คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 21

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรมและการบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา ข้อตกลงในสัญญาเช่ามีผลผูกพัน
การบอกเลิกการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องแจ้งการบอกเลิกต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีคำวินิจฉัยก่อน บังคับเฉพาะแต่การเช่านาซึ่งหมายถึงเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ และพืชไร่หมายความว่าพืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายในสิบสองเดือนตามที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ให้คำนิยามไว้ ดังนี้ ต้นมะพร้าวจึงไม่ใช่พืชไร่แต่เป็นพืชเกษตรกรรมอื่น ไม่อยู่ในบังคับให้ต้องแจ้งการบอกเลิกการเช่าต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อให้มีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงในสัญญาเช่าห้ามผู้เช่าขุดคู บ่อน้ำในที่ดินที่เช่า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่า เป็นข้อกำหนดลักษณะการใช้ที่ดิน เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับว่าขุดคูและบ่อน้ำในที่ดินที่เช่าโดยได้รับอนุญาตด้วยวาจา จำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า เมื่อจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาเนื่องจากกระทำไปโดยได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า ดังนี้ ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดข้อตกลงว่า กรณีผู้เช่ากระทำผิดสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิจะเข้ายึดถือครอบครองที่เช่าได้โดยพลัน แม้การที่โจทก์เข้ารื้อถอนต้นมะพร้าวออกจากที่ดินที่เช่าจะเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ให้สิทธิโจทก์เข้ายึดถือครอบครองที่ดินที่เช่า ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หลังจากโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่า ต่อมาอีกประมาณปีเศษโจทก์จึงเข้าปรับสภาพที่ดินให้เป็นดังเดิม ซึ่งเมื่อขณะจำเลยที่ 1 ขุดคูและบ่อน้ำ จำเลยที่ 1 ยอมรับจะปรับสภาพที่ดินให้เป็นไปดังเดิมภายหลัง ดังนี้ที่โจทก์เข้าปรับสภาพที่ดินรวมถึงรื้อถอนต้นมะพร้าวของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำตามข้อตกลงในสัญญาเช่า แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ไม่เข้าข่ายการเช่านาตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ สิทธิเช่าจึงไม่ได้รับการคุ้มครอง
หญ้าไม่ใช่พืชไร่ตามความหมายของคำนิยามศัพท์ของมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ของโจทก์จึงมิใช่การเช่านาอันจะต้องมีการควบคุมตามมาตรา 22 ทั้งจะขยายความให้มีความหมายถึงการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น นอกจากการเช่านาตามคำนิยามศัพท์ของคำว่าเกษตรกรรม มาตรา 5 หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อการเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.ควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นการเช่าที่ดินของโจทก์จึงไม่อยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิเช่าที่ดินพิพาทต่อไปจนครบ 6 ปี หาได้ไม่ เพราะกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 26 ใช้เฉพาะการเช่านาอย่างเดียว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 บอกเลิกการเช่าจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อปลูกกล้วยและพืชล้มลุกไม่เข้าข่ายการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คชก.วินิจฉัยผิด ศาลมีอำนาจปฏิเสธบังคับตามคำชี้ขาด
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเป็นจดหมายหลัก จึงได้ให้คำนิยามไว้ในหมวด 2 การเช่านาในมาตรา 21 ว่า "นา" หมายความว่า ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ "ทำนา" หมายความว่า การเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ "พืชไร่" หมายความว่า พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติคำนิยามไว้โดยเฉพาะ จะนำเอาความหมายตามที่พจนานุกรมบัญญัติไว้มาใช้บังคับไม่ได้
กล้วยไม่ใช่พืชที่อายุสั้น ส่วนพืชล้มลุกไม่ใช่พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน กล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่พืชไร่ตามนิยามข้างต้น โจทก์ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นกล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่ผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ
เมื่อการเช่าที่ดินของโจทก์ไม่ใช่การเช่านา การที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดราชบุรี วินิจฉัยว่า การเช่าที่ดินของโจทก์เป็นการเช่านาจึงเป็นการขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อปลูกไม้ยืนต้นไม่เข้าข่ายการเช่าเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ
