คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้วัด แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและทายาท
การที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาอุทิศที่ดินของเจ้ามรดกให้สร้างวัด และวัดได้ดำเนินการก่อสร้างสำเร็จตามเจตนาของเจ้ามรดกแล้ว ที่ดินย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ทำให้การได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้ต่อสู้หรือบังคับต่อบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาก็ตาม แต่การยกให้นี้มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญา รวมทั้งทายาทหรือผู้สืบสิทธิของคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกของพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัดเมื่อมรณภาพ แม้จะทำสัญญาจะซื้อขายไว้ก่อน
จ. ถึงแก่กรรม ที่ดินของ จ. จึงตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทโดยธรรมรวมทั้ง ส. ซึ่งเป็นพระภิกษุด้วย ที่ดินที่ ส. ได้รับมรดกมาเช่นนี้มิใช่ที่ดินของวัด แม้จะได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ ส. จึงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินส่วนของตนซึ่งยังมิได้แบ่งแยกจากที่ดินเดิมให้แก่โจทก์ได้ การที่ ส. ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จในเวลาต่อมาแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์และถึงแก่มรณภาพเสียก่อน ที่ดินดังกล่าวย่อมตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย โดยผลแห่งกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623
ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35 ย่อมเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285 (4) ด้วย คำพิพากษาในส่วนที่ให้วัดจำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้บังคับได้ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคสาม ก็บัญญัติให้ศาลดำเนินการบังคับคดีเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับจะเปิดช่อง ให้กระทำได้เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดพร้อมเพื่อให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์เพื่อดำเนินการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ และมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไปจึงไม่อาจกระทำได้ กรณีมีเหตุให้ยกเลิกการบังคับคดี
การแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกมาจากโฉนดเดิมไม่ถือว่าเป็นการจำหน่ายที่ดิน เพราะการจำหน่ายจะต้องเป็น การจดทะเบียนโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ ส. ซึ่งเป็นพระภิกษุดำเนินการแบ่งแยกโฉนดที่ดินของตนเสร็จแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ก่อนที่ ส. มรณภาพ จึงมิใช่ ส. โอนที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน ส. มรณภาพ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของวัดจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับการอนุมัติจากกรมการศาสนา จำเลยผิดสัญญาเมื่อบอกเลิกก่อนได้รับอนุมัติ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา ดังนี้ เมื่อพิจารณาสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแล้วจึงไม่ใช่ เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แต่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะ มีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่า อาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี อันจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบ จากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างทราบดีดังจะเห็น ได้จากสัญญาในข้อ 5 ที่ว่าเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ลงทุน สร้างอาคารในที่ดิน ผู้ลงทุนตกลงชำระเงินบำรุงวัดสุวรรณคีรีวงก์ จำนวน 1,200,000 บาท โดยผู้ลงทุนจะชำระในวันที่กรมการศาสนา ให้ความเห็นชอบสัญญานี้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่าง โจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา สัญญาระหว่าง โจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถ นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยได้บอกเลิก สัญญาแก่โจทก์ ไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ โดย ไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: โฉนดที่ดินออกทับที่ดินวัด แม้มีโฉนดแต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของวัด
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตวัดจำเลยมาแต่เดิม โดยตอนออกโฉนดได้นำรังวัดเข้าไปในที่ดินของวัด แต่ไม่ว่าจะได้ออกโฉนดแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ในโฉนดมาเป็นเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้มีชื่อในโฉนดได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโฉนดทับที่วัด ที่พิพาทยังคงเป็นของวัด การออกโฉนดทับที่ดินพิพาทมิใช่การกระทำของโจทก์ และมีการโอนกันมาแล้วหลายคน โจทก์ไม่มีโอกาสทราบเรื่องนี้ ทั้งโจทก์ครอบครองที่พิพาทต่อเนื่องมาจากเจ้าของคนก่อนเป็นการครอบครองที่พิพาทโดยสุจริต ทั้งจำเลยไม่ฟ้องทันทีที่โจทก์คัดค้านการรังวัดที่ดินของจำเลย ดังนี้โจทก์ไม่ควรต้องใช้ค่าเสียหายให้จำเลย เว้นแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบศาสนสมบัติและเอกสารของวัดให้เจ้าอาวาสรูปใหม่หลังพ้นจากหน้าที่รักษาการ
ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อ 6 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2506) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการแล้ว จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 26 ด้วย คือ (1) มีพรรษาพ้น 5 และ (2) เป็นผู้ทรงเกียรติคุณ เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในถิ่นนั้น ปรากฏว่าใน การประชุมปรึกษาเพื่อหาตัวผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระภิกษุในวัดโจทก์ร่วมประชุม 19 รูป ออกเสียงให้พระ น. เป็นเจ้าอาวาส 14 รูปออกเสียงให้จำเลย 5 รูป ใน 5 รูปนี้ มีพระ น. รวมอยู่ด้วย แม้จำเลยมีพรรษายุกาลสูงกว่าพระ น. แต่ตามพระวินัย กฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคมตลอดจนสังฆาณัติไม่ปรากฏเลยว่าจะต้องแต่งตั้งจากพระภิกษุที่มีพรรษาสูงสุด ในวัดนั้น การที่พระ น. ลงชื่อในตราตั้งพระ น. เป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์กระทำในฐานะเจ้าคณะจังหวัดมิใช่ในฐานะส่วนตัว พระ น. จึงเป็น เจ้าอาวาสวัดโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมวัดและการถือครองที่ดินสงฆ์: การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกให้กับวัดร้าง
เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ให้ยุบรวมวัดใหม่กับวัดภูเขาดินโจทก์เป็นวัดเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2481 ในขณะที่วัดใหม่ยังมีพระภิกษุอยู่ จึงหาใช่เป็นวัดร้างสงฆ์ไม่อาศัยไม่
การยุบรวมวัดแม้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ยอมรับให้มีการรวมวัดที่ใกล้ชิดติดกัน เป็นวัดเดียวกันเพื่อประโยชน์แก่การบำรุงวัดให้เจริญยิ่งขึ้นหรือเพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ได้โดยขอรับความเห็นชอบในที่สุดจากฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ก่อนและ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121 ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ดังนั้นการที่เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ สั่งรวมวัดใหม่เข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
วัดใหม่ที่ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงไม่มีสภาพที่จะตกเป็นวัดร้างได้ ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของวัดใหม่แล้วได้รื้อกุฎิวิหารและสิ่งปลูกสร้างจากที่ดินพิพาทไปไว้ที่วัดโจทก์เมื่อรวมกับวัดโจทก์ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นที่ดินของวัดร้างแต่เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์ด้วยการยุบรวมวัดใหม่กับวัดโจทก์เป็นวัดเดียวดังนี้การดูแลรักษาและจัดการไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาจำเลย การที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของวัดใหม่ (ร้าง) เป็นการไม่ชอบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027-4030/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัดร้างสงฆ์ไม่อาศัย: กรมการศาสนามีอำนาจดูแลทรัพย์สินและฟ้องร้องได้
วัดร้างสงฆ์ไม่อาศัยกรมการศาสนาย่อมมีอำนาจดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้งเจ้าคณะอำเภอ: เจ้าคณะภาคมีอำนาจพิจารณาโดยอิสระจากข้อเสนอเจ้าคณะจังหวัด
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดคัดเลือกโจทก์ที่ 2 เสนอจำเลยผู้เป็นเจ้าคณะภาคเพื่อพิจารณาแต่งตั้งโจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ และในวันเดียวกันนั้นเองโจทก์ที่ 1 ก็ได้ส่งคำร้องเรียนของเจ้าอาวาสและประชาชนในเขตอำเภอ ให้แต่งตั้งพระครูว. เป็นเจ้าคณะอำเภอไปประกอบการพิจารณาด้วย จำเลยผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งย่อมมีอำนาจพิจารณาทั้งโจทก์ที่ 2 และพระครู ว. ว่าสมควรแต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่ง ในเมื่อจำเลยพิจารณาแล้วสมควรแต่งตั้งพระครูว. และได้รับอนุมัติเจ้าคณะใหญ่แล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดเจ้าอาวาสออกจากตำแหน่งเนื่องจากละทิ้งหน้าที่เกิน 30 วัน และการขาดการร้องทุกข์ตามระเบียบ
เจ้าอาวาสละทิ้งหน้าที่โดยออกนอกเขตปกครองไปอยู่ที่อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร เกินกว่า 30 วัน เจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจปลดออกจากตำแหน่งได้ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 5(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และตามระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2506 ข้อ 4 และข้อ 5 หากจะมีการร้องทุกข์ ผู้ถูกปลดจะต้องร้องทุกข์ต่อ ผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปภายใน 15 วัน นับแต่ทราบคำสั่งลงโทษ เมื่อมิได้มีการร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งความเห็นให้ถอดถอนผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส มิใช่คำสั่งถอดถอน
เจ้าคณะจังหวัดมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าคณะอำเภอว่า พระภิกษุผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสละเมิดจริยพระสังฆาธิการสมควรถอดถอน ให้อำเภอแจ้งให้ตำบลทราบ และสั่งให้ดำเนินการต่อไปให้เรียบร้อยดังนี้ มิใช่เป็นคำสั่งให้ถอดถอนผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ไม่มีปัญหาว่าคำสั่งถอดถอนชอบหรือไม่
of 3