พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทก่อนสมรสกับจำเลยแต่ผู้ร้องชำระราคาส่วนใหญ่และจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากผู้ร้องและจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ต้องถือว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส การที่จำเลยและผู้ร้องจดทะเบียนหย่ากันโดยจำเลยยกที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้ผู้ร้องทั้ง ๆ ที่ผู้ร้องทราบถึงภาระหนี้สินของจำเลย เป็นการสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ที่ดินและบ้านพิพาทไม่ตกเป็นของผู้ร้องเพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินช่วงล้มละลาย: สัญญาเช่าซื้อ vs. ซื้อขายผ่อนส่ง และการหลีกเลี่ยงภาษี
ผู้คัดค้านทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรขาย มีผู้จองซื้อที่ดินจากผู้คัดค้านจำนวน 96 ราย รวมทั้งลูกหนี้ด้วยผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินทำสัญญาเช่าซื้อไว้ และก่อนทำการแบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย ผู้คัดค้านใส่ชื่อผู้จองซื้อที่ดินทั้งหมดลงในโฉนดที่ดินเป็นการซื้อร่วมกับผู้คัดค้าน และเมื่อเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินแปลงย่อยแล้วมีชื่อผู้จองซื้อที่ดินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ละแปลงซึ่งเป็นการให้ผู้จองซื้อที่ดินถือกรรมสิทธิ์แทนผู้คัดค้านเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอีกชั้นหนึ่ง ทั้งเป็นการอำพรางว่าผู้คัดค้านมิได้จัดสรรที่ดิน ผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้ใช้ดำเนินการโอนที่ดินเป็นของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้จองซื้อที่ดินผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ และผู้คัดค้านเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินไว้แสดงว่าผู้คัดค้านและผู้จองซื้อที่ดินมีเจตนาให้ผูกพันต่อกันอย่างสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สัญญาซื้อขายโดยวิธีผ่อนส่งราคา เมื่อลูกหนี้ค้างชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกันผู้คัดค้านทวงถามแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ ผู้คัดค้านกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจที่ลูกหนี้ลงชื่อไว้ล่วงหน้าไปดำเนินการโอนที่ดินใส่ชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้โอนชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้าน หากแต่เป็นการโอนให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงจึงไม่ใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก เดิมและต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคสอง เดิม และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมีผลบังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยเจตนาลวงเพื่อจำนอง ศาลตัดสินว่าการโอนไม่ผูกพัน ที่ดินยังเป็นของเดิม
การโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กระทำโดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยทั้งสองนำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารเท่านั้นไม่มีความประสงค์ให้ผูกพันกัน จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม (มาตรา 155ที่แก้ไขใหม่) ที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องก่อนหนี้ถึงกำหนด: ประเด็นที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยหากไม่ยกขึ้นสู่การต่อสู้
ปัญหาที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ ในเมื่อหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้ไม่ถึงกำหนดชำระ: ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้และไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ปัญหาที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ ในเมื่อหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายผิดนัด จำเลยโอนให้ผู้อื่นได้หรือไม่ และสิทธิของโจทก์คืออะไร
จำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินไว้กับโจทก์ โดยกำหนดวันโอนไว้แน่นอนแล้ว แต่ก่อนถึงกำหนดวันโอน จำเลยกลับเอาที่ดินไปขายแก่ผู้อื่นเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการผิดสัญญา โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาก่อนกำหนดได้ โดยจำเลยจะยกเงื่อนเวลามาเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่ได้
ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าเสียหายได้ 6,000 บาท ดังนี้ ไม่แปลว่าเจ้าหนี้จะเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายเท่านั้นเจ้าหนี้อาจเลือกฟ้องขอให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ตามมาตรา 380 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(อ้างฎีกาที่ 131/2489)
ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าเสียหายได้ 6,000 บาท ดังนี้ ไม่แปลว่าเจ้าหนี้จะเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายเท่านั้นเจ้าหนี้อาจเลือกฟ้องขอให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ตามมาตรา 380 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(อ้างฎีกาที่ 131/2489)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดนัดโอนกรรมสิทธิ์และการเลือกสิทธิเรียกร้อง
การที่คู่สัญญาตกลงกันกำหนดวันใดวันหนึ่งให้ไปทำการโอนขายที่ดิน ก็เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้ เมื่อฝ่ายใดบิดพลิ้วได้ชื่อว่าผิดนัด ไม่จำต้องรอไปจนสิ้นกำหนดตามข้อสัญญาเดิม
ในสัญญาจะขายที่ดิน การที่โจทก์สืบว่าจำเลยจะเอาที่ไปขายให้ผู้อื่น ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นการสืบถึงเหตุประกอบข้อเจตนาบิดพลิ้วของจำเลย
ในข้อสัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้เมื่ออีกฝ่ายผิดสัญญา ยังไม่เพียงพอให้สันนิษฐานว่า ผู้ซื้อจะเรียกได้แต่เพียงเบี้ยปรับในเมื่อผู้ขายผิดสัญญา ป.ม.แพ่ง ฯ ม.380 ได้ให้สิทธิ์เจ้าหนี้เลือกเรียกเบี้ยปรับ หรือเลือกเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งได้
ในสัญญาจะขายที่ดิน การที่โจทก์สืบว่าจำเลยจะเอาที่ไปขายให้ผู้อื่น ไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นการสืบถึงเหตุประกอบข้อเจตนาบิดพลิ้วของจำเลย
ในข้อสัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้เมื่ออีกฝ่ายผิดสัญญา ยังไม่เพียงพอให้สันนิษฐานว่า ผู้ซื้อจะเรียกได้แต่เพียงเบี้ยปรับในเมื่อผู้ขายผิดสัญญา ป.ม.แพ่ง ฯ ม.380 ได้ให้สิทธิ์เจ้าหนี้เลือกเรียกเบี้ยปรับ หรือเลือกเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การผิดนัดและการบังคับสัญญา แม้มีเบี้ยปรับ
การที่คู่สัญญาตกลงกันกำหนดวันใดวันหนึ่งให้ไปทำการโอนขายที่ดิน ก็เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้ เมื่อฝ่ายใดบิดพลิ้วได้ชื่อว่าผิดนัด ไม่จำต้องรอไปจนสิ้นกำหนดตามข้อสัญญาเดิม
ในสัญญาจะขายที่ดิน การที่โจทก์สืบว่าจำเลยจะเอาที่ไปขายให้ผู้อื่นไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นการสืบถึงเหตุประกอบข้อเจตนาบิดพลิ้วของจำเลย
ในข้อสัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้เมื่ออีกฝ่ายผิดสัญญา ยังไม่เพียงพอให้สันนิษฐานว่า ผู้ซื้อจะเรียกได้แต่เพียงเบี้ยปรับในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 380 ได้ให้สิทธิเจ้าหนี้เลือกเรียกเบี้ยปรับ หรือเลือกเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งได้
ในสัญญาจะขายที่ดิน การที่โจทก์สืบว่าจำเลยจะเอาที่ไปขายให้ผู้อื่นไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เป็นการสืบถึงเหตุประกอบข้อเจตนาบิดพลิ้วของจำเลย
ในข้อสัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้เมื่ออีกฝ่ายผิดสัญญา ยังไม่เพียงพอให้สันนิษฐานว่า ผู้ซื้อจะเรียกได้แต่เพียงเบี้ยปรับในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 380 ได้ให้สิทธิเจ้าหนี้เลือกเรียกเบี้ยปรับ หรือเลือกเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีโรงเรือนหลังล้มละลาย: ไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ 6 เดือนก่อนคำพิพากษา
ก.ผู้รับประเมินมีหน้า+จำต้องเสียค่าภาษีโรงเรือนต่อเมื่อครบกำหนด 90 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานแล้ว ค่าภาษีซึ่งครบกำหนดเสียภายหลังหรือในวันที่ศาลได้พิพากษาให้ผู้รับประเมินเป็นบุคคลล้มละลายแล้วไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิตาม ม.57(2) ก.แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย