พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สิน (ป.พ.พ. ม.1336) ไม่ขาดอายุความ แม้มีนิติกรรมสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเนื้อที่ 113 ตารางวา เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยให้แก่จำเลย และจำเลยก็ทราบเงื่อนไขเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเป็นอย่างดี จำเลยจึงทำหนังสือรับรองว่าจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย จำเลยจึงไม่อาจถือเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของห้องชุด, สัญญาเช่า, การฟ้องขับไล่, การกำหนดค่าเสียหาย, การวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของห้องชุดพิพาทและจำเลยเช่าพื้นที่ห้องชุดดังกล่าวบางส่วนจากโจทก์ ต่อมาจำเลยผิดสัญญาเช่า ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลย เป็นการฟ้องอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าและในฐานะเจ้าของห้องชุดพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 538 แม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชำระค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้อง และมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยยังคงอาศัยในห้องชุดพิพาทได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสมาชิกภาพ สิทธิคืนเงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์อื่นที่ได้รับจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงนับแต่วันที่มีคำสั่ง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยออกจากตำแหน่งเพราะได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำไม่เป็นความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันจะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า กรณีมีเหตุอันสมควรเชื่อว่ามีบุคคลให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ทำให้การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวถือเป็นที่สุด แม้ในคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการดังกล่าวด้วยตนเองก็ตาม แต่การออกจากตำแหน่งเพราะเหตุนี้มีผลทำให้จำเลยต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นแก่โจทก์
เงินค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ และค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน นั้น จำเลยเป็นผู้เลือกผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงาน และเสนอขอให้โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งตามหนังสือยืนยัน โดยผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการแก่จำเลย ส่วนผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่จำเลยกำหนด ซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เงินค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญและค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับไปในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
จำเลยออกจากตำแหน่งเพราะได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 97 บัญญัติบังคับให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ดังกล่าวคืนได้ตลอดเวลาที่จำเลยยังคงยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความห้าปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า กรณีมีเหตุอันสมควรเชื่อว่ามีบุคคลให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ทำให้การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวถือเป็นที่สุด แม้ในคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการดังกล่าวด้วยตนเองก็ตาม แต่การออกจากตำแหน่งเพราะเหตุนี้มีผลทำให้จำเลยต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นแก่โจทก์
เงินค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ และค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงาน นั้น จำเลยเป็นผู้เลือกผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงาน และเสนอขอให้โจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งตามหนังสือยืนยัน โดยผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการแก่จำเลย ส่วนผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่จำเลยกำหนด ซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เงินค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญและค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับไปในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
จำเลยออกจากตำแหน่งเพราะได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 97 บัญญัติบังคับให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์ดังกล่าวคืนได้ตลอดเวลาที่จำเลยยังคงยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความห้าปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินค่าตอบแทน ส.ว. กรณีถูกศาลวินิจฉัยว่าเลือกตั้งไม่สุจริตและออกจากตำแหน่ง
ผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานประจำตัวเป็นผู้ช่วยในการทำหน้าที่ของจำเลยในการเป็นวุฒิสมาชิก ค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานประจำตัวก็เพื่อช่วยเหลือการทำหน้าที่ของจำเลยอันเป็นประโยชน์โดยตรงแก่จำเลย จำเลยเป็นผู้เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานประจำตัวให้โจทก์แต่งตั้ง กรณีดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นอันเนื่องมาจากการเป็นวุฒิสมาชิกตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนนี้แก่โจทก์
คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า จำเลยได้รับเลือกตั้งมามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีมติเอกฉันท์ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษใหม่แทนจำเลย ทำให้จำเลยพ้นจากสมาชิกภาพก่อนที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คมช.) จะยึดอำนาจการปกครองและประกาศฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดโดยไม่มีประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คมช.) หรือกฎหมายฉบับใดหลังจากนั้นบัญญัติห้ามมิให้ โจทก์เรียกคืนเงินดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 บัญญัติว่า การออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ภายหลังวันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง หรือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง ย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่สมาชิกผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่สมาชิก รวมทั้งการได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง หรือก่อนที่ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 145 (3) (4) และมาตรา 147 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 10 (7) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 95 (1) ทำการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่ากรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย จึงมีคำสั่งให้เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่แทนจำเลย ตามคำวินิจฉัยสั่งการคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงฟังได้ว่าการที่จำเลยออกจากตำแหน่งวุฒิสภาก็เพราะเหตุที่ได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะมีส่วนรู้เห็นกับการให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลยหรือไม่ และแม้ว่าศาลจังหวัดศรีสะเกษพิพากษายกฟ้องบุคคลที่ถูกกล่าวว่าให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย ก็ไม่เป็นเหตุให้การได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาของจำเลยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว
การเรียกคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่วุฒิสมาชิกได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภานั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินที่จำเลยได้ไปโดยไม่ชอบและโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า จำเลยได้รับเลือกตั้งมามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีมติเอกฉันท์ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษใหม่แทนจำเลย ทำให้จำเลยพ้นจากสมาชิกภาพก่อนที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คมช.) จะยึดอำนาจการปกครองและประกาศฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดโดยไม่มีประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คมช.) หรือกฎหมายฉบับใดหลังจากนั้นบัญญัติห้ามมิให้ โจทก์เรียกคืนเงินดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 บัญญัติว่า การออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ภายหลังวันที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง หรือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลง ย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่สมาชิกผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่สมาชิก รวมทั้งการได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นก่อนที่สมาชิกผู้นั้นออกจากตำแหน่ง หรือก่อนที่ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 145 (3) (4) และมาตรา 147 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 10 (7) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 95 (1) ทำการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่ากรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย จึงมีคำสั่งให้เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่แทนจำเลย ตามคำวินิจฉัยสั่งการคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงฟังได้ว่าการที่จำเลยออกจากตำแหน่งวุฒิสภาก็เพราะเหตุที่ได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะมีส่วนรู้เห็นกับการให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลยหรือไม่ และแม้ว่าศาลจังหวัดศรีสะเกษพิพากษายกฟ้องบุคคลที่ถูกกล่าวว่าให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย ก็ไม่เป็นเหตุให้การได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาของจำเลยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว
การเรียกคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่วุฒิสมาชิกได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งในกรณีที่ออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภานั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินที่จำเลยได้ไปโดยไม่ชอบและโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18514/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการประมูลตัดสิทธิสัญญาเช่าเดิม ผู้ขายมีสิทธิเรียกคืนเงินประกัน
เดิมบริษัท บ. เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ประสงค์จะเช่า แต่บริษัท บ. มีหนี้สินจำนวนมาก จึงทำหนังสือยินยอมให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ใช้สอยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำเลยที่ 1 จึงให้โจทก์เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยวางเงินประกันความเสียหายไว้ ต่อมาบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากเจ้าหนี้ของบริษัท ก. แล้วนำออกขายทอดตลาด โจทก์เข้าประมูลราคาจากการขายทอดตลาดได้ ย่อมถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าวตกแก่โจทก์ สิทธิใดๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากบริษัท ก. เจ้าของเดิมจึงหมดไป โดยไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่ามีสิทธิเหนือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่ โจทก์มีสิทธิในทรัพย์ดังกล่าวเหนือกว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่อาจกล่าวอ้างหรือแสดงสิทธิผ่านสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาและไม่ชำระค่าเช่าแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์กระทำผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิริบเงินประกันความเสียหายที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยที่ 1 กับทั้งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนเงินประกันความเสียหายแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14933/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริตหลังมีสัญญาซื้อขายแล้ว ย่อมใช้สิทธิยันผู้ซื้อรายอื่นไม่ได้
การที่โจทก์ทราบดีว่า พ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยแล้ว แต่โจทก์ยังจดทะเบียนรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 รวมทั้งที่ดินพิพาทจาก พ. โดยเสน่หาซึ่งเป็นเวลาภายหลังจาก พ. ทำหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยแล้ว จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต แม้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำมาใช้ยันจำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าหลังเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์ สิทธิเรียกร้องนั้นไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์รายใหม่
การที่บริษัท บ. โอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าอันจะพึงได้รับจากบริษัท ม. แก่โจทก์ และได้รับความยินยอมในการโอนสิทธิรับค่าเช่าดังกล่าว สิทธิและหน้าที่ข้างต้นนั้นคงผูกพันบริษัท บ. เจ้าหนี้ และบริษัท ม. ลูกหนี้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้น แต่เมื่อปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จำเลยเช่าสถานีบริการน้ำมัน ค่าเช่าที่คำนวณได้จากจำเลยได้ใช้ที่ดินนั้นย่อมเป็นดอกผลของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว บริษัท บ. ไม่มีสิทธิใดในค่าเช่าอีกต่อไป ย่อมไม่มีสิทธิโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าให้โจทก์ กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "อันว่าสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า" และวรรคสองบัญญัติว่า "ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่านั้นด้วย" เป็นสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ไม่ครอบคลุมถึงสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าเช่าด้วย การที่บริษัท บ. โอนสิทธิเรียกร้องรับเงินค่าเช่าที่มีต่อบริษัท ม. ให้แก่โจทก์สำหรับงวดปี 2544 ถึงปี 2558 หาใช่เป็นสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ต้องผูกพันด้วยไม่ หากโจทก์ต้องเสียหายเนื่องจากไม่ได้รับเงินค่าเช่าตามฟ้อง โจทก์กับบริษัท บ. มีสิทธิและหน้าที่กันอย่างไรชอบจะไปว่ากล่าวกันเอง การที่จำเลยชำระค่าเช่างวดปี 2554 แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ได้ชำระให้แก่โจทก์ซึ่งไร้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าแล้วไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21897/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่ดินที่ซื้อด้วยเงินมรดก: อำนาจฟ้องและการขาดอายุความ
โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทซึ่งอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสามในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ มิใช่กรณีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดกอันจะอยู่ภายใต้บังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามเกิน 10 ปี นับแต่มารดาโจทก์ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ภายหลังจากมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย บิดาโจทก์ได้นำทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไปซื้อที่ดินหลายแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นกรณีของการนำทรัพย์สินกองมรดกไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น แม้จะเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ดินพิพาทที่บิดาโจทก์ซื้อมาก็หาตกเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของบิดาโจทก์ ส่วนการใช้จ่ายเงินจากกองมรดกนั้น หากเกินส่วนที่ตนควรได้ไปก็เป็นเรื่องที่บิดาโจทก์จะต้องรับผิดต่อทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของมารดาโจทก์ โจทก์หาอาจที่จะมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้ไม่ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบที่ดินพิพาทคืนหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ภายหลังจากมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย บิดาโจทก์ได้นำทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไปซื้อที่ดินหลายแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นกรณีของการนำทรัพย์สินกองมรดกไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น แม้จะเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ดินพิพาทที่บิดาโจทก์ซื้อมาก็หาตกเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของบิดาโจทก์ ส่วนการใช้จ่ายเงินจากกองมรดกนั้น หากเกินส่วนที่ตนควรได้ไปก็เป็นเรื่องที่บิดาโจทก์จะต้องรับผิดต่อทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของมารดาโจทก์ โจทก์หาอาจที่จะมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้ไม่ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบที่ดินพิพาทคืนหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18346/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกทรัพย์คืนและการบังคับคดี กรณีไม่ใช่การฉ้อฉล แต่เป็นการขอให้โอนทรัพย์สิน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าการที่ ห. กับ ส. สมคบกันโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ และขอให้เพิกถอนสัญญาระหว่าง ห. กับ ส. และจำเลยเสีย คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เพราะโจทก์มีคำขอ ให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย หาใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมใดที่ทำขึ้นอันเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องขอเรียกทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15876/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รั้ว-ทางเท้าในที่ดินจัดสรร: การโอนที่ดินสาธารณประโยชน์ไม่ทำให้รั้วเดิมตกเป็นของรัฐ เจ้าของโครงการมีสิทธิฟ้อง
