คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 481

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8467/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการรอนสิทธิที่ดิน: อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ความรับผิดของจำเลยเกิดจากที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ถูกรอนสิทธิ หาใช่เพราะจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ อันจะอ้างอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาปรับใช้หาได้ไม่ ซึ่งอายุความในเรื่องการรอนสิทธิมีบัญญัติไว้ในมาตรา 481 เฉพาะกรณีที่ผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง เมื่อที่ดินถูกเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงไม่เข้าบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มีกำหนดสิบปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องคดีรอนสิทธิที่ดิน: ฟ้องเกิน 3 เดือนนับจากวันที่ยอมคืนที่ดินให้บุคคลภายนอก คดีขาดอายุความ
การซื้อขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญาแล้ว หลังจากนั้นปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อขายและส่งมอบกันแล้วเป็นของบุคคลภายนอกบางส่วน กรณีจึงเป็นเรื่องการรอนสิทธิที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์ยอมคืนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 481 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า วันที่โจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องคือกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2545 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 12 กรกฎาคม 2545 จึงเกินสามเดือน ถือว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิที่ดิน: ผู้ซื้อต้องฟ้องภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ยอมคืนที่ดินให้บุคคลภายนอก
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากนั้นจึงปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อขายและส่งมอบกันเป็นของบุคคลภายนอกบางส่วน จึงเป็นเรื่องการรอนสิทธิที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อยอมคืนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม มาตรา 481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7218/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิซื้อขายที่ดิน: อายุความ และการยอมรับโดยไม่สมัครใจ
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย และชำระค่าที่ดินให้จำเลยครบถ้วนแล้วจำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ตั้งแต่วันทำสัญญาแต่ที่ดินพิพาทเป็นของ ผ. และ ผ. ได้แจ้งความกล่าวหาว่าคนงานของโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาท ดังนี้เป็นกรณีที่ ผ. มาก่อการรบกวนสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ซื้อในอันจะครองที่ดินพิพาทเป็นปกติสุข เพราะ ผ. มีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินพิพาทอยู่ในเวลาที่โจทก์ซื้อจากจำเลยจึงเป็นการรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 475 เมื่อโจทก์มิได้รู้ในเวลาซื้อขายว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน ผ. และจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าสิทธิของโจทก์ได้สูญไปโดยความผิดของโจทก์เอง จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าที่ดินพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
หลังจากที่โจทก์ถูก ผ. อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ผ. และถูกแจ้งความดำเนินคดีโจทก์ยอมตามที่ ผ. เรียกร้อง โดยจะไม่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอีก แต่เมื่อการที่โจทก์ยินยอมตามที่ ผ. เรียกร้อง เพราะคนงานของโจทก์จะต้องถูกดำเนินคดีอาญาและมีโทษถึงจำคุกได้ การยอมของโจทก์ดังกล่าวจึงมิได้เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ และไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขายจึงไม่อยู่ภายในบังคับอายุความ 3 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 และมิใช่กรณีโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ แต่อยู่ภายในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7218/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขายต้องรับผิดคืนเงินค่าที่ดินเมื่อมีบุคคลภายนอกรอนสิทธิ และการยอมความไม่ถือเป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย และชำระค่าที่ดินให้จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ เข้าครอบครองทำประโยชน์ตั้งแต่วันทำสัญญา แต่ที่ดินพิพาทเป็นของ ผ. และ ผ. ได้แจ้งความกล่าวหาว่าคนงานของโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาท ดังนี้เป็นกรณีที่ ผ. มาก่อการรบกวนสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ซื้อในอันจะครองที่ดินพิพาทเป็นปกติสุข เพราะ ผ. มีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินพิพาทอยู่ในเวลาที่โจทก์ซื้อจากจำเลย จึงเป็นการรอนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์มิได้รู้ในเวลาซื้อขายว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน ผ. และจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าสิทธิของโจทก์ได้สูญไปโดยความผิดของโจทก์เอง จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าที่ดินพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
หลังจากที่โจทก์ถูก ผ. อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ผ. และถูกแจ้งความดำเนินคดี โจทก์ยอมตามที่ ผ. เรียกร้อง โดยจะไม่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอีก แต่เมื่อการที่โจทก์ยินยอมตามที่ ผ. เรียกร้องเพราะคนงานของโจทก์ จะต้องถูกดำเนินคดีอาญาและมีโทษถึงจำคุกได้ การยอมของโจทก์ดังกล่าวจึงมิได้เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ และไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขายจึงไม่อยู่ภายในบังคับอายุความ 3 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 481 และมิใช่กรณีโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ แต่อยู่ภายในบังคับอายุความทั่วไป ตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหลังถอนฟ้อง, การรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ต่อมาวันที่ 1ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1 ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 475
จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนี-ประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 481 และมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่ 4เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2 นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, อายุความ, ความรับผิดทางสัญญาซื้อขาย, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อคดี
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481และมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่4 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายยางพาราจากเหตุบุคคลภายนอกคัดค้านการตัดโค่น ศาลไม่ถือว่าเป็นการยอมตามบุคคลภายนอกทำให้ฟ้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยทำสัญญาขายต้นยางพาราซึ่งอ้างว่าปลูกอยู่ในที่ดินจำเลยให้โจทก์ โจทก์จึงสั่งจ่ายเช็คสองฉบับให้จำเลยฉบับแรกเรียกเก็บเงินได้ โจทก์จึงเข้าตัดโค่นต้นยางพาราแต่ผู้ใหญ่บ้านได้คัดค้านและสั่งห้ามโจทก์ตัดโค่นต้นยางพาราในที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์โดยใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ โจทก์จึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คฉบับที่สอง แล้วบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น กรณีไม่ว่าที่ดินซึ่งปลูกต้นยางพาราจะเป็นของจำเลยจริงหรือไม่และกรรมสิทธิ์ในต้นยางพาราทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจะได้โอนไปยังโจทก์แล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ในเมื่อหลังจากนั้นจำเลยมิได้ดำเนินการใดหรือแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้ใหญ่บ้านผู้เข้ามารบกวนขัดขวางการตัดโค่นต้นยางพาราของโจทก์เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่โจทก์ว่าการตัดโค่นต้นยางพาราจะได้รับความสะดวกและจะไม่ถูกดำเนินคดี แต่จำเลยก็ยังมิได้ดำเนินการประการใดจำเลยจึงต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาซื้อขายต้นยางพารา การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่าต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ แต่การยอมตามข้อคัดค้านหรือการเรียกร้องในทางอาญาหรือในทางปกครองอันมีรูปเรื่องเป็นเชิงมีสภาพบังคับให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือโจทก์ต้องจำยอมปฏิบัติตาม มิฉะนั้นอาจถูกดำเนินคดีในทางอาญาได้นั้น กรณีย่อมไม่อยู่ในความหมายและในบังคับอายุความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดสัญญาการรับรองสิทธิ: ใช้บทบัญญัติทั่วไป 10 ปี
โจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญารับรองกับโจทก์ว่าไม่มีการรอนสิทธิ โดยโจทก์มิได้ฟ้องร้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเพราะการรอนสิทธิ การฟ้องร้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเรียกค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือบทบัญญัติอายุความทั่วไปคือ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายและการรับรองการไม่มีภาระติดพัน การฟ้องผิดสัญญาต่างจากการฟ้องรอนสิทธิ
โจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญารับรองกับโจทก์ว่าไม่มีการรอนสิทธิ โดยโจทก์มิได้ฟ้องร้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเพราะการรอนสิทธิ การฟ้องร้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเรียกค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือบทบัญญัติอายุความทั่วไปคือ 10 ปี
of 5