พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7444/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องนับจากวันที่ส่งคำบังคับ ไม่ใช่วันที่พ้นกำหนดปฏิบัติตามคำบังคับ
พนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 การส่งคำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองดังนั้น คำบังคับที่ส่งให้แก่จำเลย จึงมีผลในวันที่ 18 กันยายน 2540 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่การส่งคำบังคับตามคำพิพากษามีผล จึงครบกำหนดในวันที่ 2 ตุลาคม 2540จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ล่วงระยะเวลา 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าคำขอให้พิจารณาใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา หาได้บัญญัติให้นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับเข้าไว้ด้วยไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าคำขอให้พิจารณาใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา หาได้บัญญัติให้นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับเข้าไว้ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดี การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนดเวลา และเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยศาลชั้นต้นส่ง คำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2540 โดยวิธีปิดคำบังคับ คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ดังนั้น คำบังคับจึงเริ่มมีผลใช้ได้ในวันที่ 5 มกราคม 2541 หากจำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 กล่าวคือ วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่จะยื่นได้คือวันที่ 20 มกราคม 2541 จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนด ระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว ทั้งในคำขอมิได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้ไม่อาจยื่นคำขอได้ภายในกำหนด กลับกล่าวอ้างถึงเหตุที่จำเลยไม่ทราบว่าจะมาศาลวันไหน ไม่ทราบว่าจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่ในวันที่ศาลนัดพิจารณา เนื่องจากทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัว เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่อาจแสดงว่าจำเลย มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเท่านั้น มิใช่เหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่ง ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเสียโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและอำนาจพิเศษ: การนับระยะเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพบริวาร
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่กำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) นั้น ไม่ใช่เอกสารที่จะต้องส่งให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 67 และไม่ใช่บรรดาคำฟ้อง หมายเรียก และหมายอื่น ๆ คำสั่งคำบังคับของศาลตามมาตรา 70 ที่จะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น กำหนดที่ให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 15 วัน ไปเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) มิได้บัญญัติบังคับไว้เด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้ ดังนั้น แม้ว่าบ้านและที่ดินจะเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยบ้านและที่ดินยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย ไม่อาจร้องขอให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้อง และเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความเลยใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะฉะนั้นตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยการปิดหมายและการถือว่าคู่ความทราบวันนัดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2 กุมภาพันธ์ 2538 โดยได้มีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทั้งสองทราบนัดโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลที่สำนักทำการงานเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2537 ทั้งแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบ โดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามฟ้องด้วยเมื่อวันที่ 15 มกราคม2538 แต่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มาฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อการปิดหมายแจ้งวัดนัดให้ทราบตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยวิธีอื่นแทน ทำให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่ได้ปิดหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ฉะนั้นสำหรับทนายจำเลยทั้งสองจึงต้องถือว่าได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยชอบตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2538 ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2ถือว่าได้ทราบวันนัดโดยชอบตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2538 เมื่อคู่ความไม่มีฝ่ายใดมาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2538 การที่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งรายงานไว้ด้านหลังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้งดการอ่าน โดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโดยชอบด้วยกฎหมายในวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2538 นั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้น คำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุดนับแต่วันที่ 3 มีนาคม 2538 เป็นต้นมาแล้ว การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2538 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งขณะนั้นคดีมิได้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจทั่วไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีและการถือว่าคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อไม่ฎีกาภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2กุมภาพันธ์2538โดยได้มีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทั้งสองทราบนัดโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลที่สำนักทำการงานเมื่อวันที่29ธันวาคม2537ทั้งแจ้งวันนัดให้จำเลยที่1และที่2ทราบโดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามฟ้องด้วยเมื่อวันที่15มกราคม2538แต่ปรากฎว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มาฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วเมื่อปิดหมายแจ้งวันนัดให้ทราบตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยวิธีอื่นแทนทำให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่ได้ปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองฉะนั้นสำหรับทนายจำเลยทั้งสองจึงต้องถือว่าได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยชอบตั้งแต่วันที่มกราคม2538ส่วนจำเลยที่1และที่2ถือว่าได้ทราบวันนัดโดยชอบตั้งแต่วันที่31มกราคม2538เมื่อคู่ความไม่มีฝ่ายใดมาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2กุมภาพันธ์2538การที่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งรายงานไว้ด้านหลังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้งดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโดยชอบด้วยกฎหมายในวันที่2กุมภาพันธ์2538นั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา140(3)วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุดนับแต่วันที่3มีนาคม2538เป็นต้นมาแล้วการที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่26มิถุนายน2538ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่และเมื่อจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งขณะนั้นคดีมิได้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจทั่วไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ และผลกระทบต่อการล้มละลาย รวมถึงข้อผิดพลาดในการพิจารณาคดี
