คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 205

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนจดทะเบียน, สาระสำคัญของสัญญา, และผลของการผิดสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินมีลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติตามสัญญาว่าชั้นแรกตามสัญญาข้อ3จำเลยทั้งสามจะต้องจัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมและบริวารออกไปจากที่ดินรวมทั้งรื้อถอนอาคารตกแถวและบ้านของจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่31ธันวาคม2534เสียก่อนหลังจากนั้นก็ส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์พร้อมจดทะเบียนการเช่าส่วนโจทก์ก็ต้องชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000บาทให้แก่จำเลยทั้งสามในวันจดทะเบียนการเช่าการที่จำเลยยังมิได้จัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมรวมทั้งบริวารออกจากที่ดินและยังมิได้รื้อถอนอาคารตึกแถวรวมทั้งบ้านของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินภายในวันที่31ธันวาคม2534แสดงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินข้อ3ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาจำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าส่วนภายหลังจากที่จำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าแล้วแม้ต่อมาจำเลยทั้งสามจะนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่31มกราคม2535พร้อมทั้งให้โจทก์ชำระค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000บาทแต่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนการเช่าและไม่ยอมชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลือก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะจำเลยทั้งสามยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาเช่าที่ดินข้อ3 เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดินและตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่าเมื่อครบ30ปีตามสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลุกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใดๆทั้งสิ้นสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า3ปีแต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การผิดสัญญาขั้นตอนสำคัญและสิทธิในการบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินมีลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติตามสัญญาว่าชั้นแรกตามสัญญาข้อ 3 จำเลยทั้งสามจะต้องจัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมและบริวารออกไปจากที่ดินรวมทั้งรื้อถอนอาคารตึกแถวและบ้านของจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เสียก่อน หลังจากนั้นก็ส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์พร้อมจดทะเบียนการเช่า ส่วนโจทก์ก็ต้องชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน 8,000,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสามในวันจดทะเบียนการเช่าการที่จำเลยยังมิได้จัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมรวมทั้งบริวารออกจากที่ดินและยังมิได้รื้อถอนอาคารตึกแถวรวมทั้งบ้านของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินภายในวันที่ 31ธันวาคม 2534 แสดงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3 ซึ่งเป็นสาระ-สำคัญของสัญญา จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ส่วนภายหลังจากที่จำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสามจะนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 31 มกราคม 2535 พร้อมทั้งให้โจทก์ชำระค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000 บาท แต่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนการเช่าและไม่ยอมชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลือ ก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะจำเลยทั้งสามยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3
เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดิน และตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่า เมื่อครบ 30 ปี ตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9782/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาซ่อมแซม ทำให้จำเลยมีสิทธิระงับการจ่ายเช็คได้
โจทก์ไม่ปฎิบัติตามสัญญาโดยโจทก์มิได้ตรวจซ่อมระบบแอร์และการปรับอากาศให้สมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระหนี้ให้โจทก์โดยมีคำสั่งว่าให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าระบบแอร์และการปรับอากาศไม่สมบูรณ์มีข้อบกพร่องเนื่องจากการติดตั้งของโจทก์และโจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ก่อนกำหนดตามสัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา84แล้วเห็นว่าจำเลยมีสิทธิไม่ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทศาลอุทธรณ์จึงฟังข้อเท็จจริงไม่ผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนและวินิจฉัยพยานหลักฐานตรงตามประเด็นตรงตามภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบของจำเลยตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9782/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไม่ชำระหนี้เช็คพิพาท กรณีโจทก์ผิดสัญญาซ่อมแซม
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยโจทก์มิได้ตรวจซ่อมระบบแอร์และการปรับอากาศให้สมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระหนี้ให้โจทก์โดยมีคำสั่งว่าให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ระบบแอร์และการปรับอากาศไม่สมบูรณ์ มีข้อบกพร่องเนื่องจากการติดตั้งของโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ก่อนกำหนดตามสัญญา เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ.มาตรา 900 และ ป.วิ.พ.