คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กฤษณ์ โสภิตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15399/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านสำหรับพนักงานที่เช่าซื้อบ้านนอกพื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องเป็นไปตามข้อบังคับฯ ที่กำหนด
ตามข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยค่าเช่าบ้าน พ.ศ. 2533 ข้อ 15 ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามข้อบังคับนี้ ได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านท้ายข้อบังคับนี้..." ดังนั้นการที่พนักงานของจำเลยจะนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านซึ่งอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เท่านั้น ซึ่งตามข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยค่าเช่าบ้าน พ.ศ.2533 ข้อ 4 ระบุว่า "ท้องที่หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอ และหรือกิ่งอำเภอที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามข้อ 5 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง" และข้อ 5 ระบุว่า "ให้คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอและหรือกิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้" เมื่อโจทก์ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี แต่โจทก์ได้ไปเช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในอำเภอวารินชำราบโดยไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางได้ประกาศกำหนดให้สองอำเภอดังกล่าวเป็นท้องที่เดียวกันอำเภอวารินชำราบจึงเป็นท้องที่อื่น มิใช่เป็นท้องที่ที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากวัตถุดิบขาดหาย: พิจารณาเป็นยอดขายสินค้าสำเร็จรูปได้
ในการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น แม้ ป.รัษฎากรฯ ลักษณะ 2 หมวด 3 ส่วน 3 จะมิได้มีบทบัญญัติว่ากรณีที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีให้ถือว่าเป็นการขาย แต่ถ้ามีการนำวัตถุดิบที่ขาดหายนั้นไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายก็ถือเป็นการขายสินค้าสำเร็จรูปตามความเป็นจริง และแม้ ป.รัษฎากรฯ มาตรา 77/1 (8) (จ) จะบัญญัติให้ถือว่าการที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีให้ถือเป็นการขายวัตถุดิบนั้น แต่ถ้ามีการนำวัตถุดิบที่ขาดหายนั้นไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายก็ถือว่าเป็นการขายสินค้าสำเร็จรูปตามความเป็นจริงเช่นเดียวกัน การผลิตและขายทั้งสองกรณีนี้ย่อมจะต้องเสียภาษีจากราคาสำเร็จรูปของสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ขาดหายนั้น โจทก์มี ส. ผู้ตรวจสอบบัญชีเบิกความอ้างเหตุวัตถุดิบขาดหายว่าเกิดจากการสูญเสียในระหว่างการผลิตหรือเกิดจากการลงรายการในบัญชีคุมสินค้าและวัตถุดิบผิดพลาด ไม่ได้ยืนยันว่าเหตุขาดหายนั้นเกิดจากกรณีใดในสองกรณีนั้น แม้โจทก์จะมี ก. ผู้จัดการโรงงาน และ ธ. ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงานของโจทก์เบิกความถึงขั้นตอนในการผลิตตู้ลำโพงเพื่อแสดงให้เห็นว่าผ้าเน็ท (SPEAKER CLOTH) อาจเกิดการสูญเสียได้ในขณะนำไปประกอบเพื่อผลิตตู้ลำโพงแต่พยานโจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถหาหลักเกณฑ์แน่นอนได้ว่ามีการสูญเสียวัตถุดิบในการผลิตมากน้อยเพียงใด พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าเหตุที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีมิได้เกิดจากการนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การที่วัตถุดิบขาดหายจากบัญชีเกิดจากการที่โจทก์นำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่าย การที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มโดยถือราคาสินค้าสำเร็จรูปเป็นฐานจึงถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสินสมรส: ที่ดิน vs. รถยนต์ และผลของการจดทะเบียน
ที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโจทก์ ซึ่งเป็นภริยาร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1467 ส่วนรถยนต์นั้นแม้จะมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของในใบทะเบียนรถยนต์ก็ตาม แต่ใบทะเบียนรถยนต์ก็มิใช่เอกสารอันเป็นที่ตั้งแห่งกรรมสิทธิ์ จึงไม่ใช่เอกสารเป็นสำคัญสำหรับทรัพย์ (รถยนต์) ตามความหมายแห่งมาตรา 1467 ดังกล่าว จึงบังคับจำเลยให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฏข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่องจากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหาย จำเลยให้การด้วยว่า ตามเงื่อนไขในใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการรั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้ พิพากษายกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์ เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องกรณีรับขนของทางทะเล ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของ ทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่อง จากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหายจำเลยให้การด้วยว่าตามเงื่อนไขใน ใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการ รั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความรับผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้พิพากษายกฟ้องเมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทน, อำนาจฟ้อง, ความรับผิดหนี้, และการขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาในประเด็นข้อใด คู่ความไม่อุทธรณ์ในประเด็นข้อนั้นศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้พิจารณาพิพากษาใหม่ในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในประเด็นที่ยุติไปไม่มีอุทธรณ์แล้วไม่ได้ แต่ถ้าเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนเรื่องอำนาจฟ้อง คู่ความยกขึ้นฎีกาในการพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
ข้อสัญญาเรื่องตั้งอนุญาโตตุลาการตามสัญญาตัวแทน ไม่ตัดสิทธิคู่กรณีไม่ให้ฟ้องศาลเมื่อผิดสัญญา
ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขาโดยให้จำเลยเป็นตัวแทน ได้รับส่วนแบ่งเป็นบำเหน็จร้อยละ 50 ของกำไร ไม่ใช่เงินจ่ายแก่กรรมการพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคาร ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2488 มาตรา11 ไม่มีกฎหมายห้ามตั้งตัวแทนเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ในขณะนั้น
ข้อสัญญาตัวแทนว่า ถ้าตัวแทนเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ใน 6 เดือนตั้งแต่เลิกสัญญาตัวแทน ตัวแทนต้องรับผิดใช้หนี้แทน ตัวแทนจะอ้างเหตุเสียเปรียบไม่ได้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและการรับผิดของเจ้าหน้าที่ต่อการยักยอกเงิน, การพิจารณาความรับผิดตามหลักฐานในคดีอาญา
คดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตยักยอกถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สำหรับจำเลยที่ 4 ให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ปฏิบัติไปตามระเบียบแบบแผน เช่นนี้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 4 กับพวกให้ชดใช้เงินดังกล่าวในคดีอาญาคืนฐานละเมิด ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา โดยจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินค่าน้ำประปาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสี่ อันหมายถึงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์โดยเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไปโดยทุจริต เป็นการยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเงินมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา 1336 ประกอบด้วยมาตรา 438 ส่วนคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 6 โจทก์ขอให้รับผิดใช้ค่าเสียหายเพราะปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 สมคบกันยักยอกเอาเงินไปได้ จำเลยที่ 5 ที่ 6 มิได้ยึดถือเงินของโจทก์ไว้ หากจะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นความรับผิดในค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรค 2 ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448
คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งได้รายงานต่ออธิบดีกรมโจทก์ว่า เห็นควรให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมกันชดใช้นายดำรงรองอธิบดีได้รับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และสั่งว่า "ปปก.พิจารณาเสนอความเห็น"ลงชื่อ "ดำรง แทน" เช่นนี้ มีความหมายว่านายดำรงสั่งแทนอธิบดีและถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2507 ฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 ที่ 6 จึงพ้น 1 ปี และขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดและการแบ่งแยกฐานความรับผิดระหว่างเจ้าหน้าที่ทุจริตและผู้กำกับดูแล
คดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตยักยอกถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 สำหรับจำเลยที่ 4 ให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ปฏิบัติไปตามระเบียบแบบแผน เช่นนี้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 4 กับพวกให้ชดใช้เงินดังกล่าวในคดีอาญาคืนฐานละเมิด ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา โดยจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเบียดบังยักยอกเอาเงินค่าน้ำประปาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสี่ อันหมายถึงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์โดยเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไปโดยทุจริต เป็นการยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเงินมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา 1336 ประกอบด้วยมาตรา 438 ส่วนคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 6 โจทก์ขอให้รับผิดใช้ค่าเสียหายเพราะปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 สมคบกันยักยอกเอาเงินไปได้ จำเลยที่ 5 ที่ 6 มิได้ยึดถือเงินของโจทก์ไว้ หากจะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นความรับผิดในค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรค 2 ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448
คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งได้รายงานต่ออธิบดีกรมโจทก์ว่า เห็นควรให้จำเลยที่ 5 และที่ 6 ร่วมกันชดใช้นายดำรงรองอธิบดีได้รับทราบรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และสั่งว่า "ปปก.พิจารณาเสนอความเห็น" ลงชื่อ "ดำรง แทน" เช่นนี้มีความหมายว่านายดำรงสั่งแทนอธิบดีและถื่อว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2507 ฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 ที่ 6 จึงพ้น 1 ปี และขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดี - เพียงสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องก็เพียงพอหากจำเลยไม่คัดค้านความไม่สมบูรณ์
นิติบุคคลต่างประเทศมอบให้ฟ้องคดีโดยมีสำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง จำเลยคัดค้านว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคลและแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจโดยไม่สมบูรณ์แบบ แต่มิได้แสดงเหตุว่าไม่สมบูรณ์แบบเพราะเหตุใด มิได้คัดค้านการมีอยู่และความถูกต้องของสำเนาใบมอบอำนาจท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่ต้องส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ คดีฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจโดยถูกต้อง ไม่ต้องปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารพยานนอกเหนือการครอบครองจำเลย ไม่ต้องส่งสำเนาให้โจทก์
เอกสารที่จำเลยระบุอ้างเป็นพยานอยู่กับคนภายนอก จำเลยไม่ต้องส่งสำเนาแก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2)
of 73