คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1608

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์ตัดสิทธิทายาทโดยธรรม แม้ผู้รับพินัยกรรมหาพินัยกรรมไม่พบก็ไม่เสียสิทธิ
ก.บุตรโจทก์สมรสกับ ท. ก.และ ท.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสให้ซึ่งกันและกัน ก. ตายก่อน ท. จึงไปขอรับมรดกต่อมา ท.ตาย ก่อนตาย ท.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่ได้รับมรดกมาทั้งหมดให้จำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นทายาทโดยธรรมของ ก. ก็ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก.ให้ ท.ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณานั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดก การที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะที่ขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหายจึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละ พินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำ พินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำ พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์-ตัดทายาท-การรับมรดกตามพินัยกรรม/โดยธรรม-การสละพินัยกรรม-การปกปิดพินัยกรรม
ก. บุตรโจทก์สมรสกับ ท. ก. และ ท. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสให้ซึ่งกันและกัน ก. ตายก่อน ท. จึงไปขอรับมรดกต่อมา ท. ตายก่อนตาย ท. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่ได้รับมรดกมาทั้งหมดให้จำเลยดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นทายาทโดยธรรมของ ก. ก็ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก อ้างว่าเป็นทายาทของ ก. จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในกองมรดก เพราะ ก. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของ ก. ให้ ท. ทั้งหมดแล้วซึ่งจำเลยจะส่งศาลในวันพิจารณา นั้น เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่เคลือบคลุม
จำเลยมิได้ให้การถึงว่าจำเลยนำเอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกการที่จำเลยนำสืบว่าพินัยกรรมหายขณะไปขอรับมรดกจึงมิได้เอาพินัยกรรมไปขอรับมรดกนั้น ไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้รับพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมทำพินัยกรรมหาย จึงไปขอรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นหาใช่ผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรมซึ่งทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(3)ไม่ เพราะมิใช่เป็นการสละไม่ขอรับมรดกหรือมีเจตนาจะไม่รับเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมผู้รับพินัยกรรมชอบที่จะนำพินัยกรรมที่หาพบในภายหลังไปขอรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกได้ และการที่หาพินัยกรรมไม่พบนั้นก็ถือไม่ได้ว่าผู้รับพินัยกรรมปกปิดพินัยกรรม
สามีภริยาทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์ให้แก่กันเมื่อตายนั้น หาใช่เป็นการตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขบังคับว่าผู้รับพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของตนให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมไม่พินัยกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ (อ้างฎีกาที่ 1764/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดให้ผู้จัดการศพจัดการทรัพย์สินตามความประสงค์เป็นโมฆะ และการตัดทายาทต้องระบุชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในข้อเดียวกันนั้นว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใดโดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้ง ไม่มีข้อความต่อไปว่า ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3 ส่วนข้อความต่อไปที่ว่าทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาด หากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใดก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่ กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตัดนาง ย.หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนางย. มิให้รับมรดก ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นพี่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนาง บ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการทรัพย์สินโดยไม่จำกัดสิทธิ และการตัดทายาทโดยธรรมต้องชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ข้อเดียวกันนั้นว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพ ปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใด โดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้งไม่มีข้อความต่อไปว่า ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3 ส่วนข้อความต่อไปที่ว่าทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาดหากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใด ก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่ กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของช้าพเจ้าเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตัดนาง ย. หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนาง ย. มิให้รับมรดก ฉะนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นที่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนางบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกำหนดพินัยกรรมมอบอำนาจจัดการทรัพย์สินให้ผู้รับมรดกโดยไม่จำกัดจำนวนทรัพย์สินเป็นโมฆะ และการตัดทายาทต้องระบุชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในข้อเดียวกันนั้นว่า. เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย. แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า. เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า. ข้อความต่อไปที่ว่า. นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว. ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด. ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก. ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า. ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใด โดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้ง.ไม่มีข้อความต่อไปว่า. ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3. ส่วนข้อความต่อไปที่ว่า.ทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาด. หากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใดก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด. ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น. ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า. การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่. กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่. ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้. เป็นผู้รับพินัยกรรม. และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น. ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706.