มาตรา 84 แล้วว่า จำเลยมีสิทธิไม่ชำระหนี้ตามเช็คพิพาท ศาลอุทธรณ์จึงฟังข้อเท็จจริงไม่ผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน และวินิจฉัยพยานหลักฐานตรงตามประเด็น ตรงตามภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบของจำเลยตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากรู้ถึงภาวะปูนซีเมนต์ขาดแคลนก่อนทำสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2532 เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการ จำเลยและผู้รับเหมาของจำเลย ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดี โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2533 เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน 24 เดือน เช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด แต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายใน24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา คือภายในวันที่ 9 เมษายน 2535 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ 13 วัน และในเดือนมีนาคม 2535 นั้น จำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี 8 เดือน ดังนั้น แม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุดล่าช้า: เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนมิอาจใช้แก้ตัวได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี2532เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการจำเลยและผู้รับเหมาของจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดีโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่9เมษายน2533เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน24เดือนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิดแต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้วจำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารขุดให้เสร็จภายใน24เดือนนับแต่วันทำสัญญาคือภายในวันที่9เมษายน2535โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่27มีนาคม2535ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ13วันและในเดือนมีนาคม2535นั้นจำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน2536ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ1ปี8เดือนดังนั้นแม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน, การฉ้อฉล, การผิดสัญญา, ละเมิด: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อ-ผู้ขาย และความรับผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย20,000บาทแก่โจทก์จำเลยที่3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิได้อุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไรกลับฎีกาว่าจำเลยที่3และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิดซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1และที่3ร่วมกับจำเลยที่2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่1จะขายให้แก่น.ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.เสียเปรียบและจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่4เป็นทนายให้จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีโดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วยซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับน. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1แล้วแล้ว200,000บาทคงค้างชำระอีก190,000บาทเมื่อน.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของน.ชำระค่าที่ดิน290,000บาทและรับโอนที่ดินในวันที่7กรกฎาคม2532หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าวจำเลยที่1ขอบอกเลิกสัญญาดังนี้เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของน.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่8มิถุนายน2532แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่20กรกฎาคม2532ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควรจะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่1ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ290,000บาททั้งๆน.ค้างชำระเพียง190,000บาทโจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาจำเลยที่1ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่1เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่2ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์แต่ขณะทำนิติกรรมนั้นจำเลยที่2มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้และการกระทำของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้นยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการฉ้อฉลและผิดสัญญาซื้อขาย: การกระทำที่มิใช่ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย 20,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิด ซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ น. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.เสียเปรียบ และจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่ 4เป็นทนายให้จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกัน ต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้ การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ น. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้ น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 200,000 บาท คงค้างชำระอีก 190,000 บาท เมื่อ น.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ชำระค่าที่ดิน 290,000 บาท และรับโอนที่ดินในวันที่ 7กรกฎาคม 2532 หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขอบอกเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2532 แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่ 20 กรกฎาคม 2532 ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควร จะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ 290,000 บาท ทั้ง ๆ น.ค้างชำระเพียง 190,000 บาท โจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้ และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่ขณะทำนิติกรรมนั้น จำเลยที่ 2 มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 420 จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและการเลิกสัญญาโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ 10 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ
เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อ ๆ มา จึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป กลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ย เมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง จึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: โมฆะหรือไม่, เลิกสัญญาโดยปริยาย, และดอกเบี้ย
จำเลยฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินขณะทำ สัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมรู้ด้วยวัตถุประสงค์ของสัญญาหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่จึงไม่เป็นโมฆะแต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตซึ่งขณะนั้นจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายให้ได้ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดชอบการที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมชำระเงินงวดต่อๆมาอีกจึงหาเป็นผู้ผิดนัดไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้แต่เมื่อต่อมาโจทก์ทั้งสี่ได้ บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งกลับบอกปัดว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ทั้งสี่แล้วถือว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
of 12