและโอนโฉนดได้ก่อนเป็นห้อง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยยอมปฏิบัติไปตามสัญญาส่วนหนึ่งแล้วจำนวนเงินคงเหลือที่จะชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจึงไม่แน่นอนชอบที่จะคิดเงินกันก่อน วัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดหรือภายในระยะเวลาวันใดวันหนึ่งซึ่งกำหนดไว้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 สัญญาจะซื้อขายรายนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 387 กล่าวคือ โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาพอสมควรก่อนหากจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์จึงจะบอกเลิก สัญญาได้แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติเช่นนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าต่อสิ้นสุดเมื่อผู้ให้เช่าเสียชีวิต ไม่ผูกพันทายาท
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าชำระก่อนการเช่า ไม่ทำให้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จะต้องให้เช่าต่อจากที่การเช่าครบอายุ
คำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้เช่าต่อนั้น เมื่อผู้ให้เช่าตาย และผู้เช่าก็รู้แล้ว คำมั่นนั้นตกไปตามมาตรา 360 ไม่ผูกพันทายาทให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา 569

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกจำเลย ส่งผลให้ศาลจำหน่ายคดีได้ แม้มีการขอระงับการส่งหมายเรียกจำเลยอื่น
ศาลสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกจำเลยคดีอาญา 6 คน มาแก้คดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใน 15 วัน โจทก์ไม่นำส่งตามกำหนด ศาลสั่งจำหน่ายคดีได้ การที่โจทก์ขอระงับการส่งหมายเรียกเพื่อฎีกาสำหรับจำเลยอื่นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟ้อง แต่ศาลไม่อนุญาต ไม่เป็นเหตุให้ศาลไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลย 6 คนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เนื่องจากไม่มีหลักประกัน และการนำสืบหลักฐานการกู้จริง
จำเลยรับว่าได้เขียนจำนวนเงินในสัญญากู้ 9,000 บาทเพราะจำเลยไม่มีหลักประกัน ความจริงกู้ 2,000 บาทจำเลยนำสืบพยานบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดิน ส.ค.1 โดยสละการครอบครอง และการขอ น.ส.3 ผ่านการมอบอำนาจ
ที่ดิน ส.ค.1 โอนกันโดยสละการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 ได้ ผู้รับโอนอาจขอ น.ส.3 โดยมีการมอบอำนาจเป็นทอดๆ จากผู้ถือ ส.ค.1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005-3006/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา การบอกเลิกสัญญา ความรับผิดในค่าเสียหาย และสิทธิในการริบของ
กรมราชทัณฑ์จำเลยจ้างเหมาโจทก์ให้ก่อสร้างตึกโรงพิมพ์ แม้จะปรากฏว่าในการก่อสร้างรายนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการของกรมโยธาเทศบาลเข้าร่วมเป็นกรรมการอำนวยการสร้าง กรรมการเปิดซองประกวดราคา และกรรมการอื่นอีกหลายคณะ แต่ก็เป็นกรรมการเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งแต่งตั้งของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้งานก่อสร้างของทางราชการดำเนินไปโดยเรียบร้อย หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมอบหมายหรือแต่งตั้งให้ข้าราชการกรมโยธาเทศบาลหรือกรมโยธาเทศบาลเป็นตัวแทนของจำเลย หรือเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยไม่การที่คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคา โดย ธ. หัวหน้ากองก่อสร้างกรมโยธาเทศบาลขอให้โจทก์ลดเวลาก่อสร้างลง ซึ่งโจทก์ยินยอมโดยขอให้กองก่อสร้างอำนวยความสะดวกในการจัดซื้อวัสดุในการก่อสร้างบางอย่างให้นั้น จึงหาใช่เงื่อนไขอันหนึ่งซึ่งเสมือนสัญญาที่จะผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามไม่
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญา และจำเลยได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ตามสัญญาให้อำนาจจำเลยริบการงานที่ทำไว้แล้วได้รวมทั้งจัดให้ผู้อื่นเข้าทำการงานนั้นต่อไป โดยผู้รับจ้างเหมายอมใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้น ดังนั้นบรรดาสัมภาระและวัสดุที่เหลืออยู่ในที่ก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่โจทก์ทำค้างไว้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะริบได้ ส่วนเครื่องผสมคอนกรีตมิใช่การงานที่ได้ทำไว้ แต่เป็นเครื่องใช้หรือเครื่องมือในการประกอบการงานของโจทก์เท่านั้น จำเลยหาอาจริบได้ไม่
of 73