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเท่านั้น. ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า. ตัดนาง ย. หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนาง ย. มิให้รับมรดก. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นพี่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนาง บ..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทุนสงเคราะห์ (ท.ส.ค.) เป็นทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดก็ได้ แม้จะระบุไว้ในสมุดประวัติก่อนหน้า
เมื่อปรากฎว่าเงินทุนสงเคราะห์ (ท.ส.+.) ของผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟ เป็นเงินที่เก็บจากผู้ปฎิบัติงานร้อยละ 5 ของเงินเดือนทุกเดือน และการรถไฟจ่ายสมทบอีกมีจำนวนร้อยละ 10 ถ้าผู้ปฏิบัติงานต้องออกจากงาน นอกจากถูกไล่ออกก็ให้จ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งดอกเบี้ยและกองทุนจ่ายเพิ่มให้อีกเป็นจำนวนเท่ากันนั้น เห็นได้ว่าเงินทุนสงเคราะห์นี้เป็นเงินที่ผู้ปฎิบัติงานมีสิทธิได้รับอยู่ก่อนแล้ว หากผู้นั้นตายลงก็ย่อมตกเป็นมรดก
แม้จะระบุในสมุดประวัติ (ท.ส.ค) ให้จำเลยเป็นผู้รับเงินทุนสงเคราะห์ก็ดี แต่หากต่อมาภายหลังเจ้าของเงินทุนสงเคราะห์ทำพินัยกรรมระบุยกให้โจทก์เป็นผู้รับ ก็เป็นการตัดจำเลยไปตามพินัยกรรมนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทุนสงเคราะห์ ท.ส.ค. เป็นทรัพย์มรดก ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้ แม้ระบุผู้รับไว้ก่อน
เมื่อปรากฏว่าเงินทุนสงเคราะห์ (ท.ส.ค.) ของผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟ เป็นเงินที่เก็บจากผู้ปฏิบัติงานร้อยละ 5 ของเงินเดือนทุกเดือน และการรถไฟจ่ายสมทบอีกมีจำนวนร้อยละ 10 ถ้าผู้ปฏิบัติงานต้องออกจากงานรวมทั้งดอกเบี้ยและกองทุนจ่ายเพิ่มให้อีกเป็นจำนวนเท่ากันนั้น เห็นได้ว่าเงินทุนสงเคราะห์นี้เป็นเงินที่ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิได้รับอยู่ก่อนแล้ว หากผู้นั้นตายลงก็ย่อมตกเป็นมรดก
แม้จะระบุในสมุดประวัติ (ท.ส.ค.) ให้จำเลยเป็นผู้รับเงินทุนสงเคราะห์ก็ดี แต่หากต่อมาภายหลังเจ้าของเงินทุนสงเคราะห์ทำพินัยกรรมระบุยกให้โจทก์เป็นผู้รับ ก็เป็นการตัดจำเลยไปตามพินัยกรรมนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินเฉพาะบุคคลตัดสิทธิทายาทอื่น อายุความมรดกใช้ไม่ได้
มารดาโจทก์ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทและทรัพย์สมบัติอื่นให้โจทก์คนเดียว บุตรคนอื่นรวมทั้งจำเลยไม่ได้ เพราะมารดาโจทก์จำเลยต้องการให้โจทก์ได้คนเดียว เช่นนี้เท่ากับจำเลยและบุตรอื่นถูกตัดจากมรดกของมารดา ตามมาตรา 1608 วรรคท้ายเสียแล้ว จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นทายาท ฉะนั้นเมื่อจำเลยถูกฟ้องว่าเข้ารบกวนการครอบครองที่พิพาท จะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสูไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดสิทธิทายาทโดยพินัยกรรม และผลต่อการยกอายุความในคดีแย่งการครอบครอง
มารดาโจทก์ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทและทรัพย์สมบัติอื่นให้โจทก์คนเดียว บุตรคนอื่นรวมทั้งจำเลยไม่ได้ เพราะมารดาโจทก์จำเลยต้องการให้โจทก์ได้คนเดียวเช่นนี้เท่ากับจำเลยและบุตรอื่นถูกตัดจากมรดกของมารดาตามมาตรา 1608 วรรคท้ายเสียแล้วจึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นทายาทฉะนั้นเมื่อจำเลยถูกฟ้องว่าเข้ารบกวนการครอบครองที่พิพาทจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการเสียชีวิตของผู้รับพินัยกรรมก่อนเจ้ามรดกและการบังคับใช้มาตรา 1699 และ 1620 วรรคสอง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีความว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายแล้วขอยกทรัพย์สมบัติให้แก่ ร. และส. โดยให้คนละครึ่งเท่าๆ กันผู้อื่นจะเรียกร้องขอแบ่งปันทรัพย์ของตนไม่ได้ ปรากฏว่า ร. ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกให้ ร. จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบกับมาตรา 1620 วรรคสอง คือเมื่อเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม ก็ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก
การรับมรดกแทนที่มาตรา 1642 ให้ใช้แต่เฉพาะในระหว่างทายาทโดยธรรม ไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม
of 5