พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องการครอบครองที่ดิน การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน และขอบเขตคำขอในคดี
แม้จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้น แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งประเด็นส่วนที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาในคำแก้อุทธรณ์ได้ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. นั้น จำเลยก็ได้โต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งประเด็นในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. หรือไม่ กับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. จึงชอบแล้ว
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการแย่งการครอบครองที่ดินกันและฝ่ายที่ถูกแย่งการครอบครองประสงค์จะเอาที่ดินคืน จึงต้องฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของ ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองมาจากทายาทคนอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. เพราะ ต. ยกให้ อ. บิดาจำเลยตั้งแต่ ต. ยังมีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ. และตกทอดมาเป็นของจำเลย โดย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ อ. เคยมีหนังสือไปถึงโจทก์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันให้ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. การโต้แย้งตามหนังสือของ อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว
การขอรังวัดออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทจากเดิมที่เป็นที่ดินมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ย่อมจะทำให้ทราบแนวเขตและเนื้อที่ของที่ดินได้แน่นอนชัดเจน ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นเอง เมื่อการรังวัดถูกจำเลยขัดขวางอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. หรือไม่
โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยไปเพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินและห้ามจำเลยคัดค้านหรือยุ่งเกี่ยวกับการรังวัดออกโฉนดที่ดินเท่านั้น โดยมิได้มีคำขอห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์ในกรณีอื่นด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์จึงเกินคำขอ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการแย่งการครอบครองที่ดินกันและฝ่ายที่ถูกแย่งการครอบครองประสงค์จะเอาที่ดินคืน จึงต้องฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของ ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองมาจากทายาทคนอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. เพราะ ต. ยกให้ อ. บิดาจำเลยตั้งแต่ ต. ยังมีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ. และตกทอดมาเป็นของจำเลย โดย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ อ. เคยมีหนังสือไปถึงโจทก์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันให้ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. การโต้แย้งตามหนังสือของ อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว
การขอรังวัดออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทจากเดิมที่เป็นที่ดินมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ย่อมจะทำให้ทราบแนวเขตและเนื้อที่ของที่ดินได้แน่นอนชัดเจน ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทนั้นเอง เมื่อการรังวัดถูกจำเลยขัดขวางอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ต. หรือไม่
โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยไปเพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินและห้ามจำเลยคัดค้านหรือยุ่งเกี่ยวกับการรังวัดออกโฉนดที่ดินเท่านั้น โดยมิได้มีคำขอห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์ในกรณีอื่นด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการแบ่งปันมรดกของโจทก์จึงเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตความรับผิดตามสัญญาประกันภัย
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 85 - 3491 นครปฐม และจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของรถบรรทุกกึ่งพ่วงหมายเลขทะเบียน 82 - 7411 นครปฐม โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบการขนส่งรถบรรทุกคันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถบรรทุกดังกล่าวไปก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ของรถเท่านั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 หาได้บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แก่ทางราชการไม่ กลับยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถบรรทุกคันเกิดเหตุดังกล่าวไปใช้ประกอบการขนส่งโดยให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นคนขับในวันเกิดเหตุ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันประกอบการขนส่ง ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุไปกระทำละเมิดอันต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ทั้งสองภายในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทนเช่นนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 กระทำไปนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427, 820