พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดศุลกากร, เงินเพิ่ม, เบี้ยปรับ, และการลดหย่อนจากความเข้าใจผิดสุจริต
ชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติที่โจทก์นำเข้ามาตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทมีชิ้นส่วนอุปกรณ์ชุดหัวเทียน (Spark Plug) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่าชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นระบบเชื้อเพลิงเดียว (Dedicated) ชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติที่โจทก์นำเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทจึงไม่ใช่ชุดอุปกรณ์การใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยอัตโนมัติ (ดีเซล ดูเอล ฟูแอล คอนเวอร์ชัน คิท) ที่ใช้เชื้อเพลิงร่วมระหว่างก๊าชธรรมชาติกับน้ำมันดีเซล ไม่จัดเป็นของตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 9032.89 (รายการ - - ที่ 4) และ 9032.89.39 รหัสย่อย 03 (ตามช่วงเวลานำเข้า) ที่จะได้รับยกเว้นอากร ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2548 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 21 เมษายน 2552 และบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น สินค้าชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยอัตโนมัติที่โจทก็นำเข้าจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 9032.89 อื่น ๆ และ 9032.89.39 รหัสย่อย 29 อื่น ๆ (ตามช่วงเวลานำเข้า) อัตราอากรร้อยละ 10
โจทก์นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้ชำระอากรขาเข้าขาดพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงได้แจ้งการประเมินไปยังโจทก์ให้ชำระอากรที่ขาด ไม่ใช่กรณีคำนวณอากรผิดซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า แต่เป็นกรณีมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าไม่ว่าเป็นกรณีมีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 หรือกรณีไม่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง แต่จำเลยที่ 1 เรียกอากรที่ขาดไปเพราะเหตุเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ดังนั้น ไม่ว่ามีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรหรือไม่ ก็มีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแตกต่างเฉพาะตัวบทกฎหมายที่อ้างอิงเท่านั้น เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าพิพาทระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2549 ถึง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 และระหว่างวันที่ 24 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 โจทก์ได้รับแบบแจ้งการประเมิน เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2556 ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับไว้เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทางหนี้ภาษีอากรภายในอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และถือเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิของเจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน สิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่ไม่ต้องรับผิดในเบี้ยปรับเงินเพิ่มอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มและยังขอให้ศาลลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่ได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้องให้ชัดเจนว่า ขอให้ศาลลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องและการที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องข้อ 2. ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเพิกถอนการเรียกเก็บอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่มและเบี้ยปรับ พอจะอนุมานได้ว่าการขอให้เพิกถอนการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มดังกล่าวหมายความรวมถึงการขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วยนั่นเอง ทั้งศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่า โจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยในประเด็นนี้เพราะเห็นว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องจึงไม่ชอบ เห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยก่อน สำหรับในส่วนเงินเพิ่มอากรขาเข้านั้น เห็นว่า โจทก์และผู้ประกอบการที่นำเข้าชุดควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต่างเข้าใจโดยสุจริตว่า ชุดอุปกรณ์สำหรับดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลให้ใช้ก๊าซธรรมชาติระบบเดียว (Dedicated NGV) ที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติร้อยเปอร์เซนต์ ได้รับยกเว้นอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง โจทก์จึงไม่มีเจตนาที่จะสำแดงประเภทพิกัดของสินค้าพิพาทเป็นเท็จ กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าความรับผิดของโจทก์ในการชำระค่าอากรที่ขาดเกิดจากการที่โจทก์สำแดงเท็จในใบขนสินค้าตามฟ้อง แต่ต้องด้วยกรณีที่ไม่ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มเมื่อมีการชำระอากรเพิ่ม เนื่องจากเป็นกรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาด และเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจอากรตรวจพบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง สำหรับในส่วนเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอันสืบเนื่องจากโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไม่ถูกต้องด้วยความเข้าใจของโจทก์เอง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ แต่ในส่วนเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เมื่อโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรในสินค้าพิพาทโดยความเข้าใจที่สุจริตประกอบกับโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงให้ลดเบี้ยปรับลงเหลือร้อยละ 50
โจทก์นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้ชำระอากรขาเข้าขาดพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงได้แจ้งการประเมินไปยังโจทก์ให้ชำระอากรที่ขาด ไม่ใช่กรณีคำนวณอากรผิดซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า แต่เป็นกรณีมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าไม่ว่าเป็นกรณีมีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 หรือกรณีไม่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง แต่จำเลยที่ 1 เรียกอากรที่ขาดไปเพราะเหตุเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ดังนั้น ไม่ว่ามีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรหรือไม่ ก็มีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแตกต่างเฉพาะตัวบทกฎหมายที่อ้างอิงเท่านั้น เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าพิพาทระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2549 ถึง วันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 และระหว่างวันที่ 24 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 โจทก์ได้รับแบบแจ้งการประเมิน เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2556 ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับไว้เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทางหนี้ภาษีอากรภายในอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และถือเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิของเจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน สิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่ไม่ต้องรับผิดในเบี้ยปรับเงินเพิ่มอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มและยังขอให้ศาลลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่ได้ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้องให้ชัดเจนว่า ขอให้ศาลลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องและการที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องข้อ 2. ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเพิกถอนการเรียกเก็บอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินเพิ่มและเบี้ยปรับ พอจะอนุมานได้ว่าการขอให้เพิกถอนการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มดังกล่าวหมายความรวมถึงการขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วยนั่นเอง ทั้งศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่า โจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยในประเด็นนี้เพราะเห็นว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องจึงไม่ชอบ เห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยก่อน สำหรับในส่วนเงินเพิ่มอากรขาเข้านั้น เห็นว่า โจทก์และผู้ประกอบการที่นำเข้าชุดควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต่างเข้าใจโดยสุจริตว่า ชุดอุปกรณ์สำหรับดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลให้ใช้ก๊าซธรรมชาติระบบเดียว (Dedicated NGV) ที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติร้อยเปอร์เซนต์ ได้รับยกเว้นอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง โจทก์จึงไม่มีเจตนาที่จะสำแดงประเภทพิกัดของสินค้าพิพาทเป็นเท็จ กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าความรับผิดของโจทก์ในการชำระค่าอากรที่ขาดเกิดจากการที่โจทก์สำแดงเท็จในใบขนสินค้าตามฟ้อง แต่ต้องด้วยกรณีที่ไม่ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มเมื่อมีการชำระอากรเพิ่ม เนื่องจากเป็นกรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาด และเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจอากรตรวจพบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง สำหรับในส่วนเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอันสืบเนื่องจากโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไม่ถูกต้องด้วยความเข้าใจของโจทก์เอง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ แต่ในส่วนเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เมื่อโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรในสินค้าพิพาทโดยความเข้าใจที่สุจริตประกอบกับโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี จึงให้ลดเบี้ยปรับลงเหลือร้อยละ 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับส่วนประกอบยานยนต์ จำแนกประเภทตามหน้าที่การใช้งานและลักษณะทางเทคนิค
ข้อพิพาทคดีนี้มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกอากรที่ขาดไปในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิดซึ่งมีอายุความสองปีนับแต่วันที่นำเข้า แต่เป็นกรณีมีอายุความสิบปีไม่ว่าเป็นกรณีมีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 หรือกรณีไม่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนำเข้า ดังนั้น ไม่ว่ามีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรหรือไม่ ก็มีอายุความสิบปีตั้งแต่วันนำเข้า แตกต่างเฉพาะตัวบทกฎหมายที่ใช้อ้างอิงเท่านั้น และอย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 กรณีนี้โจทก์นำเข้าสินค้าพิพาทในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เข้าตรวจค้นบริษัทโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2556 จากนั้นโจทก์เข้าชี้แจงรายละเอียดและส่งมอบเอกสารให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จนพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ออกแบบแจ้งการประเมินเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 2 และ 3 พฤศจิกายน 2560 และจัดส่งให้แก่โจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับโดยโจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ถือได้ว่าขั้นตอนกระบวนการประเมินเพื่อให้โจทก์รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ออกแบบแจ้งการประเมินในวันที่ 2 และ 3 พฤศจิกายน 2560 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ ส่วนการจัดส่งแบบแจ้งการประเมินเป็นขั้นตอนการแจ้งให้โจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรเพื่อทราบและปฏิบัติตามกฎหมายต่อไปไม่ใช่การดำเนินการประเมิน กรณีจึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 19 มาใช้บังคับในคดีนี้ ส่วนปัญหาการออกแบบแจ้งการประเมินภายหลังกฎหมายใหม่มีผลใช้บังคับแล้วจะมีผลอย่างไรไม่เป็นประเด็นปัญหาในคดีนี้ ดังนั้น การประเมินอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทในคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกอากรที่ขาดภายใน 10 ปี นับจากวันที่นำเข้าตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การประเมินของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เจือ ตามพิกัดประเภท 72.07 ไม่ว่าประเภทใด ๆ ก็ตามต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหล่อแบบต่อเนื่องที่มีหน้าตัดตันและต้องไม่เป็นม้วน สินค้าพิพาททั้งสองกลุ่มขณะนำเข้าไม่มีลักษณะหน้าตัดตัน มีการขึ้นรูปที่มีลักษณะเฉพาะไว้แล้วไม่ต้องจัดทำรูปทรงเพิ่มเติมอย่างมาก และเมื่อเปรียบเทียบรูปทรงสินค้าพิพาทขณะนำเข้ากับเมื่อเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปพร้อมใช้งานแล้วไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือเค้าโครงไปจากเดิม สินค้าพิพาทจึงไม่มีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ไม่อาจจัดอยู่ในพิกัดประเภท 72.07 ได้ แต่สินค้าพิพาททั้งสองกลุ่มมีลักษณะเป็นของที่ขึ้นรูปมีรูปร่างหรือเค้าโครงของของหรือส่วนประกอบที่สำเร็จตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 บัญชีท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ข้อ 2 (ก) แล้ว แม้ยังไม่พร้อมใช้งานได้ทันทีแต่ก็สามารถใช้เพื่อผลิตเป็นของหรือส่วนประกอบสำเร็จรูปโดยกระบวนการผลิตเพิ่มเติมเป็นแต่เพียงกระบวนการตกแต่งพื้นผิวชิ้นงานให้มีสภาพเหมาะสมต่อการนำไปใช้เท่านั้น และเมื่อสินค้าพิพาททั้งสองกลุ่มจัดอยูในพิกัดประเภทย่อย 8708.94.99 พิกัดประเภทย่อย 8708.94.93 และพิกัดประเภทย่อย 8708.94.95 จึงไม่อาจจัดเป็นของอื่น ๆ ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าตามพิกัดประเภท 73.26 ตามที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและขอสงวนสิทธิ์ขอคืนอากรได้ เนื่องจากคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ระบุไม่ให้คลุมถึงของที่ตีขึ้นรูป ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในประเภทพิกัดอื่นของพิกัดอัตราศุลกากรนี้ (เช่น ส่วนประกอบที่สามารถบอกได้ว่าเป็นของเครื่องจักรหรือของเครื่องใช้เชิงกล) หรือของที่ตีขึ้นรูปยังทำไม่เสร็จซึ่งต้องการการจัดทำมากไปกว่านี้ แต่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ซึ่งทำเสร็จแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าไม่เจือ ตามพิกัดประเภท 72.07 ไม่ว่าประเภทใด ๆ ก็ตามต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหล่อแบบต่อเนื่องที่มีหน้าตัดตันและต้องไม่เป็นม้วน สินค้าพิพาททั้งสองกลุ่มขณะนำเข้าไม่มีลักษณะหน้าตัดตัน มีการขึ้นรูปที่มีลักษณะเฉพาะไว้แล้วไม่ต้องจัดทำรูปทรงเพิ่มเติมอย่างมาก และเมื่อเปรียบเทียบรูปทรงสินค้าพิพาทขณะนำเข้ากับเมื่อเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปพร้อมใช้งานแล้วไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือเค้าโครงไปจากเดิม สินค้าพิพาทจึงไม่มีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ไม่อาจจัดอยู่ในพิกัดประเภท 72.07 ได้ แต่สินค้าพิพาททั้งสองกลุ่มมีลักษณะเป็นของที่ขึ้นรูปมีรูปร่างหรือเค้าโครงของของหรือส่วนประกอบที่สำเร็จตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 บัญชีท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ข้อ 2 (ก) แล้ว