พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน การคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคา และค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์สิน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ได้นำงานบางส่วนไปให้โจทก์ดำเนินการ ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 กำหนดว่า เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 4 แล้ว ให้บรรดางานที่จำเลยที่ 4 ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำไปไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างตกเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 4 แต่การที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์นำเข้าไปดำเนินการ โจทก์ย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และกรรมสิทธิ์ของโจทก์จะสิ้นสุดลงได้โดยบทบัญญัติของกฎหมายหรือโดยโจทก์ทำนิติกรรมให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป ซึ่งโจทก์มิได้ทำนิติกรรมให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 หรือจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ทำสัญญากันดังกล่าวข้างต้น ก็มีผลเฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 เท่านั้น จำเลยที่ 4 จะยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้มอบหมายหาได้ไม่ สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิเฉพาะคู่สัญญา มิได้ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าวให้แก่โจทก์
เมื่อโจทก์จะเข้าไปรื้อถอนทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ห้ามและขัดขวางมิให้โจทก์เข้ารื้อถอนโดยอ้างสิทธิตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ข้างต้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้นได้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จึงต้องคืนทรัพย์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในการใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 427
ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะต้องคืนให้โจทก์คืนแผ่นเหล็กและเสาเข็ม เมื่อระยะเวลานับแต่เกิดข้อพิพาทจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 8 ปี ทรัพย์สินของโจทก์น่าจะเสื่อมสภาพไปจนพ้นวิสัยที่จะคืนในสภาพที่ใช้งานได้ดังเดิมเพื่อมิให้เกิดปัญหาให้ชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาให้แก่โจทก์โดยไม่กำหนดให้คืนทรัพย์สิน
เมื่อโจทก์จะเข้าไปรื้อถอนทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ห้ามและขัดขวางมิให้โจทก์เข้ารื้อถอนโดยอ้างสิทธิตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ข้างต้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้นได้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จึงต้องคืนทรัพย์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในการใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 427
ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะต้องคืนให้โจทก์คืนแผ่นเหล็กและเสาเข็ม เมื่อระยะเวลานับแต่เกิดข้อพิพาทจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 8 ปี ทรัพย์สินของโจทก์น่าจะเสื่อมสภาพไปจนพ้นวิสัยที่จะคืนในสภาพที่ใช้งานได้ดังเดิมเพื่อมิให้เกิดปัญหาให้ชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ราคาให้แก่โจทก์โดยไม่กำหนดให้คืนทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524-3525/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยชายคา/กันสาด: ประเด็นความไม่ชัดเจนของฟ้อง และอายุความสิทธิเจ้าของที่ดิน
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งถึงลักษณะสภาพและขนาดของอาคาร ที่จำเลยฎีกาว่าตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2493 ให้ความหมายของคำว่า ชายคาและกันสาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน การที่โจทก์ทั้งสี่บรรยายคำฟ้องยืนยันว่าจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเฉพาะชายคาชั้นสองจึงเป็นคำบรรยายฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะสิ่งที่โจทก์ทั้งสี่กล่าวอ้างนั้นโดยแท้จริงมีสภาพเป็นกันสาดคอนกรีตที่ยื่นออกไปกันน้ำฝนไหลย้อนผนังอาคารด้านหลัง ไม่ใช่ชายคาหรือหลังคาตามฟ้องนั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524-3525/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีโดยจงใจ และการฟ้องรื้อถอนสิ่งรุกล้ำที่ดินไม่ขาดอายุความ
ศาลนัดสืบพยานจำเลยเวลา 9 นาฬิกา และได้รออยู่จนถึงเวลา 10.40 นาฬิกา แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้รับมอบอำนาจของจำเลยมาศาลล่าช้าเพราะทนายจำเลยป่วย และผู้รับมอบอำนาจของจำเลยเดินทางไปรับคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่บ้านของทนายจำเลยซึ่งอยู่ห่างจากศาลมาก เนื่องจากผู้รับมอบอำนาจของจำเลยทราบเรื่องจากทนายจำเลยตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา ทนายจำเลยสามารถให้ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยมาแถลงต่อศาลด้วยวาจาได้ และช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเร่งด่วนของการจราจรที่ติดขัดอันเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งทนายจำเลยย่อมคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าผู้รับมอบอำนาจของจำเลยไม่สามารถไปศาลได้ทันภายในเวลา 9 นาฬิกา ถือว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ และไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสี่โดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสี่โดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรมที่ดินกรณีโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน และอายุความในการฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดิน
การออกโฉนดที่ดินเป็นงานที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมที่ดิน เมื่อโจทก์เห็นว่าการออกโฉนดที่ดิน คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมที่ดินได้ แม้ป.ที่ดิน มาตรา 61 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2428 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จะมีบทบัญญัติให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กฎหมายประสงค์จะกระจายอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดได้ด้วยเท่านั้น ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการออกโฉนดที่ดินฟ้องกรมที่ดินแต่อย่างใด
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เลขที่ 3816 ในส่วนรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินพิพาทของผู้ตาย ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น แม้จะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เลขที่ 3816 ในส่วนรุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินพิพาทของผู้ตาย ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น แม้จะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ การคำนวณปริมาตร และอำนาจฟ้องของหน่วยงานรัฐ
คำฟ้องในส่วนเกี่ยวกับความเสียหายบรรยายว่าจำเลยทั้งสองระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจำนวนสองครั้ง แต่ละครั้งคิดเป็นพื้นที่เท่าใดและปริมาตรเท่าใด รวมทั้งปริมาตรหินที่จำเลยทั้งสองเอาไปเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันคืนหินแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ให้ชดใช้ราคาพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนวิธีการคำนวณหาปริมาตรหินดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินเกินบัญชีจากความผิดพลาดของธนาคาร: สิทธิเรียกร้องคืนและอายุความ
พนักงานของธนาคารโจทก์บันทึกรายการในบัญชีเงินฝากของจำเลยซ้ำกัน2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีของจำเลยสูงกว่าความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไป เมื่อจำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์มิได้รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมานั้นเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์และโจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์มิได้รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมานั้นเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์และโจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินเกินบัญชีจากความผิดพลาดของธนาคาร: สิทธิในการติดตามเอาคืน
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคารโจทก์ สัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากให้จำเลยเพียงเท่าจำนวนเงินที่โจทก์รับฝากไว้จากจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 การที่พนักงานของโจทก์บันทึกรายการในบัญชีของจำเลยซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีสูงกว่าความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยอาศัยความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานโจทก์ เป็นการกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์ เงินที่จำเลยเบิกถอนไปจากโจทก์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ได้รับไปโดยไม่ชอบจากความผิดพลาดของเจ้าหนี้ ไม่ขาดอายุความ
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคารโจทก์ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ การที่พนักงานของโจทก์บันทึกรายการรับฝากเงินเข้าบัญชีของจำเลยซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีของจำเลยมีจำนวนเกินไปจากความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยอาศัยความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานโจทก์เงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อจำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากจำเลยผู้ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตก่อสร้างอาคารเมื่อกฎกระทรวงควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินหมดอายุ และประเด็นการลงลายมือชื่อของผู้ถือกรรมสิทธิ์
ตามหนังสือที่กรมการผังเมืองมีถึงโจทก์ระบุว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 63(พ.ศ. 2532) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2537 และมีการประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 169(พ.ศ. 2537) และฉบับที่ 211 (พ.ศ. 2538) ขยายอายุการใช้บังคับกฎกระทรวง ฉบับที่ 63ฯ ออกไปอีกฉบับละ 1 ปี รวม 2 ปี ซึ่งมีผลใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 63ฯ มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 20585 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540 การยื่นคำขอของโจทก์จึงเป็นการยื่นภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 63ฯ สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว พื้นที่บริเวณที่ดินของโจทก์ที่ขออนุญาตก่อสร้างอาคารจึงไม่มีกฎหมายใด ๆ กำหนดว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตพื้นที่สีเขียวอ่อน ซึ่งห้ามเจ้าของที่ดินก่อสร้างอาคาร โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอยที่ดินของโจทก์ได้ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของโจทก์ หากโจทก์ได้ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารโดยถูกต้อง
ตามโฉนดเลขที่ 20585 มีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม 2 คน คือ โจทก์กับ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ แต่ บ. ได้ถึงแก่กรรมแล้ว และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. แม้โจทก์จะลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยไม่ได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมด้วย แต่จำเลยรับคำขอของโจทก์ไว้พิจารณาพร้อมทั้งสั่งให้โจทก์แก้ไขแบบและส่งหลักฐานเพิ่มเติม โดยมิได้โต้แย้งว่าผู้ขออนุญาตลงลายมือชื่อไม่ครบ แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเรื่องเจ้าของที่ดินลงลายมือชื่อไม่ครบทุกคนเป็นสาระสำคัญทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยสามารถสั่งให้โจทก์จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยจะอาศัยเหตุนี้ออกคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องไม่ได้
ตามโฉนดเลขที่ 20585 มีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม 2 คน คือ โจทก์กับ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ แต่ บ. ได้ถึงแก่กรรมแล้ว และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. แม้โจทก์จะลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยไม่ได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมด้วย แต่จำเลยรับคำขอของโจทก์ไว้พิจารณาพร้อมทั้งสั่งให้โจทก์แก้ไขแบบและส่งหลักฐานเพิ่มเติม โดยมิได้โต้แย้งว่าผู้ขออนุญาตลงลายมือชื่อไม่ครบ แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเรื่องเจ้าของที่ดินลงลายมือชื่อไม่ครบทุกคนเป็นสาระสำคัญทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยสามารถสั่งให้โจทก์จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยจะอาศัยเหตุนี้ออกคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905-4927/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยโดยไม่ชอบตามกฎหมายและอายุความการฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจรับโอนจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างประจำฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ มาเป็นพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 ต่อมาโจทก์ออกข้อบังคับสถาบันการบินพลเรือนว่าด้วยสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชยของพนักงาน พ.ศ. 2539 ให้มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่จำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยมีบทเฉพาะกาลว่าพนักงานที่รับโอนมาจากกรมการบินพาณิชย์ เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยโดยนับระยะเวลาการทำงานต่อเนื่อง การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยที่ครบเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายน 2536 โดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิได้รับตามข้อบังคับข้างต้นซึ่งโจทก์เชื่อว่าเป็นระเบียบข้อบังคับที่ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งที่แท้จริงแล้วจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเพราะการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 ไม่มีผลใช้บังคับ จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับค่าชดเชยเนื่องจากโจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงเป็นการได้รับมาในฐานลาภมิควรได้ ไม่ใช่กรณีจำเลยยึดถือค่าชดเชยไว้โดยไม่มีสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิติดตามเอาค่าชดเชยคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกเอาค่าชดเชยคืนจากจำเลยได้ตามมาตรา 406 โดยโจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตามมาตรา 419 เมื่อผู้ว่าการของโจทก์ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รับทราบหนังสือกระทรวงการคลังในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 แจ้งว่าข้อบังคับสถาบันการบินพลเรือนฉบับข้างต้นประกาศใช้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและขัดต่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 ไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยเป็นการจ่ายให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้รับ ถือได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเอาค่าชดเชยคืนจากจำเลยตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