พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าปลอม และการคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ
การเอาชื่อ รูป และรอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้านมข้นหวานในจำพวก 29 มาใช้โดยทำให้ปรากฏที่กล่องหรือลังกระดาษสำหรับบรรจุ ซึ่งเท่ากับเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านมกระป๋องดังกล่าวโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่อยู่ในกล่องกระดาษหรือลังดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมถือได้ว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 บัญญัติไว้เป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น การเอาชื่อ รูป หรือรอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 (1) นั้น จึงต้องเป็นการเอาชื่อ รูป หรือรอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น เพราะหากเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าดังที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 บัญญัติไว้เป็นบทเฉพาะซึ่งมีระวางโทษหนักกว่า
เมื่อการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ร่วมมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้อีก แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ไม่ใช่เรื่องการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมคุณภาพของอาหารเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ความผิดฐานจำหน่ายอาหารปลอมตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 59 ประกอบมาตรา 25 (2) และ 27 จึงเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ ไม่อาจอุทธรณ์ในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
แม้ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรปลอมได้ ก็ต้องริบนมกระป๋องตรามะลิปลอมของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115
เมื่อการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ร่วมมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้อีก แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ไม่ใช่เรื่องการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมคุณภาพของอาหารเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ความผิดฐานจำหน่ายอาหารปลอมตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 59 ประกอบมาตรา 25 (2) และ 27 จึงเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานนี้ ไม่อาจอุทธรณ์ในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
แม้ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรปลอมได้ ก็ต้องริบนมกระป๋องตรามะลิปลอมของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: อาหารปลอมและเครื่องหมายการค้าปลอม มีเจตนาเดียวคือจำหน่ายอาหารปลอม
การที่จำเลยมีอาหารปลอมหรืออาหารที่ไม่ได้มาตรฐานไว้เพื่อจำหน่าย โดยที่สินค้านั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมติดอยู่ ก็ด้วยเจตนาเดียวคือประสงค์จะมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่การกระทำความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดี พ.ร.บ.อาหาร: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจำหน่ายสินค้าเครื่องหมายการค้าปลอมและอาหารปลอม ความรับผิดของจำเลยร่วม
ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108,110และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25,27,59 เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยที่ 2 ถูกจับจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 120
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งมีโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยที่อาหารดังกล่าวมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวที่ประสงค์จะจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งมีโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยที่อาหารดังกล่าวมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวที่ประสงค์จะจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเครื่องหมายการค้าปลอม ความรับผิดของกรรมการบริษัท และการพิจารณาโทษ
ความผิดที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง กรุงเทพมหานคร และสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยที่ 2 ถูกจับ จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้นั้นต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งมีโจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหารฯ
การที่จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่าย โดยที่อาหารดังกล่าวนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวว่าประสงค์จำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้นั้นต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งมีโจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหารฯ
การที่จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่าย โดยที่อาหารดังกล่าวนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวว่าประสงค์จำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาหารปลอม: การบรรยายฟ้องที่สมบูรณ์ และการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปใจความได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตอาหารประเภทเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห้งที่ต้องละลายก่อนบริโภคบรรจุซองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 65(พ.ศ. 2525) ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของเครื่องดื่มเกลือแร่ 1 ลิตร ต้องมีปริมาณโซเดียม40มิลลิอิควิวาเลนท์แต่เครื่องดื่มเกลือแร่ที่จำเลยทั้งสองผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายมีปริมาณโซเดียมมากถึง115มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อเครื่องดื่มเกลือแร่1 ลิตร มีปริมาณโซเดียมเกินกว่าร้อยละ 187.5 จากเกณฑ์สูงสุดตามกฎหมาย จึงเป็นอาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ถึงขนาดส่วนประกอบที่เป็นคุณค่าทางอาหารมีปริมาณเกินกว่าร้อยละ 30 จากเกณฑ์สูงสุดและแตกต่างจากคุณภาพหรือมาตรฐานที่ระบุไว้จนทำให้เกิดโทษหรืออันตรายแก่ร่างกายผู้บริโภคอันเป็นอาหารปลอมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มิได้บรรยายว่าเมื่อบริโภคโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากตามฟ้องแล้วจะทำให้ผู้บริโภคได้รับโทษหรืออันตรายอย่างไร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาหากจำเลยให้การปฏิเสธ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยทั้งสองจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โซเดียมจำนวนตามที่โจทก์ฟ้องไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายหรือไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ซึ่งมิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตเครื่องดื่มเกลือแร่เกินมาตรฐานตามกฎหมาย และการรับสารภาพที่ผูกพันในชั้นพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปใจความได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตอาหารประเภทเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห่งที่ต้องละลายก่อนบริโภคบรรจุซองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 65(พ.ศ. 2525) ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของเครื่องดื่มเกลือแร่ 1 ลิตร ต้องมีปริมาณโซเดียม40มิลลิอิควิวาเลนท์ แต่เครื่องดื่มเกลือแร่ที่จำเลยทั้งสองผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายมีปริมาณโซเดียมมากถึง115 มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อเครื่องดื่มเกลือแร่ 1 ลิตร มีปริมาณโซเดียมเกินกว่าร้อยละ 187.5 จากเกณฑ์สูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ถึงขนาดส่วนประกอบที่เป็นคุณค่าทางอาหารมีปริมาณเกินกว่าร้อยละ 30 จากเกณฑ์สูงสุดและแตกต่างจากคุณภาพหรือมาตรฐานที่ระบุไว้จนทำให้เกิดโทษหรืออันตรายแก่ร่างกายผู้บริโภค อันเป็นอาหารปลอมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มิได้บรรยายว่าเมื่อบริโภคโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากตามฟ้องแล้วจะทำให้ผู้บริโภคได้รับโทษหรืออันตรายอย่างไร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาหากจำเลยให้การปฏิเสธ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยทั้งสองจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า โซเดียมจำนวนตามที่โจทก์ฟ้องไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายหรือไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ซึ่งมิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉลากอาหารไม่ถูกต้อง ศาลพิจารณาเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค และการผลิตอาหารควบคุมเฉพาะที่ไม่ตรงตามทะเบียน
ฉลากอาหารกระป๋องที่จำเลยผลิตไม่ถูกต้องเฉพาะเลขทะเบียนซึ่งระบุที่ฉลากโดยเลขทะเบียนที่ระบุที่ฉลากอาหาร 2 รายการแรกเป็นของผู้อื่น ส่วนเลขทะเบียนที่ระบุที่ฉลากอาหาร 3 รายการหลังเป็นของจำเลย แต่เป็นเลขทะเบียนอาหารชนิดอื่นที่จำเลยได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหารแล้ว ดังนี้จำเลยหามีเจตนาลวงผู้ซื้อ ให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิตไม่ เพราะไม่อาจทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าวได้ อาหารที่มีฉลากดังกล่าว จึงมิใช่เพื่อลวง หรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าวจำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(2),59 ความผิดฐานผลิตอาหารควบคุมเฉพาะโดยไม่ได้รับอนุญาตกับ ผลิตอาหารควบคุมเฉพาะไม่ตรงตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหารไว้ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง,64 กับ มาตรา34,66 เป็นการกระทำผิดกรรมเดียว ทั้งการที่จะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวได้ โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นอาหารควบคุมเฉพาะซึ่งต้องมีฉลากและฉลากนั้นต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตอาหารปลอมและปลอมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องชัดเจนครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอม โดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่ง และทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่ อ.ผลิตทำขึ้น และทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น ซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนด และใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนด จนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภค และจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวด แล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวด เพื่อ ลวง หรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ และประโยชน์ว่า อาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่ อ.ผลิตขึ้น คำบรรยายฟ้องดังกล่าว จึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27 (2), (5) และ (4) แล้ว และได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่สมบูรณ์.
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหาร เป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหาร เป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตอาหารปลอมเป็นความผิดคนละกรรม แม้กระทำพร้อมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอมโดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่งและทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่อ.ผลิตทำขึ้นและทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้นซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนดและใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคและจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวดแล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวดเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพปริมาณและประโยชน์ว่าอาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่อ.ผลิตขึ้นคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ.2522มาตรา27(2),(5)และ(4)แล้วและได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเป็นฟ้องที่สมบูรณ์. ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ. ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม