พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้, การเลิกสัญญาโดยปริยาย, อัตราดอกเบี้ย, และการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี" กับมาตรา 1250 บัญญัติว่า "หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น" บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้นิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลสมมุติจะเลิกได้นั้นจะต้องมีการชำระบัญชีเพื่อมีการชำระหนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของนิติบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี จึงได้กำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ชัดแจ้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และบังคับให้ผู้ชำระบัญชีต้องปฏิบัติอันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีนิติสัมพันธ์กับนิติบุคคล ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังได้ตรา พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 ซึ่งมีโทษทางอาญากำกับไว้อีกด้วย โดยมาตรา 32 บัญญัติระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาทแก่ผู้ชำระบัญชีที่ไม่กระทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 ซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีจะต้องกระทำ เช่น ต้องส่งคำบอกกล่าวว่านิติบุคคลนั้นได้เลิกกันแล้วเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายทุกๆ คน บรรดามีชื่อปรากฏในสมุดบัญชีหรือเอกสารของห้างหรือบริษัทนั้น ในการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ส่งคำบอกกล่าวการเลิกบริษัทแก่โจทก์เพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีและตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการชำระบัญชีโดยไม่สุจริต มีเจตนาฉ้อฉลต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ จึงต้องถือว่าการชำระบัญชียังไม่สำเร็จลงตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคหนึ่ง การที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนการชำระบัญชีไม่ว่าจะโดยสมรู้กับจำเลยที่ 2 หรือเป็นการหลงผิดก็ไม่ถือว่าการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดแล้ว แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามมาตรา 1249 อายุความสองปีตามมาตรา 1272 จึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัตินี้ โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อจำเลยที่ 1 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) (มาตรา 1273/4 ตามที่แก้ไขใหม่) ทั้งนี้เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องนายทะเบียนบริษัทมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อว่าบริษัทใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว บทบัญญัติในมาตรา 1246 (1) (มาตรา 1273/1 ตามที่แก้ไขใหม่) จึงต้องกำหนดให้นายทะเบียนมีจดหมายไต่ถามไปยังบริษัทนั้น ซึ่งต่างกับเหตุในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแสดงเจตนาเลิกบริษัทเอง
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชีเป็นเวลานาน โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะใช้สิทธิทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ใช้สิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยตรงต่อจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่โจทก์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชี จึงมีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งมีการหักทอนบัญชีตามสัญญาเป็นครั้งสุดท้าย
โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นระยะๆ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไปของประกาศโจทก์ จึงเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินในอัตราลอยตัว คือ ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชีเป็นเวลานาน โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะใช้สิทธิทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ใช้สิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยตรงต่อจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่โจทก์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชี จึงมีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งมีการหักทอนบัญชีตามสัญญาเป็นครั้งสุดท้าย
โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นระยะๆ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไปของประกาศโจทก์ จึงเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินในอัตราลอยตัว คือ ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ชำระบัญชีต่อเจ้าหนี้: การละเว้นการชำระหนี้ภาษีหลังเลิกบริษัท
หากจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ได้กระทำหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 , 1270 ประกอบกับ ป. รัษฎากร มาตรา 72 ย่อมจะต้องทราบถึงหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะพิสูจน์ได้ว่าแม้ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีโดยครบถ้วนตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็มิอาจทราบได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรต่อโจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1264 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงินไม่เกินที่จำเลยที่ 1 มีเหลืออยู่ในวันเลิกกิจการ
เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรต่อโจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1264 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงินไม่เกินที่จำเลยที่ 1 มีเหลืออยู่ในวันเลิกกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจากกรรมการบริษัท: ความชอบธรรมและการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชี โดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น การตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราว เมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่ หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทน หาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้
การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราว เมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่ หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทน หาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อเลิกบริษัท กรรมการบริษัทสามารถเป็นผู้ชำระบัญชีได้หากที่ประชุมใหญ่ยังไม่เลือกบุคคลอื่น
เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่1มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีโดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นการตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทนหาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด กรณีผู้ชำระบัญชีไม่ปฏิบัติหน้าที่ และมีข้อขัดแย้งกับผู้ร้อง
การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น แม้จะเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างด้วย แต่ก็เพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างเป็นประการสำคัญ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251ซึ่งแสดงว่าผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนให้ใครเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้เมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดและ ว. สามีผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการว. ถึงแก่กรรมมีผลให้ห้างเลิกและต้องตั้งผู้ชำระบัญชีการที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีเพราะผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253,1254 และมีข้อขัดแย้งกันอยู่กับผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้ชำระบัญชีและตั้ง ส. เป็นผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทนตามคำร้องของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่และมีข้อขัดแย้ง
การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น แม้จะเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้และบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างด้วย แต่ก็เพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างเป็นประการสำคัญ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 ซึ่งแสดงว่าผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนให้ใครเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้ เมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดและ ว. สามีผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ว. ถึงแก่กรรม มีผลให้ห้างเลิกและต้องตั้งผู้ชำระบัญชี การที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีเพราะผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1253, 1254 และมีข้อขัดแย้งกันอยู่กับผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้ชำระบัญชีและตั้ง ส. เป็นผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทนตามคำร้องของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อผู้ชำระบัญชี กรณีละเลยหน้าที่ตามกฎหมายห้างหุ้นส่วน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250,1253,1254 และ 1255 บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ และตามพระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการชำระบัญชีเป็นความผิดของผู้ชำระบัญชีมีบทลงโทษตามมาตรา 32,33 และ 35 โจทก์เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งศาลได้พิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และตั้งให้จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี โจทก์มีผลประโยชน์ได้เสียในห้างหุ้นส่วนอยู่ซึ่งผลประโยชน์ของโจทก์จะได้ผลประการใดนั้นอยู่ที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้กระทำ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่กระทำการตามที่ กฎหมายบังคับไว้ดังกล่าวแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องผู้ชำระบัญชีในทางอาญาเกี่ยวแก่ความผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ชำระบัญชีต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราา 1250,1253,1254,1255 บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ และตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการชำระบัญชีเป็นความผิดของผู้ชำระบัญชีมีบทลงโทษตามมาตรา 32,33 และ 35 โจทก์เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งศาลได้พิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และตั้งให้จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีโจทก์มีผลประโยชน์ได้เสียในห้างหุ้นส่วนอยู่ ซึ่งผลประโยชน์ของโจทก์จะได้ผลประการใดนั้นอยู่ที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้กระทำ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่กระทำการตามที่กฎหมายบังคับไว้ดังกล่าแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องผู้ชำระบัญชีในทางอาญาเกี่ยวแก่ความผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการชำระบัญชีเพื่อสิ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย
(1) สภาพของนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้วจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการจดทะเบียน และจะสิ้นสภาพก็ด้วยการจดทะเบียนและกฎหมายได้บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีเป็นผู้จดทะเบียนเพื่อให้นิติบุคคลสิ้นสภาพไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในมาตรา 1254,1270
(2) การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีการชำระบัญชี
(3) ความในมาตรา 1061 นั้นใช้บังคับได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น จะใช้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ เพราะมีหมวด 5 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2507)
(2) การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีการชำระบัญชี
(3) ความในมาตรา 1061 นั้นใช้บังคับได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น จะใช้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ เพราะมีหมวด 5 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการชำระบัญชีเพื่อให้สภาพนิติบุคคลสิ้นสุดตามกฎหมาย
(1) สภาพของนิติบุคคลจำพวกห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการจดทะเบียนและจำสิ้นสภาพก็ด้วยการจดทะเบียน และกฎหมายได้บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีเป็นผู้จดทะเบียนเพื่อให้นิติบุคคลสิ้นสภาพไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในมาตรา 1254,1270
(2) การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการชำระบัญชี
(3) ความในมาตรา 1061 นั้น ใช้บังคับได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น จะใช้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ เพราะมีหมวด 5 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว.
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2507).
(2) การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการชำระบัญชี
(3) ความในมาตรา 1061 นั้น ใช้บังคับได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญเท่านั้น จะใช้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ เพราะมีหมวด 5 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว.
(ข้อ 2 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2507).