สภาพของที่ดินพิพาทมีไม้ยืนต้นปลูกอยู่เต็มพื้นที่ ลักษณะของการปลูกต้นไม้ในที่ดินพิพาทเป็นการปลูกไม้ยืนต้นเป็นหลักที่ว่างระหว่างไม้ยืนต้นซึ่งใช้ปลูกพืชสวนครัวเป็นส่วนประกอบไปด้วยตามสภาพของที่ว่าง เช่นนี้ย่อมมิใช่การมุ่งหมายใช้ที่ดินพิพาทปลูกพืชไร่เป็นพืชหลัก เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในการปลูกไม้ยืนต้น มิได้เช่าทำนาหรือปลูกพืชไร่การเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สามารถอ้างการเช่าที่ดินพิพาทซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อต่อสู้คดีว่าการเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนดเวลา 6 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม: การใช้ที่ดินปลูกโรงเรือนไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพที่นา
ที่ดินส่วนที่ ช.ผู้เช่านาปลูกโรงเรือนมีเนื้อที่ประมาณ 40ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินทั้งแปลงที่มีเนื้อที่ 19 ไร่ 25 ตารางวาที่ ช.เช่าทำนา แม้ ช.ถมดินในการปลูกโรงเรือนและปลูกต้นไม้บางต้น แต่ที่ดินที่ ช.ใช้ในการปลูกโรงเรือนดังกล่าวยังคงเป็นที่นาอยู่ หาได้เปลี่ยนแปลงสภาพที่นาเป็นที่อยู่อาศัยไม่ ที่นาพิพาทที่เช่าเพื่อทำนานั้นจึงถือได้ว่าเป็นที่นาทั้งแปลง ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินจะใช้เป็นที่ปลูกโรงเรือนอยู่อาศัยหรือไม่ และตามคำนิยามคำว่า "นา" ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 21ก็ให้ความหมายว่า "ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่" ซึ่งแสดงว่าที่ดินส่วนที่ไม่ได้ใช้ทำนาก็ยังคงเป็นที่นาอยู่ ดังนี้การกระทำของ ช.จึงมิใช่เป็นการใช้ที่นาพิพาทเพื่อการอย่างอื่นนอกจากการทำนาหรือทำให้สภาพของที่นาพิพาทเปลี่ยนแปลง โจทก์ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 31 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเปลี่ยนประเภทเป็นการเลี้ยงปลา ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เพื่อทำนาแต่ต่อมาได้เปลี่ยนลักษณะการเช่านามาทำเป็นบ่อเลี้ยงปลาอันเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นซึ่งยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้เช่าได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการเช่านาการบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯโจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อปลูกกล้วยไม้ไม่เข้าข่าย 'พืชไร่' ตามพรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
จำเลยเช่าที่ดินปลูกต้นกล้วยไม้พันธุ์หวายต้นกล้วยไม้ดังกล่าวไม่ใช่พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน12เดือนจึงไม่ใช่พืชไร่และมิใช่การทำนาตามความหมายของมาตรา21พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินปลูกกล้วยไม้ไม่เข้าข่ายพืชไร่หรือทำนา จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินปลูกต้นกล้วยไม้พันธุ์หวาย ต้นกล้วยไม้ดังกล่าวไม่ใช่พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน12 เดือน จึงมิใช่พืชไร่ และมิใช่การทำนาตามความหมายของมาตรา 21 พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8370/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินทำบ่อเลี้ยงปลาไม่เข้าข่ายการเช่านาตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ได้รับการคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองและมาตรา 248 วรรคสอง คดีจึงอุทธรณ์ฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย และการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แต่ ก. มารดาเป็นผู้เช่าและเป็นการเช่าเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลา
การเช่าที่ดินเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่านาตามความหมายในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาโดยอาศัย มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติ-ดังกล่าว กำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเป็นการเช่าที่ดินที่ต้องมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การที่จำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาจึงไม่ได้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ใช้เป็นตลาดนัด สัญญาอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
แม้ตามสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำกับจำเลยมีคำว่าเช่าเพื่อ "ทำการเกษตร" และโจทก์เองก็รับว่า ในตอนทำสัญญาตกลงว่าจำเลยเช่าเพื่อปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่างทำการเกษตร แต่เมื่อจำเลยได้ใช้ที่ดินพิพาททำเป็นตลาดนัดสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนโคกระบือ ไม่เคยเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ในที่ดินพิพาทเลย จะถือว่าจำเลยเป็นผู้เช่านาและได้ทำนาในที่ดินพิพาทตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 5,21 หาได้ไม่ จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 31 สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการเช่าที่ต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
of 4