คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีซื้อจากการก่อสร้างโอนกรรมสิทธิ์ให้การรถไฟฯ ภายใน 3 ปี เข้าข่ายภาษีซื้อต้องห้าม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
โจทก์คืนภาษีให้จำเลยไปโดยอาศัย ป.รัษฎากร จำเลยได้ภาษีคืนโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้จึงไม่ใช้อายุความ 1 ปี แต่ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยประกอบกิจการระบบขนส่งทางถนนและการใช้ประโยชน์จากที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการรถไฟชุมชน เป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ณ)
กิจการของจำเลยเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร โดยเฉลี่ยภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เมื่อจำเลยถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จึงไม่มีการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคาร จำเลยจึงไม่มีสิทธิเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
ตามสัญญาสัมปทานกำหนดให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ก่อสร้าง การโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และเป็นการขายภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ จึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารแล้วโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 3 ปี ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
การที่โจทก์คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยโดยอาศัย ป.รัษฎากร จึงเป็นกรณีที่จำเลยได้เงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนไปโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ในขณะรับเงินนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกภาษีคืนจึงมิใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันอยู่ในบังคับจะใช้อายุความ 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่ามีสิทธิเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
กรณีที่จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือระบบถนนยกระดับและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย กับประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือระบบรถไฟชุมชนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 82/6 ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/6 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งหลักการสำคัญของการเฉลี่ยภาษีซื้อนั้นมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อขอเฉลี่ยภาษีซื้อต่อโจทก์ หากไม่ยื่นแบบแจ้งรายการจะมีผลให้ไม่มีสิทธิขอคืนหรือขอเครดิตภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างดังกล่าว ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดนั้นจำเลยต้องแจ้งรายการวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และแจ้งรายการเกี่ยวกับการเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มใช้อาคารด้วย ดังนั้น เงื่อนไขที่จำเลยจะนำภาษีซื้อเกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวมาขอคืนหรือขอเครดิตได้ต้องมีวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคาร เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกบอกเลิกสัญญาสัมปทาน จึงยังไม่มีวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์และวันที่เริ่มใช้อาคารดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3
สัญญาสัมปทานข้อ 24.1 กำหนดให้บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยก่อสร้างขึ้นในพื้นที่สัมปทาน รวมถึงทางรถไฟ ถนนยกระดับและทางเชื่อมกับถนนที่มีอยู่เดิมตามสัญญานี้ให้ตกเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ก่อสร้าง การโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือเป็นการขาย และเป็นการขายที่กระทำภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 (6) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยภาษีซื้อกรณีดอกเบี้ยจากกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องนำมารวมคำนวณรายได้เพื่อเฉลี่ยภาษีซื้อ
โจทก์เป็นบริษัทผู้ประกอบการค้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีทั้งประเภทเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยที่บริษัทโจทก์ได้รับจากการให้บริษัทในเครือของโจทก์กู้เป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะการกู้ยืมเงินเช่นว่านั้นถือเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) และเป็นกิจการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/3 แต่อย่างใด ส่วนที่มีคำสั่งกรมสรรพากร ฉบับที่ ป. 26/2534 เรื่องดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/5 (5) แห่ง ป. รัษฎากร ข้อ 2 ยกเว้นดอกเบี้ยดังกล่าว ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงยังคงเป็นรายรับจากกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพียงแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเท่านั้น เมื่อดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายรับของกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ย่อมถือเป็นรายได้ตามความหมายคำว่า รายได้ ตามข้อ 4 (2) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เมื่อดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ต้องนำไปคำนวณเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้แต่ละกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าว ข้อ 2 การที่โจทก์ไม่นำรายได้ส่วนที่ไปเป็นรายได้ของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความเชื่อโดยสุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าวจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากรขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มกล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตามแต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้วอีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) เมื่อบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่า ศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้ว การฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความสุจริตของผู้เสียภาษี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าว จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89 (4)แห่ง ป.รัษฎากร ขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด