พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากผู้ขายทราบว่ายังไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการเลิกสัญญโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ10ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการดังนี้วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบดังนั้นการที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อๆมาจึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา205ไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปกลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายโจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยเมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งจึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสองและมาตรา7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากไม่สามารถโอนพร้อมทางเข้าออกได้ แม้จะมีการนัดหมายโอนภายหลังก็ถือเป็นการประวิง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรกที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534เวลา 10 นาฬิกา นั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534 ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเอง ดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่า จำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรกที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534เวลา 10 นาฬิกา นั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534 ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเอง ดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่า จำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-ทางเข้าออก จำเลยไม่สามารถจัดหาได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ขาดจำนวนน้อย ก็ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาหากเจตนาดีและมีการชำระหนี้ครบถ้วนในภายหลัง
จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์เป็นงวดๆตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมตลอดมาโดยวางเงินต่อศาลจึงถึงงวดสุดท้ายจำเลยก็ได้ชำระเงินภายในกำหนดเวลาจำเลยจึงหาได้กำหนดเวลาจำเลยจึงหาได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่เพียงแต่งวดสุดท้ายชำระหนี้ขาดไป40,000บาทซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมด2,150,000บาทแล้วนับว่าเป็นส่วนน้อยมากและเกิดขึ้นเพราะความเผอเรออีกทั้งเมื่อจำเลยทราบเหตุก็ได้นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทันทีแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไปโดยมิได้อิดเอื้อนจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีส่วนขาด แต่ไม่ถือเป็นผิดนัด
จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมตลอดมาโดยวางเงินต่อศาล จนถึงงวดสุดท้ายจำเลยก็ได้ชำระเงินภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงหาได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ เพียงแต่งวดสุดท้ายชำระหนี้ขาดไป 40,000 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมด2,150,000 บาท แล้ว นับว่าเป็นส่วนน้อยมากและเกิดขึ้นเพราะความเผอเรอ อีกทั้งเมื่อจำเลยทราบเหตุก็ได้นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทันที แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไปโดยมิได้อิดเอื้อน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ: การเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดในค่าเสียหาย
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง 400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์เครื่องโม่ปูน วัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วย แม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อสัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามาก จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอม โดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง
กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเอง โดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 605
ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อสัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามาก จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอม โดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง
กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเอง โดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 605
ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจ้างทำของที่ไม่ชอบธรรม จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและค่าวัสดุคงเหลือ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์ เครื่องโม่ปูนวัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วยแม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์ มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อ สัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้างานจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเองโดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 605 ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนปรนกำหนดเวลาชำระหนี้และการไม่ถือเป็นผิดนัดสัญญาซื้อขายที่ดิน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้ง สาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้าง แสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาท ถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว.นำไปเกิดหายไป และขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16 นาฬิกา ใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทัน ทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์ การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการ พออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด และไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดโอนที่ดินหลายครั้งไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากมีเหตุสุดวิสัยและคู่สัญญามีเจตนาผ่อนปรนซึ่งกันและกัน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้งสาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้างแสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว. นำไปเกิดหายไปและขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16นาฬิกาใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการพออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยปลดหนี้สัญญา: การที่คนต่างด้าวป่วยเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรได้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยไม่ส่งตัว ห. คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะห. ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่มีเจตนาปฏิบัติผิดเงื่อนไขสัญญาที่ต้องจัดการให้ ห.เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับตามสัญญา ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีในฐานะคู่สัญญากับจำเลยตามกฎหมาย เมื่อผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองมีคำสั่งเห็นชอบผ่อนผันระงับการปรับจำเลย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงและชอบด้วยกฎหมายทั้งในฐานะคู่สัญญากับจำเลยโดยตรงแล้วหนี้ค่าปรับจึงระงับสิ้นไป