คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 179 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังสัญญาเลิกแล้ว: ค่าเสียหายใหม่ไม่อาจเพิ่มได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากสัญญาเช่าเครื่องบินระงับ มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เสนอข้อหาของตนไว้ในคำฟ้องเดิม จึงมิใช่การเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ไม่อาจแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (1) และ (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลไม่อนุญาต
ที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับจำนวน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นกรณีเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978-5979/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องระหว่างพิจารณาคดี & เหตุคุ้มครองชั่วคราว: การโอนที่ดินพิพาทขัดขวางบังคับคดี
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน จึงขอแก้ไขคำฟ้องตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อที่นาพิพาทอีก ทอด หนึ่ง ให้โอนขายแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดว่าข้อเท็จจริงดังกล่าว เพิ่งเกิดขึ้นหลังวันชี้สองสถาน โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ ก่อนวันชี้สองสถาน ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่า ก่อนโจทก์จึงฟ้องขอบังคับซื้อที่ดินนาพิพาทจากจำเลยทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ขณะคดีอยู่ ในระหว่าง พิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จดทะเบียนโอนขาย ที่นาพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้แก้ไขคำฟ้องเพื่อบังคับ จำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย เป็นการแก้ไข คำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179(2) มีความเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม โจทก์มีสิทธิ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ยอมส่งโฉนดที่พิพาทตามคำสั่งศาลเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เพราะจำเลยทั้งสามตั้งใจโอนที่นาพิพาทเพื่อไม่ให้โจทก์บังคับคดี ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 กำลังบอกขายที่นาพิพาทเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดี ของ โจทก์จึงขอให้ศาลอายัดที่นาก่อนศาลมีคำพิพากษา คำร้องของโจทก์ เป็น การขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้าย หรือ จำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(2) แม้โจทก์จะใช้คำว่าขอให้อายัด ก็แปลได้ว่าเป็นการ ขอให้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนนั่นเอง เมื่อตามคำร้องปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในระหว่าง การพิจารณา และจำเลยที่ 1 กำลังบอกขายให้บุคคลอื่นต่อไป พอชี้ ให้เห็นความตั้งใจของจำเลยทั้งสามว่าจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อ ขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับคดี ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย ทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 แล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับซื้อ ที่นาพิพาท หากจำเลยที่ 1 จะขายที่นาพิพาทต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ตามสิทธิที่จะซื้อก่อน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 และหากขายที่นาพิพาทไปแล้วผู้ซื้อก็ต้อง รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 28ซึ่งโจทก์ได้รับความคุ้มครอง อยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าปล่อยให้จำเลยโอนที่นาพิพาทไปยังบุคคลภายนอก แม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่ง ที่นาพิพาท โจทก์ต้องไปดำเนินการ เพื่อ บังคับซื้อจากบุคคลภายนอก ผู้รับโอนตามมาตรา 54 ใหม่ ทำให้เกิด ภาระ แก่โจทก์ไม่มีที่สิ้นสุด โจทก์จึงมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254(2) ศาลชั้นต้นต้องรับ คำร้อง ของโจทก์ไว้ไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การพิจารณาช่วงเวลาบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ฟ้องโจทก์ในชั้นแรกขอให้ศาลบังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหาย และเงินโบนัส พร้อมทั้งดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์แถลงไม่ติดใจเรียกค่าเสียหาย และเงินโบนัสกับดอกเบี้ย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงเหลือเพียงข้อเดียว คือเรียกให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพราะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการอาศัยสิทธิ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หาใช่เป็นการ ฟ้อง ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หรือตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
ฟ้องโจทก์ในชั้นแรกขอให้ศาลบังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหาย และเงินโบนัส พร้อมทั้งดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์แถลงไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายและเงินโบนัสกับดอกเบี้ย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงเหลือเพียงข้อเดียวคือเรียกให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพราะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการอาศัยสิทธิตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หาใช่เป็นการ ฟ้อง ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีสัญญากู้เงิน และการนำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับสาเหตุการทำสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินไปก่อนจำเลยให้การโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า กรณีเดิมสามีและบุตรเขยจำเลยกู้เงินโจทก์ แล้วจำเลยทำสัญญารับใช้หนี้ให้ โจทก์แก้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา 179 (2) เพราะเป็นการอธิบายถึงสาเหตุที่จำเลยทำสัญญากู้ให้
เมื่อจำเลยให้การแก้ข้อหาในคำร้องเพิ่มเติมฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านไว้ จะอุทธรณ์ข้อนี้ไม่ได้
เมื่อโจทก์ฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ดังนั้นแล้ว แม้สัญญาที่นำมาฟ้องจะบอกชัดว่าเป็นสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยและว่าได้รับเงินไปแล้วแต่วันทำสัญญา โจทก์ก็นำสืบได้ว่าไม่มีการรับเงินเนื่องจากกรณีเดิมสามีกับบุตรเขยโจทก์กู้ไป ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญากู้ โดยมีพยาน 2 คน โจทก์ไม่จำต้องนำพยานเหล่านั้นมาสืบทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องและการใช้พยานหลักฐานจากเอกสารสัญญากู้ที่มีการแก้ไข
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 7,000 บาท แล้วยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องว่าเดิมจำเลยกู้ไป 6,000 บาทแล้วไม่ชำระ จึงทำสัญญาใหม่รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเป็น 7,000 บาทตามฟ้อง ดังนี้เป็นการอธิบายฟ้องเดิมของโจทก์ที่ว่าเหตุที่ฟ้องจำเลยตามสัญญากู้ฉบับหลังมีที่มาอย่างไร ไม่เป็นเคลือบคลุม โจทก์ย่อมแก้ไขข้อหาได้
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้ แม้ผู้กู้จะมิได้ขีดฆ่าเอง แต่ผู้เขียนเป็นผู้ขีดฆ่านั้น ก็ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (ฎีกาที่ 561/2487)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องและพยานหลักฐานจากเอกสารสัญญากู้ที่มีการแก้ไข การฟ้องไม่เคลือบคลุมหากเป็นการอธิบายเหตุผลของฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 7,000 บาท แล้วยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องว่าเดิมจำเลยกู้ไป 6,000 บาทแล้วไม่ชำระ จึงทำสัญญาใหม่รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเป็น 7,000 บาทตามฟ้อง ดังนี้เป็นการอธิบายฟ้องเดิมของโจทก์ที่ว่าเหตุที่ฟ้องจำเลยตามสัญญากู้ฉบับหลังมีที่มาอย่างไร ไม่เป็นเคลือบคลุม โจทก์ย่อมแก้ไขข้อหาได้
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้ แม้ผู้กู้จะมิได้ขีดฆ่าเอง แต่ผู้เขียนเป็นผู้ขีดฆ่านั้น ก็ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (ฎีกาที่ 561/2487)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องและการใช้พยานหลักฐานจากสัญญาที่มีการแก้ไขอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตาม สัญญากู้ 7,000 บาท แล้วยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องว่าเดิมจำเลยกู้ไป 6,000 บาทแล้วไม่ชำระจึงทำสัญญาใหม่รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเป็น 7,000 บาท ตามฟ้อง ดังนี้เป็นการอธิบายฟ้องเดิมของโจทก์ที่ว่าเหตุที่ฟ้องจำเลยตามสัญญากู้ฉบับหลังมีที่มาอย่างไร ไม่เป็นเคลือบคลุม โจทก์ย่อมแก้ไขข้อหาได้
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้ แม้ผู้กู้จะมิได้ขีดฆ่าเอง แต่ผู้เขียนเป็นผู้ขีดฆ่านั้น ก็ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (ฎีกาที่ 561/2487)