พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและค่าปรับตามสมควร
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดสัญญาไม่ขายที่ดินให้โจทก์ โดยคำนวณจากผลกำไรทั้งหมดซึ่งโจทก์คาดหมายว่าจะขายที่ดินได้ในราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อจากจำเลยแต่ความเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นเพียงความหวังของโจทก์โจทก์จะขายที่ดินได้ในราคานั้นหรือไม่ ไม่เป็นที่แน่นอนยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษแต่ที่ดินที่จะซื้อขายมีทางหลวงตัดผ่านไป พอคาดหมายได้ว่าต้องมีราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลย ศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ไม่เหมาะสม จำเลยก็จะร้องมาในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างโดยมิได้อุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ แต่ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยหากเห็นเป็นการสมควร
แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ไม่เหมาะสม จำเลยก็จะร้องมาในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างโดยมิได้อุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ แต่ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยหากเห็นเป็นการสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการจำนอง แม้ไม่ได้จดทะเบียน ศาลสั่งให้จำเลยรับเงินไถ่ถอน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากสัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดีภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดีภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินเป็นประกัน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก สัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การแสดงตนเป็นคนต่างด้าวเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมตัดสิทธิการขอพิสูจน์สัญชาติไทยในภายหลัง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นคนสัญชาติไทย แต่พี่ชายส่งผู้ร้องไปเรียนหนังสือที่ประเทศจีน ผู้ร้องได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ต่อมาพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้จับผู้ร้องในข้อหาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ร้องอ้างว่าเกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นคนไทยขอให้ปล่อยตัวพนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งให้ผู้ร้องขอพิสูจน์ให้ศาลสั่งว่าเป็นคนไทยเสียก่อน จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 43 ได้ความว่าผู้ร้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่พ.ศ.2489 ครั้งยังใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480อยู่ ขณะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ผู้ร้องได้แสดงตนเป็นคนต่างด้าว และทำหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไปแล้ว โดยมิได้ขอพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยตามมาตรา 28 แต่อย่างใดการมายื่นคำร้องนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จะอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น จะต้องมีกฎหมายสนับสนุนหรือรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นไว้ เมื่อกรณีนี้จะอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ได้แล้ว ผู้ร้องย่อมยังไม่มีสิทธิจะเสนอคดีต่อศาลเช่นนี้ได้ หากผู้ร้องถือว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีต่อศาลได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 657/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการพิสูจน์สัญชาติ: การแสดงตนเป็นคนต่างด้าวตั้งแต่แรกย่อมไม่อาจอ้างสิทธิพิสูจน์สัญชาติภายหลังได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นคนสัญชาติไทย แต่พี่ชายส่งผู้ร้องไปเรียนหนังสือที่ประเทศจีน ผู้ร้องได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ต่อมาพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้จับผู้ร้องในข้อหาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ร้องอ้างว่าเกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นคนไทยขอให้ปล่อยตัวพนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งให้ผู้ร้องขอพิสูจน์ให้ศาลสั่งว่าเป็นคนไทยเสียก่อน จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 43 ได้ความว่าผู้ร้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ครั้งยังใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2480 อยู่ ขณะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ผู้ร้องได้แสดงตนเป็นคนต่างด้าวและทำหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไปแล้ว โดยมิได้ขอพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยตามมาตรา 28 แต่อย่างใดการมายื่นคำร้องนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จะอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น ต้องมีกฎหมายสนับสนุนหรือรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นไว้ เมื่อกรณีนี้จะอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ได้แล้วผู้ร้องย่อมยังไม่มีสิทธิจะเสนอคดีต่อศาลเช่นนี้ได้ หากผู้ร้องถือว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีต่อศาลได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 657/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนโทรมหญิง: การใช้กำลังข่มขืนในที่สาธารณะเข้าลักษณะโทรมหญิง
จำเลยสองคนร่วมกันใช้มีดปลายแหลมจี้ขู่บังคับและใช้กำลังฉุดผู้เสียหายเข้าไปในสวนมะพร้าวข้างทาง แล้วจับกดผู้เสียหายให้นอนลงบนพื้นดิน ช่วยกันจับมือและกดผู้เสียหายไว้ให้โอกาสอีกคนหนึ่งผลัดกันกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ของจำเลยทั้งสองคนๆ ละ 1ครั้ง ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเข้าลักษณะเป็นการโทรมหญิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนโทรมหญิง: การกระทำโดยใช้กำลังขู่เข็ญและกระทำอนาจารจนสำเร็จความใคร่ เข้าข่ายความผิดฐานโทรมหญิง
จำเลยสองคนร่วมกันใช้มีดปลายแหลมจี้ขู่บังคับและใช้กำลังฉุดผู้เสียหายเข้าไปในสวนมะพร้าวข้างทาง แล้วจับกดผู้เสียหายให้นอนลงบนพื้นดิน ช่วยกันจับมือและกดผู้เสียหายไว้ให้โอกาสอีกคนหนึ่งผลัดกันกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ของจำเลยทั้งสองคนๆ ละ 1 ครั้ง ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองเข้าลักษณะเป็นการโทรมหญิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการฟ้องบังคับชำระหนี้ตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน
ในกรณีที่ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การให้นัดสืบพยานโจทก์ เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายมาศาลแต่ก็มิได้แจ้งให้ศาลทราบเสียก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 199 วรรคแรก กลับปล่อยให้ศาลสืบพยานโจทก์ไปจนหมดแล้วจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาและรับคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะพ้นเวลาที่กฎหมายอนุญาตตามมาตรา 199 วรรคแรกแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค 2 ฉบับโดยบรรยายว่าทวงถามให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแล้ว จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระเงินให้โจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความปฏิเสธหนี้ตามเช็คฉบับหลัง และปรากฏว่าโจทก์นำเช็คฉบับแรกไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยว่าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยปิดแล้ว แสดงว่าธนาคารผู้จ่ายได้งดเว้นการใช้หนี้ตามเช็คของจำเลยต่อไปแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับได้ แม้เช็คฉบับหลังนั้นจะยังไม่ถึงกำหนดชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 959 และ 989
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค 2 ฉบับโดยบรรยายว่าทวงถามให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแล้ว จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระเงินให้โจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความปฏิเสธหนี้ตามเช็คฉบับหลัง และปรากฏว่าโจทก์นำเช็คฉบับแรกไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยว่าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยปิดแล้ว แสดงว่าธนาคารผู้จ่ายได้งดเว้นการใช้หนี้ตามเช็คของจำเลยต่อไปแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับได้ แม้เช็คฉบับหลังนั้นจะยังไม่ถึงกำหนดชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 959 และ 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ – เพิกถอนกระบวนพิจารณา – เช็คไม่ถึงกำหนดชำระ – ฟ้องบังคับได้
ในกรณีที่ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้นัดสืบพยานโจทก์ เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายมาศาลแต่ก็มิได้แจ้งให้ศาลทราบเสียก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 199 วรรคแรก กลับปล่อยให้ศาลสืบพยานโจทก์ไปจนหมดแล้วจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาและรับคำให้การจำเลยไม่ได้ เพราะพ้นเวลาที่กฎหมายอนุญาตตามมาตรา 199วรรคแรกแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค 2 ฉบับโดยบรรยายว่าทวงถามให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแล้ว จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระเงินให้โจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความปฏิเสธหนี้ตามเช็คฉบับหลัง และปรากฏว่าโจทก์นำเช็คฉบับแรกไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยว่าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยปิดแล้ว แสดงว่าธนาคารผู้จ่ายได้งดเว้นการใช้หนี้ตามเช็คของจำเลยต่อไปแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับได้ แม้เช็คฉบับหลังนั้นจะยังไม่ถึงกำหนดชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 และ 989
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค 2 ฉบับโดยบรรยายว่าทวงถามให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแล้ว จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระเงินให้โจทก์ ในชั้นพิจารณาจำเลยก็เบิกความปฏิเสธหนี้ตามเช็คฉบับหลัง และปรากฏว่าโจทก์นำเช็คฉบับแรกไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยว่าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยปิดแล้ว แสดงว่าธนาคารผู้จ่ายได้งดเว้นการใช้หนี้ตามเช็คของจำเลยต่อไปแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับได้ แม้เช็คฉบับหลังนั้นจะยังไม่ถึงกำหนดชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 และ 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดตลาดแข่งขันไม่เป็นละเมิด แม้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ การฟ้องละเมิดต้องพิสูจน์ความเสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ร่วมกันข่มขู่หลอกลวงโจทก์ให้ย้ายตลาดนัดของโจทก์จากบ้านจำเลยที่ 4 ไปเปิดที่อื่น ต่อมาเดือนพฤษภาคม 2515 จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เปิดตลาดนัดใหม่ที่บ้านจำเลยที่ 4 โดยจำเลยทั้งสี่รู้อยู่แล้วว่าการเปิดตลาดนัดดังกล่าวย่อมจะก่อความเสียหายแก่โจทก์ ทำให้กิจการตลาดนัดของโจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์ต้องขาดประโยชน์อันควรได้สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 200 บาท นับจากเดือนพฤษภาคม 2515 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 4,800 บาท ขอศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยที่ 4 เปิดดำเนินกิจการตลาดนัดและให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 4,800 บาทแก่โจทก์ดังนี้ แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเปิดตลาดนัดใหม่มาแข่งขัน ก็หาเป็นเรื่องละเมิดไม่ เพราะการเปิดตลาดนัดใหม่ย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการประกอบอาชีพชอบที่จะดำเนินการขออนุญาตและเปิดได้ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายหรือข้อบังคับว่าเมื่อผู้ใดได้รับอนุญาตให้เปิดตลาดนัดแล้วจะอนุญาตให้ผู้อื่นเปิดตลาดนัดใกล้เคียงกันหรือในอำเภอเดียวกันไม่ได้
ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันข่มขู่หลอกลวงโจทก์ให้ย้ายตลาดนัดนั้นอาจจะเป็นละเมิดแต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุที่โจทก์ถูกข่มขู่หลอกลวงให้ย้ายตลาดนัดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2514 โจทก์กลับฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2515 เนื่องจากเหตุที่มีการเปิดตลาดนัดแข่งกันทำให้โจทก์ขาดรายได้ไป ซึ่งมิใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด จึงบังคับตามคำขอของโจทก์มิได้
ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันข่มขู่หลอกลวงโจทก์ให้ย้ายตลาดนัดนั้นอาจจะเป็นละเมิดแต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุที่โจทก์ถูกข่มขู่หลอกลวงให้ย้ายตลาดนัดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2514 โจทก์กลับฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2515 เนื่องจากเหตุที่มีการเปิดตลาดนัดแข่งกันทำให้โจทก์ขาดรายได้ไป ซึ่งมิใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด จึงบังคับตามคำขอของโจทก์มิได้