คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 249

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเลยหน้าที่ยาม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 และมาตรา 47กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้นโจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 3ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา, สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง, การไม่เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้น ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด พนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้ โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วย และการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ศาลอนุญาตฟ้องค่าขาดประโยชน์ได้ แม้คดีอาญาไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดพนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วยและการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144 การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา50,249มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมให้เป็นพับดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)มีผลเป็นการพิพากษาแล้วมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องคืนทรัพย์ที่ยักยอกให้กองมรดก หรือชดใช้ราคา หากโอนไม่ได้ แม้เจ้าของมรดกเสียชีวิตแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ หมายความว่า จำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกไปคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคาจำนวน4,974,987.50 บาท แก่กองมรดก ไม่ใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ และแม้เจ้าของที่ดินจะตายไปแล้ว จำเลยก็จะอ้างมาเป็นเหตุให้ปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: การรับเงินยักยอกรู้แหล่งที่มา, หลายกรรมต่างกัน, และการบังคับคดี
ส. ภรรยาจำเลยมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและรับเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วม ได้รับเงินสดค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่นำเงินสดที่รับไว้ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์ แต่เบียดบังเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม บัญชีกระแสรายวันของจำเลยมีรายการหมุนเวียนทางการเงินมากการนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีแต่ละรายการมีจำนวนมากกว่ารายได้ตามปกติของจำเลยและส.ส.นำเงินฝากเข้าบัญชีจำเลยช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ ส.ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมและเมื่อส.นำเงินเข้าฝากแล้ว จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ ส. นำเข้าฝาก การถอนเงินโดยสั่งจ่ายเช็คบางฉบับจำเลยก็สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยกับ ส. ไปติดต่อซื้อด้วยกัน โดยที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว มีราคาสูงเกินกว่าฐานะและรายได้ตามปกติของจำเลยกับ ส.ที่จะซื้อได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยได้รับเอาเงินฝากนั้นไว้ทุกคราวที่ ส.นำเข้าฝากโดยจำเลยรู้ว่าส. ได้เงินนั้นมาจากการยักยอกโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส. นำเงินเข้าฝากในบัญชีของจำเลยต่างวันเวลากัน จำเลยจึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าการบังคับคดี ส. ได้เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมเท่าใด ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จะฟังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมหาได้ไม่และหากโจทก์ร่วมบังคับคดี ส.แล้วจะบังคับคดีจำเลยได้อีกเพียงใดนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 (คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249(คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้สิทธิในการคัดค้านสิ้นสุดลง
ผู้ประกันได้ ยื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ยึดทรัพย์ของผู้ประกันโดย ไม่ถูกต้อง แสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่ วันที่ 20 เมษายน 2532 การที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้วผู้ประกันจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาอาญา: วิธีการและหลักเกณฑ์การระบุวิธีการบังคับคดี
การดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น นอกจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 บัญญัติไว้แล้วยังอาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น คำพิพากษาในคดีอาญาที่ห้ามมิให้จำเลยประกอบการค้าเลี้ยงสุกรในเขตเทศบาลอีกต่อไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น แม้ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 ได้ โจทก์ก็ยังอาจขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้
คำร้อง ของ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีระบุแต่เพียงว่า ขอศาลได้โปรดออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้นหาได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าจะบังคับคดีแก่จำเลยด้วยวิธีการอย่างไรคำร้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 275(3) ชอบที่จะยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีอาญา: การขอให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาต้องระบุวิธีการบังคับคดี
การดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญานั้น นอกจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 บัญญัติไว้แล้วยังอาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น คำพิพากษาในคดีอาญาที่ห้ามมิให้จำเลยประกอบการค้าเลี้ยงสุกรในเขตเทศบาลอีกต่อไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น แม้ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 ได้ โจทก์ก็ยังอาจขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ คำร้อง ของ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีระบุแต่เพียงว่า ขอศาลได้โปรดออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้นหาได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าจะบังคับคดีแก่จำเลยด้วยวิธีการอย่างไรคำร้อง ของ โจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 275(3) ชอบที่จะยกคำร้อง.
of 5