แม้ยังไม่พร้อมใช้งานได้ทันทีแต่ก็สามารถใช้เพื่อผลิตเป็นของหรือส่วนประกอบสำเร็จรูปโดยกระบวนการผลิตเพิ่มเติมเป็นแต่เพียงกระบวนการตกแต่งพื้นผิวชิ้นงานให้มีสภาพเหมาะสมต่อการนำไปใช้เท่านั้น และเมื่อสินค้าพิพาททั้งสองกลุ่มจัดอยูในพิกัดประเภทย่อย 8708.94.99 พิกัดประเภทย่อย 8708.94.93 และพิกัดประเภทย่อย 8708.94.95 จึงไม่อาจจัดเป็นของอื่น ๆ ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าตามพิกัดประเภท 73.26 ตามที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและขอสงวนสิทธิ์ขอคืนอากรได้ เนื่องจากคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ระบุไม่ให้คลุมถึงของที่ตีขึ้นรูป ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในประเภทพิกัดอื่นของพิกัดอัตราศุลกากรนี้ (เช่น ส่วนประกอบที่สามารถบอกได้ว่าเป็นของเครื่องจักรหรือของเครื่องใช้เชิงกล) หรือของที่ตีขึ้นรูปยังทำไม่เสร็จซึ่งต้องการการจัดทำมากไปกว่านี้ แต่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ซึ่งทำเสร็จแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8708/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าภาษีอากร การสำแดงเท็จ และการตรวจพบอากรขาด
ผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์การประเมินต้องถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมินอากรขาเข้าและอากรพิเศษตามการประเมินนั้นย่อมเป็นอันยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้นำของเข้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยชอบแล้ว มิได้อุทธรณ์การประเมิน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบ ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิเสธว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยุติตามการประเมินแล้วเป็นหนี้ที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 จึงต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025
กรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบอันเป็นผลให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องชำระอากรเพิ่มเติม แต่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมิได้กระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือสำแดงเท็จแต่ได้สำแดงรายการในใบขนส่งสินค้าขาเข้าหรือใบขนสิ่งสินค้าขาออกเป็นเหตุให้จำนวนเงินอากรขาดไป เมื่อจำเลยที่ 1 และผู้นำเข้ารายอื่นเคยนำเข้าสินค้ารายการเดียวกับที่เป็นกรณีพิพาทในคดีนี้มานานหลายครั้ง โดยสำแดงประเภทพิกัด 1211.902 ต่อมาสำนักตรวจสอบอากรของโจทก์ได้ตรวจสอบแล้วทักท้วงว่าควรจัดสินค้าพิพาทอยู่ในประเภทพิกัด 1211.909 ซึ่งก่อนมีการแจ้งการประเมินจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งมาตลอดว่าสินค้าพิพาทมีคุณลักษณะที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 1211.902 อันเป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจโดยสุจริตว่าสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในการชำระค่าอากรที่ขาดเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จจริงในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาท แต่ต้องด้วยกรณีที่ไม่ให้เรียกเก็บเงินเพิ่ม เนื่องจากมีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง
เมื่อการชำระอากรขาดเกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าไม่ถูกต้อง มิใช่เกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณจำนวนเงินอากรผิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
กรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบอันเป็นผลให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องชำระอากรเพิ่มเติม แต่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมิได้กระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือสำแดงเท็จแต่ได้สำแดงรายการในใบขนส่งสินค้าขาเข้าหรือใบขนสิ่งสินค้าขาออกเป็นเหตุให้จำนวนเงินอากรขาดไป เมื่อจำเลยที่ 1 และผู้นำเข้ารายอื่นเคยนำเข้าสินค้ารายการเดียวกับที่เป็นกรณีพิพาทในคดีนี้มานานหลายครั้ง โดยสำแดงประเภทพิกัด 1211.902 ต่อมาสำนักตรวจสอบอากรของโจทก์ได้ตรวจสอบแล้วทักท้วงว่าควรจัดสินค้าพิพาทอยู่ในประเภทพิกัด 1211.909 ซึ่งก่อนมีการแจ้งการประเมินจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งมาตลอดว่าสินค้าพิพาทมีคุณลักษณะที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 1211.902 อันเป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจโดยสุจริตว่าสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดดังกล่าวกรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในการชำระค่าอากรที่ขาดเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จจริงในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาท แต่ต้องด้วยกรณีที่ไม่ให้เรียกเก็บเงินเพิ่ม เนื่องจากมีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง
เมื่อการชำระอากรขาดเกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าไม่ถูกต้อง มิใช่เกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณจำนวนเงินอากรผิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีศุลกากร: การกำหนดอายุความเฉพาะใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม มีผลเหนือกว่าอายุความทั่วไปใน ป.อ.