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วนั้น มีความว่า ข้อ 1. ลูกหนี้ที่ 2 ยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130 (1)-(7) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยเต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ข้อ 2 นอกจากหนี้ที่กล่าวในข้อ 1 ลูกหนี้ที่ 2 ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้มีกำหนดดังนี้ คือ งวดแรกชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ภายในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 1 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน โดยมีกำหนด 4 เดือน ต่อ 1 งวด ข้อ 3.หนี้ตามข้อ 1. และ 2. นั้น ลูกหนี้ที่ 2 จะชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 จำนวน 10 รายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วจำนวน 9 ราย แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 คดียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นเพียงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมตามมาตรา 130 (4) กับจำนวนเงินที่ต้องวางชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ข้อ 1. และข้อ 2. เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 นี้เท่านั้น แต่สำหรับค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130 (1)-(7) และจำนวนที่ต้องชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งเก้ารายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้ว มิใช่ไม่อาจคำนวณได้ และหากต้องรอให้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทุกรายถึงที่สุดก่อนย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ในรายที่คดีถึงที่สุดซึ่งจะทำให้ได้รับชำระหนี้ล่าช้าออกไป ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งกำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งลูกหนี้ที่ 2 จะนำเหตุที่คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 3 ยังไม่ถึงที่สุดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้เสียทั้งหมดเลยหาได้ไม่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 ก็ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการวางเงินโดยอ้างว่ากำลังรวบรวมเงินอยู่ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้โอกาสให้เลื่อนการวางเงินออกไปตามที่ลูกหนี้ที่ 2 ขอแต่เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้ที่ 2 กลับเพิกเฉยเสีย ย่อมเป็นข้อแสดงว่าลูกหนี้ที่ 2ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ที่ 2 ล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด และคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่ 2 โดยในวันนัดลูกหนี้ที่ 2 ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันปิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติ-ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้ และถือว่าลูกหนี้ที่ 2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตาม แต่ต่อมาลูกหนี้ที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ได้รับผลเสียหายใด ๆ จากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด และคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่ 2 โดยในวันนัดลูกหนี้ที่ 2 ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันปิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติ-ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้ และถือว่าลูกหนี้ที่ 2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตาม แต่ต่อมาลูกหนี้ที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้ว ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ได้รับผลเสียหายใด ๆ จากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: การชำระหนี้ตามสัดส่วน และผลของการผิดนัดชำระหนี้
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ที่2ซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วนั้นมีความว่าข้อ1.ลูกหนี้ที่2ยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483โดยเต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ข้อ2นอกจากหนี้ที่กล่าวในข้อ1ลูกหนี้ที่2ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้มีกำหนดดังนี้คืองวดแรกชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ภายในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน1ปีโดยแบ่งออกเป็น3งวดงวดละเท่าๆกันโดยมีกำหนด4เดือนต่อ1งวดข้อ3.หนี้ตามข้อ1.และ2.นั้นลูกหนี้ที่2จะชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่2จำนวน10รายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วจำนวน9รายแม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3คดียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นเพียงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมตามมาตรา130(4)กับจำนวนเงินที่ต้องวางชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ข้อ1.และข้อ2.เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3นี้เท่านั้นแต่สำหรับค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)และจำนวนที่ต้องชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งเก้ารายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วมิใช่ไม่อาจคำนวณได้และหากต้องรอให้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทุกรายถึงที่สุดก่อนย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ในรายที่คดีถึงที่สุดซึ่งจะทำให้ได้รับชำระหนี้ล่าช้าออกไปทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งกำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งลูกหนี้ที่2จะนำเหตุที่คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3ยังไม่ถึงที่สุดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้เสียทั้งหมดเลยหาได้ไม่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่3นำเงินค่าธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2ก็ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการวางเงินโดยอ้างว่ากำลังรวบรวมเงินอยู่และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้โอกาสให้เลื่อนการวางเงินออกไปตามที่ลูกหนี้ที่2ขอแต่เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้ที่2กลับเพิกเฉยเสียย่อมเป็นข้อแสดงว่าลูกหนี้ที่2ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ที่2ผิดนักไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ที่2ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา60วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2เด็ดขาดและคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่2โดยในวันนัดลูกหนี้ที่2ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันผิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15วันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่2ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้และถือว่าลูกหนี้ที่2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตามแต่ต่อมาลูกหนี้ที่2ได้ยื่นอุทธรณ์แสดงว่าลูกหนี้ที่2ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้วลูกหนี้ที่2จึงไม่ได้รับผลเสียหายใดๆจากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับโดยการปิดประกาศและการนับกำหนดเวลาคำขอพิจารณาใหม่ในคดีที่จำเลยมีภูมิลำเนาไม่แน่นอน
จำเลยที่2มีภูมิลำเนาไม่แน่นอนและโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยที่2มีภูมิลำเนาอยู่แห่งใดการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่2ไม่สามารถจะทำได้ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่2โดยการประกาศหนังสือพิมพ์และปิดประกาศคำบังคับให้จำเลยที่2ทราบที่หน้าศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคหนึ่ง การปิดประกาศคำบังคับที่หน้าศาลมีผลใช้ได้เมื่อกำหนด15วันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสอง ศาลชั้นต้นปิดประกาศคำบังคับให้จำเลยทราบเมื่อวันที่9กันยายน2534ถือว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยที่2แล้วเมื่อวันที่24กันยายน2534และเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่2เป็นคดีล้มละลายเนื่องจากจำเลยที่2ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จำเลยที่2เป็นผู้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยตนเองเมื่อวันที่5มีนาคม2535การที่จำเลยที่2ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่10เมษายน2535จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาแก่จำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันปิดประกาศคำบังคับ หากล่าช้าต้องระบุเหตุผล
เมื่อมีการปิดประกาศคำบังคับหน้าศาลวันที่8ตุลาคม2535คำบังคับจะมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา15วันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองหากจำเลยจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน15วันนับจากวันที่24ตุลาคม2535ถ้าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวก็จำต้องระบุเหตุแห่งการที่ยื่นคำขอมาล่าช้าแต่คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยลงวันที่25มกราคม2536ซึ่งเกินกำหนดเวลาดังกล่าวและมิได้ระบุเหตุผลที่ยื่นล่าช้ากำหนดเวลาที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่กรณีนี้หาใช่หกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นไม่