คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1336

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาที่ดินและค่าธรรมเนียมการโอน กรณีที่ดินติดถนนสาธารณะหรือไม่ การออกโฉนดที่ดิน
ที่ดินพิพาททิศเหนือจดที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีทิศตะวันออกจดและเชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 529 เป็นแนวยาวระดับเดียวกันจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกจดซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55) ซึ่งรูปแผนที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ระบุว่าทิศใต้จดที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ออกโฉนดปี 2537 ภายหลังจากที่ ล. กับจำเลยที่ 9 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทนานถึง 5 ปี ยังเป็นที่ดินที่เชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 เช่นเดิมจึงมิใช่ถนนซอยทองหล่อ 12 เพราะมิฉะนั้นการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องสั่งเพิกถอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 แม้ตามรูปแผนที่และสภาพที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และ 529 เจ้าของที่ดินทั้งแปลงไม่สามารถนำที่ดินทั้งสองแปลงไปทำประโยชน์ได้ นอกจากจัดมีไว้ให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกไปสู่ถนนสุขุมวิท 55 เท่านั้นก็ตาม แต่ขณะที่มีการทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และเจ้าของที่ดินส่วนที่จะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ได้อุทิศ หรือให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว จะถือว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12 หาได้ไม่ เพราะเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิติดตามเอาคืนและขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 คดีฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิขายทรัพย์สินของทายาทโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลใดโดยทายาทผู้ได้รับทรัพย์มรดกไม่ยินยอม แม้จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ทั้งห้ามาฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เพราะการที่จะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้นั้น จำเลยที่ 1 ผู้โอนจะต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว แต่การโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยมิชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริต
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท มิได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท จำเลยที่ 2 รับซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทนำรถยนต์คันพิพาทไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเข้าหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ทั้งการที่ บ. และจำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทของโจทก์มาจัดไฟแนนซ์กับบริษัท ด. ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เป็นการซื้อขายในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมาย
แม้ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์จะขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในรถยนต์คันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นออกให้แทนฉบับเดิม ก็เป็นการดำเนินการของนายทะเบียนขนส่งจังหวัดขอนแก่นตามที่ได้รับแจ้งข้อความเท็จจากจำเลยที่ 2 ถือว่าใบแทนคู่มือการจดทะเบียนเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนแต่โจทก์ก็มีคำขอให้ใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับของโจทก์มีผลใช้บังคับได้ตามเดิมศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถสำหรับรถยนต์คันพิพาทที่ออกโดยไม่ชอบนั้นได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการนำข้อเท็จจริงจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง และอายุความของการติดตามทรัพย์สิน
การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและศาลได้วินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยมีส่วนร่วมกระทำความผิดกับ ม. หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและศาลชั้นต้นก็ไม่ได้วินิจฉัยไว้ ทั้งจำเลยไม่ได้ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับ ม. จำเลยจึงไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา คดีนี้จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินของโจทก์คืนจากจำเลยเนื่องจาก ม. ปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีลูกค้าของโจทก์แล้วฝากเข้าบัญชีของจำเลย จึงเป็นการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนมาจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตั้งประตูนิรภัยกีดกั้นการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล การกระทำละเมิด และค่าเสียหาย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพิพาทแลการออกระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 อันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอาคารชุดตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 7 (1) (5) แต่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง จำเลยที่ 1 มีสิทธิเพียงจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่มีอำนาจกระทำการใดเป็นการรบกวนสิทธิหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วม แม้โจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก มิใช่ออกระเบียบเพื่อบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยที่ 1 กำหนดโดยหลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย การออกระเบียบข้อบังคับที่จะไม่ส่งมอบบัตรผ่านประตูนิรภัยให้แก่โจทก์ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันทำให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิในการใช้สอยทรัพย์ส่วนบุคคล จึงไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 ทำประตูนิรภัยปิดกั้นและไม่ยอมมอบบัตรผ่านประตูนิรภัย จึงเป็นการรบกวนสิทธิและทำให้เสื่อมความสะดวกแห่งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมในอันที่จะเข้าไปใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล ถือว่าเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตั้งประตูนิรภัยกีดกั้นการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วม ถือเป็นการละเมิด
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 4 ให้ความหมายของคำว่า "ทรัพย์ส่วนบุคคล" ว่า ห้องชุดและหมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละราย และให้ความหมายของคำว่า "ทรัพย์ส่วนกลาง" ว่า ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด และที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดพิพาทซึ่งถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพิพาทและออกระเบียบข้อบังคับในอันที่จะจัดการและดำเนินการเพื่อความปลอดภัยดูแลกิจการต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอาคารชุดก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า "นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้" จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเพียงจัดการ ดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น หามีอำนาจกระทำการใดเป็นการรบกวนสิทธิหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วมไม่แม้จะได้ความว่าโจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก หาใช่ออกระเบียบเพื่อบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยที่ 1 กำหนดโดยหลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมายไม่ การที่จำเลยที่ 1 ติดตั้งประตูนิรภัยบริเวณด้านหน้าลิฟต์และบันไดของอาคารชุด โดยกำหนดระเบียบว่าจะส่งมอบบัตรผ่านประตูให้แก่เจ้าของร่วมที่ได้ติดค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเท่านั้น การออกระเบียบข้อบังคับเช่นนี้ทำให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิในการใช้สอยทรัพย์ส่วนบุคคล จึงไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้ทั้งเป็นการรบกวนสิทธิและทำให้เสื่อมความสะดวกแห่งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมในอันที่จะเข้าไปใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล กรณีถือว่าเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในผลแห่งละเมิดที่ตนทำขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารชุด vs. อำนาจหน้าที่นิติบุคคลอาคารชุด กรณีจำกัดสิทธิการเข้าใช้ทรัพย์สิน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดพิพาทจำนวน 5 ห้อง ซึ่งถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพิพาทและการออกระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการและดำเนินการเพื่อความปลอดภัยดูแลกิจการต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอาคารชุดตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 7 (1) (5) ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง จำเลยที่ 1 มีสิทธิเพียงจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น และหามีอำนาจกระทำการใดเป็นการรบกวนสิทธิหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วมไม่ แม้จะได้ความว่าโจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก หาใช่ออกระเบียบเพื่อบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยที่ 1 กำหนดโดยหลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมายไม่ การออกระเบียบข้อบังคับที่จะไม่ส่งมอบบัตรผ่านประตูนิรภัยให้แก่โจทก์ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันทำให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิในการใช้สอยทรัพย์ส่วนบุคคลเช่นนี้ จึงไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำประตูนิรภัยปิดกั้นดังกล่าวและไม่ยอมมอบบัตรผ่านประตูนิรภัย จึงเป็นการรบกวนสิทธิและทำให้เสื่อมความสะดวกแห่งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมในอันที่จะเข้าไปใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล กรณีถือว่าเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในผลแห่งละเมิดที่ตนทำขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3547/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำไม่ใช่เอกสารสิทธิแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ใบอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เป็นเพียงคำสั่งอนุญาตของเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 ที่ให้สร้างท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส แม้ใบอนุญาตดังกล่าวจะระบุชื่อจำเลยผู้ขออนุญาต แต่ก็มีเงื่อนไขว่าผู้รับอนุญาตจะต้องเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงไว้ในอนุญาต ถ้ามิได้จัดการตามคำขอภายในกำหนดจะต้องมาขอนุญาตใหม่ รวมทั้งมีเงื่อนไขระบุให้กรมเจ้าท่ามีสิทธิเรียกใบอนุญาตคืนได้ทุกเมื่อถ้ามีเหตุอย่างใดเกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าใบอนุญาตเช่นนี้สามารถออกใหม่ได้หรือถูกเรียกคืนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีข้อความที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สะพานปลาท่าเทียบเรือประมงพิพาท ใบอนุญาตให้ทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำดังกล่าวจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิที่แสดงว่าสะพานปลาท่าเทียบเรือประมงพิพาทเป็นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีผู้รับขนส่งไม่ได้ส่งมอบสินค้า ถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืน ไม่มีอายุความ
โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยรับขนสินค้าไปส่งมอบให้วิทยาลัยการอาชีพ ท. จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์แล้วแต่มิได้นำสินค้าไปส่งมอบให้ตามสัญญา โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้แก่วิทยาการอาชีพ ท. อีกครั้ง และนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกก็เท่ากับราคาสินค้าของโจทก์ที่ได้มอบให้จำเลยไป จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความฟ้องร้องอีกทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าได้นำสินค้าของโจทก์ไปส่งมอบให้แก่ผู้รับแล้ว มิได้ต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ขนส่งที่นำไปเป็นของตนเอง ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยขนส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้า จำเลยนำสินค้าไปเป็นของตนเอง โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้ลูกค้าอีกครั้งทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกเอาก็เท่ากับราคาสินค้าที่ได้มอบให้จำเลยไปจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความฟ้องร้อง ทั้งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความตามมาตรา 624 มาใช้บังคับได้
of 117