โจทก์ในฐานะผู้จัดสรรทำถนน ทางเท้าและรั้วคอนกรีตพิพาทล้อมรอบที่ดินของโครงการที่จัดสรรมาแต่เดิม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสัญจรและรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการโดยเฉพาะ มิได้หมายที่จะให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ถนนและทางเท้าร่วมกับผู้ซื้อที่ดินในโครงการของโจทก์อันเป็นสิทธิโดยชอบธรรมในการใช้สอยทรัพย์ซึ่งเจ้าของทรัพย์พึงมีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้โดยสภาพของถนน ทางเท้าและรั้วคอนกรีตจะเป็นทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่ดินและผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ได้โอนที่ดินให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์แล้วก็ตาม แต่เชื่อว่าได้กระทำไปเพื่อให้การเป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 44 (3) อันจะทำให้หน้าที่ในการเป็นผู้บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตกแก่หน่วยงานของรัฐเท่านั้น หากแต่ข้อเท็จจริงคงได้ความว่า โจทก์ยังเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในโครงการเช่นเดิม ทั้งขณะโจทก์โอนที่ดินให้แก่ผู้รับโอน รวมทั้งผู้รับโอนโอนที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบทุกฝ่ายทราบดีว่าเป็นเพียงการโอนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์เฉพาะที่ดินที่ใช้เป็นทางสัญจรเท่านั้น ส่วนรั้วคอนกรีตพิพาทโจทก์ยังคงสงวนไว้เพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินเช่นเดิม มิได้มีเจตนาให้โอนติดไปกับที่ดินด้วย เพราะมิได้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอื่นที่อยู่นอกที่ดินที่จัดสรร ดังนี้ ต้องถือว่าขณะที่โอนที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้โอนมีเจตนาแยกรั้วคอนกรีตพิพาทออกมาเป็นคนละส่วนกับที่ดินไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งติดไปกับที่ดินด้วย ส่วนการที่รั้วคอนกรีตพิพาทจะยังคงติดอยู่กับที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ มิได้มีการรื้อถอนแยกส่วนออกไป เมื่อปรากฏว่าหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ดูแลทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว ยังคงตระหนักว่ารั้วคอนกรีตพิพาทเป็นสาธารณูปโภคจำเป็นที่ยังต้องให้มีอยู่ต่อไป ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างรั้วพิพาทในที่ดินนั่นเอง รั้วคอนกรีตพิพาทซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างจึงเป็นทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 การที่จำเลยทั้งสองรื้อถอน ทุบ ทำลายรั้วคอนกรีตพิพาทของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
แม้การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างร้านค้าในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ แต่การที่จำเลยรื้อถอน ทุบ ทำลายรั้วคอนกรีตพิพาทของโจทก์ออก จากนั้นก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างซึ่งบางส่วนอยู่บนแนวรั้วพิพาทของโจทก์และทางเท้าในโครงการจัดสรร เมื่อคำนึงถึงสภาพและตำแหน่งของทรัพย์ที่มาจากการจัดสรรที่ดินของโจทก์ซึ่งต้องลงทุนในการพัฒนาที่ดินและสาธารณูปโภคด้วยเงินจำนวนมาก กับต้องถือว่าประชาชนที่เข้าไปซื้อที่ดินและบ้านทุกคนมีส่วนร่วมกันในการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคดังกล่าวและด้วยความหวังที่ว่าเมื่อเข้าไปอยู่อาศัยแล้วจะได้รับความสะดวกสบายมากกว่าการอยู่อาศัยในที่ดินที่มิได้มีการพัฒนาใด ๆ การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมคาดหมายได้ว่าจะทำให้โจทก์และประชาชนที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรของโจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญจนเกินสมควร โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์และผู้จัดสรรซึ่งดูแลสาธารณูปโภค ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336, 1337 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
อนึ่ง คำขอบังคับของโจทก์ที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนซุ้มประตู ประตูเหล็กและสิ่งปลูกสร้างออกจากรั้วและทางเท้าพิพาท หรือรื้อแล้วแต่กระทำไม่แล้วเสร็จ ให้โจทก์เข้าดำเนินการเองได้โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้ได้
แม้การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างร้านค้าในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ แต่การที่จำเลยรื้อถอน ทุบ ทำลายรั้วคอนกรีตพิพาทของโจทก์ออก จากนั้นก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างซึ่งบางส่วนอยู่บนแนวรั้วพิพาทของโจทก์และทางเท้าในโครงการจัดสรร เมื่อคำนึงถึงสภาพและตำแหน่งของทรัพย์ที่มาจากการจัดสรรที่ดินของโจทก์ซึ่งต้องลงทุนในการพัฒนาที่ดินและสาธารณูปโภคด้วยเงินจำนวนมาก กับต้องถือว่าประชาชนที่เข้าไปซื้อที่ดินและบ้านทุกคนมีส่วนร่วมกันในการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคดังกล่าวและด้วยความหวังที่ว่าเมื่อเข้าไปอยู่อาศัยแล้วจะได้รับความสะดวกสบายมากกว่าการอยู่อาศัยในที่ดินที่มิได้มีการพัฒนาใด ๆ การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมคาดหมายได้ว่าจะทำให้โจทก์และประชาชนที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรของโจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญจนเกินสมควร โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์และผู้จัดสรรซึ่งดูแลสาธารณูปโภค ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336, 1337 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
อนึ่ง คำขอบังคับของโจทก์ที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนซุ้มประตู ประตูเหล็กและสิ่งปลูกสร้างออกจากรั้วและทางเท้าพิพาท หรือรื้อแล้วแต่กระทำไม่แล้วเสร็จ ให้โจทก์เข้าดำเนินการเองได้โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้ได้