พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้มี น.ส.3 ผู้ครอบครองทำประโยชน์ย่อมมีสิทธิเหนือกว่า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มุ่งบัญญัติถึงสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งได้มีการออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิแก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว หนังสือรับรองการทำประโยชน์หาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินทางทะเบียนดังเช่นโฉนดที่ดินไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท แม้จะอ้างว่าได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทมาก็ตาม จะใช้ยันกับโจทก์ซึ่งได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาหาได้ไม่
เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2515 นั้นผิดพลาดไป เพราะวันที่แท้จริงนั้นเป็นวันที่ 18 มิถุนายน 2516 ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2515 นั้นผิดพลาดไป เพราะวันที่แท้จริงนั้นเป็นวันที่ 18 มิถุนายน 2516 ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินเหนือเอกสาร น.ส.3 และการแก้ไขวันเกิดละเมิดในคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มุ่งบัญญัติถึงสิทธิ์ครอบครองในที่ดินซึ่งได้มีการออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว หนังสือรับรองการทำประโยชน์หาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินทางทะเบียนดังเช่นโฉนดที่ดินไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท แม้จะอ้างว่าได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทมาก็ตาม จะใช้ยันกับโจทก์ซึ่งได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาหาได้ไม่
เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2515 นั้นผิดพลาดไป เพราะวันที่แท้จริงนั้นเป็นวันที่ 18 มิถุนายน 2516 ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อปรากฏแก่ศาลฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2515 นั้นผิดพลาดไป เพราะวันที่แท้จริงนั้นเป็นวันที่ 18 มิถุนายน 2516 ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับใช้ จำเลยไม่สามารถบอกเลิกได้โดยไม่มีเหตุ
โจทก์มีอำนาจยึดและอายัดทรัพย์สินของ ต. ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติได้ขออายัดเงินที่มีผู้นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่ ต. แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้ยึดเงินจำนวนนั้นไว้ก่อนแล้ว โจทก์ จำเลยจึงตกลงกันตามบันทึกว่า จำเลยไม่มีสิทธิในเงินจำนวนนี้เพราะจะต้องตกเป็นของรัฐตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ และจะไปถอนการยึดภายใน 15 วัน ดังนี้ บันทึกของจำเลยจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850
บันทึกอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดไว้แล้วย่อมใช้บังคับได้ ดังนั้น จำเลยจะบอกเลิกข้อตกลงด้วยการแสดงเจตนามาฝ่ายเดียว โดยไม่มีเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาไม่ได้
จำเลยฎีกาว่า บันทึกของจำเลยเป็นสัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ แต่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าสัญญาดังกล่าวมีลักษณะขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างไร ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดไว้แล้วย่อมใช้บังคับได้ ดังนั้น จำเลยจะบอกเลิกข้อตกลงด้วยการแสดงเจตนามาฝ่ายเดียว โดยไม่มีเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาไม่ได้
จำเลยฎีกาว่า บันทึกของจำเลยเป็นสัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ แต่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าสัญญาดังกล่าวมีลักษณะขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างไร ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการลูกจ้างภายใต้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เป็นกฎหมายพิเศษได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในเบื้องต้นว่า เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดยวิธีปรองดองและเป็นธรรมข้อ 4(4) ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม และตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ "ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่าข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง"สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ดังนั้น เมื่อลูกจ้างขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 10 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างขอขึ้นให้ร้อยละ 7 จึงมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจชี้ขาดได้
แม้ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับสภาพการจ้าง รวมถึงค่าจ้างและสวัสดิการ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เป็นกฎหมายพิเศษได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในเบื้องต้นว่า เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสมและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปโดย วิธีปรองดองและเป็นธรรมข้อ 4(4) ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนดว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม และตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ "ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่าข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง "สภาพการจ้าง" หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ดังนั้น เมื่อลูกจ้างขอขึ้นเงินเดือนร้อยละ 10 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างขอขึ้นให้ร้อยละ 7 จึงมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจชี้ขาดได้
แม้ตามสัญญาแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ตามสัญญาแรงงานระหว่างโจทก์กับลูกจ้างมิได้มีข้อสัญญาไว้ว่าโจทก์จะต้องขึ้นเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างทุกระยะเท่าใดและอัตราเท่าใด ก็มิได้หมายความว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างไม่ได้ ทั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อ 4 มีความว่า เมื่อนายจ้างลูกจ้างประสงค์จะให้แก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างก็ให้แจ้งแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงว่าสภาพการจ้างย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งการที่โจทก์เสนอขอขึ้นค่าจ้างให้ร้อยละ 7 ก็แสดงว่าโจทก์พร้อมที่จะเปลี่ยนสภาพการจ้างเหมือนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดและสั่งให้โจทก์ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์เสนออีกร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 8 จึงหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไม่
การจัดหาบ้านพักให้ลูกจ้าง หรือจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้ลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอยู่ในความหมายของ "สภาพการจ้าง" เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นย่อมถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้นำสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันระหว่างโจทก์กับกระทรวงกลาโหม และการจ่ายค่าเช่าบ้านของบริษัทกลั่นน้ำมันแห่งอื่นมาพิจารณาด้วย ก็เพื่อประกอบดุลพินิจในการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะกล่าวได้ว่า คำชี้ขาดของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำคัดค้านหลังกำหนดเวลา และการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้ร้องหลังกำหนดเวลาตามที่ศาลประกาศ แต่ก่อนมีการสืบพยานผู้ร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำคัดค้านนั้น ดังนี้ ศาลชั้นต้นมีอำนาจทำได้ไม่ใช่ขยายระยะเวลา หรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายใช้สิทธิครอบครองที่พิพาท การที่ผู้ร้องยึดถือโฉนดและเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่พิพาทเข้าไปตัดฟืนตัดจากเป็นครั้งคราว ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองแก่ผู้ร้อง
เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายใช้สิทธิครอบครองที่พิพาท การที่ผู้ร้องยึดถือโฉนดและเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่พิพาทเข้าไปตัดฟืนตัดจากเป็นครั้งคราว ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารประกอบพยานหลักฐาน: ศาลมีอำนาจพิจารณาความจริงตามเอกสาร แม้ไม่คัดค้าน
แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งจะมิได้คัดค้านการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความอีกฝ่ายเสียก่อนวันนัดสืบพยานทราบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ก็เพียงแต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องของสำเนาเอกสารนั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาเท่านั้น หาใช่เป็นการบังคับให้ศาลยอมรับว่าความจริงเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารนั้นไม่เพราะความจริงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงอีกชั้นหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตราย แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต
จำเลยใช้กำลังจับมือผู้ตายให้ลุกขึ้นโดยผู้ตายไม่สมัครใจ เมื่อผู้ตายบอกว่าจะไปสวมเสื้อก่อน จำเลยจึงปล่อย ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังทำร้าย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์การกระทำ
จำเลยใช้กำลังจับมือผู้ตายให้ลุกขึ้นโดยผู้ตายไม่สมัครใจ เมื่อผู้ตายบอกว่าจะไปสวมเสื้อก่อน จำเลยจึงปล่อย ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังทำร้าย ผิดมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าเดิม และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ที่ให้จำเลยอาศัย ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่า ในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละเท่าใด แต่ปรากฏตามสำนวนคดีแพ่งคดีอื่นที่จำเลยอ้างต่อสู้คดีว่าที่พิพาทรายนี้เป็นของวัดสุบรรณนิมิตร จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับวัดสุบรรณนิมิตรในสำนวนดังกล่าว โดยวัดสุบรรณนิมิตรให้จำเลยเช่ามีกำหนด 10 ปี อัตราค่าเช่าปีละ 30 บาท เทียบได้เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 2.50 บาท ช่วงเวลาที่วัดให้จำเลยเช่าอยู่ระหว่างโจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงพอรับฟังว่า เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องนั้นที่พิพาทที่โจทก์ฟ้องในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าหรืออาศัย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2499 มาตรา 15 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาข้อนี้ยุติตามคำวินิจฉัยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหาว่าฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 หรือไม่ และกรณีไม่ได้เป็นเรื่องจำเลยแย่งการครอบครองจากโจทก์ จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาบังคับแก่คดีนี้ไม่ได้