ฎีกาของจำเลยทั้งสามที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เพื่อให้ได้ค่าปรับและค่าภาษีอากรที่ขาดอันเนื่องมาจากการสำแดงราคาเท็จ ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 10 วรรคสาม ให้มีอายุความ 10 ปี จึงต้องถือเอาอายุความตามนั้น จะเทียบเคียงใช้อายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) มิได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้น 10 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวมาแล้ว และยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยเดิม ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและอายุความเรียกร้องเงินอากรขาเข้า: กรมศุลกากรมีอำนาจประเมินและฟ้องได้ภายใน 10 ปี
ป.รัษฎากร มาตรา 83/10 (1) บัญญัติให้กรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่นำเข้าเพื่อกรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 และมาตรา 4 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง แต่งตั้งให้ข้าราชการในสังกัดโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานประเมินในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออก ตามประกาศลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
กะปิที่จำเลยที่ 1 นำเข้าไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า จึงไม่ใช่กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณจำนวนอากรผิด สิทธิเรียกร้องเงินอากรขาเข้าของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้มีอายุความ 2 ปี ในกรณีคำนวณจำนวนเงินอากรผิด แต่มีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า
กะปิที่จำเลยที่ 1 นำเข้าไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า จึงไม่ใช่กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณจำนวนอากรผิด สิทธิเรียกร้องเงินอากรขาเข้าของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้มีอายุความ 2 ปี ในกรณีคำนวณจำนวนเงินอากรผิด แต่มีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
เมื่อ ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) ได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้ประกอบการค้าผู้เสียภาษี จึงแสดงชัดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมินได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้การประเมินภาษีและการแจ้งการประเมินภาษีจะเป็นการกระทำคนละขั้นตอนกัน แต่การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้จะต้องเสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงถือเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของการประเมินและต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ มิใช่เพียงเมื่อเจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรแล้วจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไปได้ไม่ ดังนั้น หากเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งการประเมินจึงย่อมเท่ากับไม่มีการประเมิน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ แม้เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ทำการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่ม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่ก็มิได้มีการแจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งแก่จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 อันเป็นเวลาพ้น 10 ปี ที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 จะมีอำนาจประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในกรณีหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินอากรที่ขาดจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม ไม่ใช่อายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากร ท่านให้มีอายุความ 10 ปี และการนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 (เดิม) (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งได้แก่วันที่โจทก์ตรวจพบว่าจำเลยหลีกเลี่ยงอากร แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้รับฟังได้ว่า การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์คันพิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม เมื่อจำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
ในกรณีหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินอากรที่ขาดจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม ไม่ใช่อายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 (เดิม) (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากร ท่านให้มีอายุความ 10 ปี และการนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 (เดิม) (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งได้แก่วันที่โจทก์ตรวจพบว่าจำเลยหลีกเลี่ยงอากร แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้รับฟังได้ว่า การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์คันพิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องนั้น ไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคสาม เมื่อจำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) และมาตรา 87 (3) (เดิม) ซึ่งเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินให้ผู้เสียภาษีทราบโดยระบุให้ทำเป็นหนังสือ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ จำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่มิได้แจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เพิ่งมีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งให้จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการแจ้งการประเมินเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) (เดิม) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสินค้าที่สำแดงต่ำกว่าราคาตลาดและมีการประเมินราคาใหม่โดยใช้ดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดีตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาดจึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่นน้ำหนัก 17,847 กิโลกรัม สำแดงราคา ซีแอนด์เอฟ47,959ดอลลาร์สหรัฐซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคาหรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัมจึงคิดเป็นเงิน 0.91 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล. นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาดจึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่นน้ำหนัก 17,847 กิโลกรัม สำแดงราคา ซีแอนด์เอฟ47,959ดอลลาร์สหรัฐซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคาหรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัมจึงคิดเป็นเงิน 0.91 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล. นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อสำแดงน้ำหนักและราคาต่ำกว่าความเป็นจริง และคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดี ตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาด จึงมีอายุความ10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่น น้ำหนัก 17,847 กิโลกรัมสำแดงราคา ซี แอนด์ เอฟ 47,959 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคา หรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัมเมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา 2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัม จึงคิดเป็นเงิน 0.91ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล.นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาด จึงมีอายุความ10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่น น้ำหนัก 17,847 กิโลกรัมสำแดงราคา ซี แอนด์ เอฟ 47,959 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคา หรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัมเมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา 2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัม จึงคิดเป็นเงิน 0.91ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล.นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ และผลของการไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมิน เท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความหากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึง เสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อ จำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด