พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการบริษัทในฐานะตัวการร่วม กรณีละเมิดลิขสิทธิ์ของนิติบุคคล
เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ต้องการให้ดำเนินคดีเพื่อลงโทษกรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลที่นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วย โดยให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลดังกล่าวโดยเป็นตัวการด้วยกัน ตาม ป.อ. มาตรา 83 แต่ความเป็นนิติบุคคลของบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากความเป็นบุคคลของจำเลยที่ 2 ที่มีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ประกอบกับความรับผิดในทางอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทำผิด กล่าวคือ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเท่านั้น ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะบัญญัติให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมีหนังสือมอบอำนาจให้ ว. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยหนังสือมอบอำนาจระบุให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น กรณีจึงไม่มีผลที่จะให้ถือได้ว่าโจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้รับผิดในฐานที่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
แม้ว่าในขณะที่ไปร้องทุกข์ดังกล่าวโจทก์ร่วมยังไม่รู้จักชื่อกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ร่วมก็มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่ระบุตำแหน่งไว้ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามไว้
แม้ว่าในขณะที่ไปร้องทุกข์ดังกล่าวโจทก์ร่วมยังไม่รู้จักชื่อกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ร่วมก็มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่ระบุตำแหน่งไว้ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตราผิดในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ และการตกเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของงานต้นฉบับ
จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามมาตรา 28 (2) และ 69 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสอง โดยวางโทษก่อนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท ซึ่งเป็นระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 70 วรรคสอง อันมิใช่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งมีระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 69 วรรคสอง ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 100,000 บาท ดังนี้ จึงเป็นเพียงการปรับบทมาตราผิดเท่านั้น แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง แต่ก็ไม่อาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามระวางโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69 วรรคสองได้ เพราะจะมีผลเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้น เมื่อแผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้น เมื่อแผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท และการลงโทษตามกฎหมายที่บทมีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการค้าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกัน
การทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบแม่พิมพ์ (แสตมป์เปอร์) 21 แผ่น เพื่อเป็นต้นแบบของการผลิตแผ่นซีดีเกมส์เพลย์สเตชั่น 94 , 404 แผ่น ออกจำหน่ายเพื่อประสงค์ในทางการค้า ซึ่งการทำซ้ำทั้งสองครั้งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันจึงมีเจตนาเดียวกัน การทำซ้ำทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการกระทำไม่ต่างกัน ถือเป็นความผิดกรรมเดียวกันและผิดต่อกฎหมายบทเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยมีเจตนาเดียวกัน ศาลต้องใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์จ้างล่อซื้อ โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์เกิดหลังล่อซื้อ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมาตรา 28 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้